ทั้งนี้หากนายกฯ เห็นแย้งกับข้อเสนอของ กกต. ทางกกต.จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอย่างแน่นอนตามมาตรา 214 ของรัฐธรรมนูญ
ด้านนายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า กกต.ได้ลงนามหนังสือส่งถึงนายกฯกรณี 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครส.ส.เรียบร้อยแล้ว โดย กกต.ได้พิจารณาด้วยความละเอียดรอบคอบ มีความเห็นว่า พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมายังไม่เสร็จสิ้น โดยได้มีการตรวจสอบข้อกฎหมาย ปรากฏว่า กกต.ไม่มีอำนาจในการออกประกาศ กกต.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตเลือกตั้ง จึงจำเป็นต้องเสนอนายกฯให้กราบบังคมทูลขอให้ กกต.มีอำนาจในกำหนดวันรับสมัครเลือกตั้งเพิ่มเติม และกำหนดวันลงคะแนนใหม่ และประกาศยกเว้นการจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้งและนอกราชอาณาจักรใน 28 เขตเลือกตั้งดังกล่าว
นายภุชงค์ กล่าวต่อว่า กกต.ได้พิจารณาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 235 และ มาตรา 236 ที่ระบุให้อำนาจ กกต. ในลักษณะที่กว้างแต่ก็มีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากต้องมีกฎหมายมารองรับเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย โดยเฉพาะการเปิดรับสมัคร ส.ส.ใน 28 เขตเลือกตั้ง ตามมาตรา 7 (1) ว่าด้วย พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ระบุว่าให้การเปิดรับสมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 20 วันนับตั้งแต่มี พ.ร.ฎ.ยุบสภากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ซึ่งขณะนี้ผ่านช่วงเวลาดังกล่าวมาแล้ว กกต.จึงไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำหนังสือถึงนายกฯ เพื่อกราบบังคมทูลฯ ออกพ.ร.ฎ.
"การเสนอให้นายกฯกราบบังคับทูลเพื่อเสนอ พ.ร.ฎ. ในครั้งนี้เป็นครั้งแรกเพราะไม่เคยเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาก่อน โดย พ.ร.ฎ.วันที่ 2 ก.พ ยังคงอยู่ แต่เนื่องจากการเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ยังไม่เสร็จสิ้น ดังนั้นจึงต้องกำหนดวันรับสมัครใหม่ และกำหนดวันลงคะแนนใหม่" นายภุชงค์ กล่าว