กรณีดังกล่าว คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทั้งคณะได้ร่วมกันเป็นองค์คณะในการไต่สวนข้อเท็จจริงและมอบหมายให้นายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง กรณีกล่าวหาว่านายสุรพงษ์ มีพฤติการณ์ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย และปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงหรือไม่
คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าการกระทำของผู้ถูกร้อง ถือไม่ได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 176 วรรคแรก วรรคสอง หรือกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 และ 192 หรือปฏิบัติหน้าที่ฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง อันจะเป็นมูลเหตุให้ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 270 และ 274 จึงให้ข้อกล่าวหาเป็นอันตกไป ตามมาตรา 53 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554