นักวิชาการมองเงื่อนไขถ่ายทอดสดทำโต๊ะเจรจา"สุเทพ"-"ยิ่งลักษณ์"ล่ม-แค่ชิงเกมการเมือง

ข่าวการเมือง Friday February 28, 2014 11:11 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักกฎหมายอิสระ แสดงความเห็นถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) เสนอเปิดเจรจาตัวต่อตัวกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและร่วมกันหาทางออกประเทศ ในรูปแบบการเจรจาผ่านการถ่ายทอดสดว่า ในเบื้องต้นมองว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่เลขาธิการ กปปส.ยอมผ่อนคลายสถานการณ์เพื่อเปิดทางให้มีการเจรจาขึ้น จากที่ก่อนหน้านี้เคยแสดงจุดยืนมาโดยตลอดว่าจะไม่มีการเจรจาใดๆ ทั้งสิ้น

แต่ขอตั้งข้อสังเกตว่า หลักการเจรจาที่เป็นสากลนั้นจะต้องไม่ใช่การแสดงละครต่อหน้าคนดู เพราะหากมีการเจรจาเกิดขึ้นต่อหน้าคนที่เฝ้าดู ก็อาจเปรียบได้ว่าเป็นเพียงการโต้วาที แสดงละคร เพื่อเอาใจผู้ชมเท่านั้น ซึ่งย่อมจะทำให้การเจรจาอาจไม่บรรลุเป้าหมายในการหาทางออกให้ประเทศหรือไม่สามารถยุติความขัดแย้งของสองฝ่ายได้

"เบื้องต้นมองว่าเป็นข้อดี อย่าเพิ่งไปมองในแง่ลบ เพราะอย่างน้อย ข้อเรียกร้องที่มีมาตลอดเวลา(เรื่องการเจรจา)ก็เริ่มจะคลายตัวแล้ว แต่สิ่งที่อยากตั้งข้อสังเกต คือ หลักการเจรจาที่เป็นสากลนั้น ต้องไม่ใช่การแสดงละคร เพราะหากการเจรจาเกิดขึ้นต่อหน้าคนที่เฝ้าดู ก็อาจเป็นโอกาสในการโต้วาที แสดงละคร เพื่อเอาใจผู้ชมเท่านั้น" นายวีรพัฒน์ กล่าว

นายวีรพัฒน์ ได้นำเสนอรูปแบบของการเจรจาระหว่างเลขาธิการ กปปส.กับนายกรัฐมนตรีที่น่าจะเหมาะสม และมีโอกาสจะเป็นไปได้ว่า การเจรจาจะต้องไม่ใช่การถ่ายทอดสดตลอดเวลา แต่อาจจะแบ่งการถ่ายทอดสดเฉพาะช่วงแรกและช่วงท้ายเท่านั้น กล่าวคือ ในช่วงแรกที่ควรถ่ายทอดสด คือ การเปิดให้แต่ละฝ่ายได้แสดงจุดยืนและข้อเสนอของตัวเอง จากนั้นในรายละเอียดของการเจรจาก็ให้เป็นการเจรจาแบบไม่เปิดเผย คือไม่ต้องถ่ายทอดสด แต่อาจจะมีคนกลางร่วมรับฟังอยู่ด้วย จากนั้นเมื่อเจรจากันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่างฝ่ายก็ต่างแถลงข้อสรุป และแนวทางที่เห็นร่วมกันไว้ แต่อาจยังไม่มีข้อสรุปในทันทีทันใด เนื่องจากแต่ละฝ่ายอาจจะต้องนำกลับไปเพื่อขอความเห็นในแง่มุมของกฎหมาย โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่จำเป็นต้องนำกลับไปหารือกับคณะรัฐมนตรีก่อน เพราะคงไม่สามารถจะตัดสินใจแต่เพียงคนเดียวได้อย่างเบ็ดเสร็จ

"ช่วงเปิด เป็นการอธิบายจุดยืน และข้อเสนอของแต่ละฝ่าย ซึ่งสามารถถ่ายทอดสดได้ เมื่อทั้งสองฝ่ายอธิบายแล้ว อาจจะยุติการถ่ายทอดสด แล้วไปคุยต่อกันในรายละเอียด ซึ่งมันควรจะเป็นแบบนี้ เพราะถ้าถ่ายทอดตลอดเวลามันยากมาก ทุกคนก็จะไม่สนใจในสิ่งที่พูดอยู่ แต่จะไปสนใจว่าสิ่งที่พูดนั้นจะทำให้คนฟังพอใจหรือไม่ แทนที่จะโฟกัสว่าจะทำให้การเจรจาหาทางออกได้หรือไม่" นายวีรพัฒน์ กล่าว

โดยเน้นว่าสิ่งสำคัญคือ แต่ละฝ่ายจะต้องแสดงความจริงใจและมีข้อตกลงกันด้วยว่าการเจรจาที่จะเกิดขึ้นนี้ เป็นการเจรจาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้น ไม่ใช่การเจรจาเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด และไม่ใช่การเจรจาในเรื่องส่วนตัว โดยต้องแสดงความชัดเจนก่อนเริ่มเจรจาว่านายสุเทพ จะเป็นผู้เจรจาในฐานะตัวแทนของ กปปส. และนายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้เจรจาในฐานะตัวแทนรัฐบาล

นอกจากนี้ การเจรจาควรกำหนดกรอบหรือหัวข้อและมีรูปแบบที่ชัดเจนว่าเรากำลังจะพูดเรื่องการแก้ไขปัญหาของวิกฤติประเทศชาติ ไม่ได้มาพูดเพื่อแก้ไขปัญหาให้ตัวคุณสุเทพ หรือตัวของนายกรัฐมนตรี อีกทั้งในระหว่างที่ยังรอผลการเจรจาอยู่นี้ ทุกฝ่ายควรจะยุติการยั่วยุที่จะนำมาซึ่งการเกิดความรุนแรงตามมา ซึ่งสุดท้ายของการเจรจานั้นแต่ละฝ่ายจะถูกดำเนินคดีทางกฎหมายอย่างไรก็ตามก็ถือเป็นเรื่องส่วนตัวของคนเหล่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับประเทศชาติ ซึ่งถ้าเราตีกรอบให้ชัดเจนแบบนี้ถือว่าเป็นรูปแบบการเจรจาที่ยอมรับได้

อย่างไรก็ดี ในหลักสากลแล้ว การเจรจากับผู้ที่กระทำความผิดที่ถูกออกหมายศาลอาจจะเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ดังนั้นการแก้ปัญหาคือ ตัวนายสุเทพเอง ต้องประกาศให้ชัดเจนว่านี่เป็นการเจรจาเกี่ยวกับประเทศชาติ ไม่ใช่การเจรจาเพื่อตัวนายสุเทพ และในทางกลับกันนายกรัฐมนตรีก็ต้องพูดเพื่อประเทศชาติ ไม่ใช่พูดเพื่อตัวเอง ต้องพูดให้ชัดว่าคนที่รับประโยชน์ไม่ใช่ตัวเองหรือพวกพ้อง แต่เป็นเพื่อประเทศชาติ ไม่ใช่เจรจาออกมาแล้วจะยกหมายจับ ซึ่งนั่นเป็นการเจรจาเพื่อตัวเอง ต้องแยกให้ชัดว่ามาเจรจาแทนมวลชน ไม่ใช่เจรจาเพื่อตัวเอง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่านายกรัฐมนตรีมาเจรจากับผู้ที่ถูกหมายจับ ซึ่งในหลักกฎหมายไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น

"จุดยืนของรัฐบาล คือ การเจรจาเป็นทางออกอยู่แล้ว แต่จุดที่เป็นปัญหาคือ คุณสุเทพ จะเจรจาในฐานะอะไร เพราะหากเจรจาเพื่อผลประโยชน์ตัวเองก็คงจะขัดกับหลักการ ดังนั้นคุณสุเทพ ต้องชัดเจนก่อนว่าจะมาเจรจาในฐานะผู้นำของ กปปส. แต่ไม่ใช่ในนามของตัวเอง และข้อเสนอที่ได้จากวงเจรจานี้ ควรจะกลับไปถามผู้ชุมนุมด้วย ไม่ใช่ตกลงเองหรือคิดเองคนเดียว ขณะที่นายกฯ ก็ต้องกลับไปถามครม., กองทัพ หรือที่ปรึกษาก่อน" นายวีรพัฒน์ กล่าว

พร้อมฝากทิ้งท้ายไปถึงนักวิจารณ์ว่า อย่าเพิ่งมองว่าการเจรจาในครั้งนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่ขอให้ช่วยกันคิดวิธีการที่จะช่วยทำให้การเจรจาประสบผลสำเร็จ และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายจะดีกว่า

"นักวิจารณ์ทั้งหลาย ไม่ควรฟันธงอะไรทั้งสิ้นว่ามันจะเกิดหรือไม่เกิด แต่เราควรมาคิดว่าจะช่วยให้มันเกิดขึ้นและเป็นประโยชน์นั้นทำอย่างไร" นายวีรพัฒน์ กล่าว

ขณะที่ในมุมมองของนายสุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กลับไม่เชื่อว่าการเจรจาในรูปแบบที่นายสุเทพเสนอนั้นจะเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นข้อเสนอที่ทำให้อีกฝ่ายปฏิเสธที่จะเจรจา และไม่กล้าจะร่วมเจรจา ดังนั้นจึงมองว่าข้อเสนอนี้ไม่มีความจริงใจที่จะแก้ปัญหา แต่เป็นเพียงการหวังจะชิงเกมทางการเมืองมากกว่าที่จะมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาและหาทางออกให้ประเทศได้อย่างแท้จริง

"ผมมองว่า ถ้ามีถ่ายทอดด้วยนี่คือจบ คุณสุเทพ คงรู้ว่าอีกฝ่ายจะไม่รับแน่ๆ และการเจรจาโดยมีการถ่ายทอด ผมว่าเป็นเรื่องของการชิงเกมกันมากกว่า ปัญหาคงไม่ยุติด้วยการเจรจาในรูปแบบนี้ แก้ปัญหาไม่ได้จริง การเจรจาควรเป็นความลับ เจรจา 2 คน หรือมีคนกลาง แต่ต้องไม่ถ่ายทอด ถ่ายทอดก็เล่นเกมกันเปล่าๆ เหมือนกับไม่จริงใจที่จะเจรจา เป็นการชิงเกมให้เห็นว่าอีกฝ่ายเหนือกว่าอีกฝ่าย" อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง กล่าว

พร้อมระบุว่า หากตนเป็นนายกรัฐมนตรีก็คงจะไม่เข้าร่วมเจรจากับนายสุเทพ เพราะรู้ว่าอีกฝ่ายไม่ได้ต้องการเจรจาให้ปัญหายุติอย่างแท้จริง แต่กลับสร้างเงื่อนไขการเจรจาเพียงเพื่อหวังให้เราดูแพ้เกมเท่านั้นเอง

"ผมไม่เชื่อว่านายกฯ จะยอมเจรจาตามรูปแบบที่นายสุเทพ เสนอ ถ้าผมเป็นนายกฯ ผมก็คงไม่เจรจา" นายสุขุม กล่าว

ขณะที่วานนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า การเจรจาดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ และกลุ่ม กปปส.จะต้องยุติการชุมนุมทันทีเพื่อให้การเลือกตั้งสามารถเดินหน้าต่อไปได้ และไม่ได้รับคำท้าว่าจะเจรจาแบบตัวต่อตัว โดยให้เหตุผลว่าคงไม่สามารถตัดสินใจแทนคนทั้งประเทศได้ ซึ่งต้องให้ผู้รู้เข้ามาร่วมเจรจาด้วย โดยเชื่อว่าการเจรจาที่พูดคุยกันหลายคนจะมีประโยชน์มากกว่า

จากนี้ไป คงต้องติดตามดูว่าแนวทางการเจรจาตามที่เลขาธิการ กปปส.เสนอมานั้น จะได้รับการตอบสนองจากฝ่ายรัฐบาลมากน้อยเพียงใด ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในแวดวงวิชาการ และการเมืองที่เริ่มจะเห็นไปในทิศทางที่ว่าการเจรจาครั้งนี้อาจจะเป็นเพียงการโต้วาทีทางการเมืองที่ไม่ได้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง และอาจจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือนเช่นในปี 53 ที่มีการเปิดเจรจาถ่ายทอดสดระหว่างรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น กับแกนนำเสื้อแดง หรือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) ที่สุดท้ายแล้วก็จบลงด้วยความสูญเสียเกือบร้อยชีวิตจากเหตุความรุนแรงในการเข้าสลายการชุมนุมจนเป็นบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยมาจนทุกวันนี้

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

เทคนิคที่จะใช้คือ แทนที่จะเจรจาถ่ายทอดสดตลอด อาจจะแบ่งการเจรจาเป็นช่วงๆ

                              เห็นด้วยที่จะต้องมีการกำหนดกรอบในการเจรจา เพราะการถ่ายทอดสดการเจรจาไม่ใช่การถ่ายทอดสดการอภิปรายในสภา ต้องจัดรูปแบบให้ชัดเจน           ฟันธงได้มั๊ย ว่าที่สุเทพ เสนอมาจะเกิดขึ้นได้จริง

มีโอกาสเป็นไปได้ อย่างน้อยสุเทพ ก็คงเริ่มหนักใจที่ประชาชนเริ่มถดถอยลงไปเรื่อยๆ ความรุนแรงก็มีเพิ่มขึ้นแต่ทำไมถึงยังชุมนุมต่ออีกทั้งๆ ที่เสี่ยงกับความรุนแรง แนวโน้มคือ สุเทพ คงต้องหาทางไป และนี่คือการพยายามหาทางไปต่อ หลังจากที่เรียกร้องมาแล้ว แต่ไม่ได้ทั้งหมด ก็เลยต้องเจรจา แต่คงเจรจาด้วยท่าทีแข็งข้อพอสมควร

โอกาส เป็นไปได้ ขึ้นกับสุเทพ และนายกฯ

ซึ่งถ้าให้เกิดขึ้น ก็ควรแบ่งช่วงเจรจา เริ่มต้นด้วยการอธิบายข้อเรียกร้อง จุดยืนในใจของตัวเองให้อีกฝ่ายหนึ่งฟัง เมื่อพูดจบก็เดินเข้าสู่ห้องเจรจา แต่ไม่ต้องมีการถ่ายทอดสดในช่วงนี้

กลับไปถามความเห็น ยังไม่จบ

แน่นอน นายกรัฐมนตรีไม่สามารถเป็นเผด็จการประชาธิปไตย ต้องปรึกษา ครม.ก่อน กองทัพ ที่ปรึกษาต่างๆ ที่สำคัญคือต้องมีความจริงใจ เช่น นายกฯ เสนอแผน ก.ให้พิจารณา เวลาคุณสุเทพ กลับไปเล่าให้มวลชน ก็ต้องเสนอแผน ก.ไม่ใช่แผน ข. สุดท้ายแล้วคือ

แถลงเปิดการเจรจา ด้วยการถ่ายทอดสด

เข้าห้อง ไม่ถ่ายทอดสด พอเสร็จ ต่างฝ่ายต่างแถลงข้อสรุปของตัวเอง และข้อสรุปร่วมกันไว้เป็นทางเลือก ออกมาอย่างไรบ้าง แล้วอธิบาย ปลีกย่อยอย่าไปเล่า ที่จะกระทบบุคคลอื่นก็ควรอยู่เฉพาะในห้องเจรจา ไม่ควรนำออกมาเปิดเผย

หลักสากล การเจรจากับผู้ที่กระทำความผิดที่ต้องหมายศาล อาจจะเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ดังนั้นการแก้ปัญหาคือ ตัวคุณสุเทพเอง ต้องประกาศให้ชัดเจนว่า นี่เป็นการเจรจาเกี่ยวกับประเทศชาติ ไม่ใช่การเจรจาเพื่อตัวคุณสุเทพ ในทางกลับกันนายกรัฐมนตรีก็ต้องพูดเพื่อประเทศชาติ ไม่ใช่พูดเพื่อตัวเอง พูดให้ชัดว่าคนที่รับประโยชน์ไม่ใช่ตัวเอง แต่เป็นประเทศชาติ ไม่ใช่เจรจาออกมาแล้วจะยกหมายจับ นี่เป็นการเจรจาเพื่อตัวเอง ต้องแยกให้ชัดว่ามาเจรจาแทนประชาชน ไม่ใช่เจรจาเพื่อตัวเอง ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่านายกรัฐมนตรีมาเจรจากับผู้ที่ถูกหมายจับ ซึ่งในหลักกฎหมายไม่ควรจะเป็นอย่างนั้น

สุเทพ พูดส่งสัญญาณดี นักวิจารณ์อย่าเพิ่งมองว่าจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ แต่ควรจะช่วยกันคิดวิธีการที่จะช่วยทำให้มันสำเร็จ และเป็นธรรมกับทุกฝ่ายจะเป็นอย่างไร

1.ถ่ายทอดสดได้เฉพาะตอนเปิด ปิด รายละเอียดปลีกย่อยไม่ต้องถ่ายทอด

2.ต้องประกาศชัดเจนว่าเป็นการเจรจาในฐานะตัวแทนของใคร ไม่ใช่การเจรจาเพื่อตัวเอง

3.ต้องตกลงกันให้ชัดเจนว่า เรื่องที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อยพูดในห้องปิด ห้ามไปเปิดเผย เปิดเผยได้เฉพาะเรื่องที่ตกลงกันไว้ และทุกฝ่ายควรยุติความรุนแรงทั้งหมดในระหว่างที่ยังรอผลการเจรจา ไม่มีการยั่วยุ

          นายสุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง

          ผมมองว่า ถ้ามีถ่ายทอดด้วยนี่คือจบแล้ว คุณสุเทพ คงรู้ว่าอีกฝ่ายจะไม่รับแน่ๆ และการเจรจาโดยมีการถ่ายทอด ผมว่าเป็นเรื่องของการชิงเกมกันมากกว่า ปัญหาคงไม่ยุติด้วยการเจรจาในรูปแบบนี้ แก้ปัญหาไม่ได้จริง
          นายกฯ พร้อม แต่
          การเจรจาควรเป็นความลับ เจรจา 2 คน หรือมีคนกลาง แต่ต้องไม่ถ่ายทอด ถ่ายทอดก็เล่นเกมกันเปล่าๆ เหมือนกับไม่จริงใจที่จะเจรจา เป็นการชิงเกมให้เห็นว่า อีกฝ่ายเหนือกว่า
          ตอนนี้ผมไม่คิด ไม่หวังอะไรแล้ว ถ้าอีกฝ่าย
          สุเทพ คิดยังงัย
          - ทำให้อีกฝ่ายปฏิเสธ และดูว่าไม่กล้าเข้าร่วมเจรจา
          นายกควรทำอย่างไร ไม่ควรเจรจา เป็นผมเป็นนายกฯ คงไม่เจรจา เพราะรู้ว่าอีกฝ่ายไม่ได้ต้องการเจรจาให้ปัญหายุติจริง แต่ต้องการเจรจาเพื่อให้เราดูแพ้เกมเท่านั้นเอง ผมไม่เชื่อว่านายกฯ จะยอมเจรจาตามรูปแบบที่นายสุเทพ เสนอ




เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ