โดยคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดใน 3 ประเด็น ได้แก่
1.สำหรับการเลือกตั้งใน 28 เขตเลือกตั้งที่ไม่มีผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือไม่สามารถจัดให้มีการเลือกตั้งได้ และไม่มีการจัดการเลือกตั้ง หาก กกต.จะดำเนินการให้มีการประกาศรับสมัครเลือกตั้งใหม่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 235 และมาตรา 236 ประกอบมาตรา 93 วรรคหก กกต.จะมีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะดำเนินการออกประกาศฯ เพื่อรับสมัครเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง และดำเนินการให้มีการหาเสียงเลือกตั้ง กับทั้งกำหนดวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งขึ้นใหม่สำหรับทั้ง 28 เขตเลือกตั้งที่ยังไม่มีผู้สมัครหรือไม่สามารถจัดให้มีการรับสมัครเลือกตั้งได้หรือไม่
2.หาก กกต.ไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่จะดำเนินการออกประกาศรับสมัครเลือกตั้งใหม่ จะต้องกระทำโดยการตรา พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ฎ.ยุบสภาผู้แทนราษฎรฯ ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบโดยเฉพาะของนายกรัฐมนตรีที่จะต้องนำความกราบบังคมทูลและรับสนองพระบรมราโองการในการตรา พ.ร.ฎ.ดังกล่าว ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 108 และมาตรา 187 ใช่หรือไม่
3.หากกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า จะต้องมีการตรา พ.ร.ฎ.เพื่อดำเนินการให้มีการรับสมัครเลือกตั้งใหม่ใน 28 เขตเลือกตั้ง การตรา พ.ร.ฎ.ดังกล่าวจะสามารถกำหนดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งขึ้นใหม่เฉพาะ 28 เขตเลือกตั้ง หรือจะต้องตรา พ.ร.ฎ.กำหนดห้มีการเลือกตั้งขึ้นใหม่ในทุกเขตเลือกตั้ง จึงจะชอบด้วยหลักการของการเลือกตั้งทั่วไป ตามบมบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 108 วรรคสอง ที่กำหนดว่า การเลือกตั้งทั่วไปภายหลังจากยุบสภาผู้แทนราษฎรจะต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรหรือไม่