หลังจากนั้น จะต้องเริ่มกระบวนการสรรหานายกรัฐมนตรี ซึ่งมองว่ามี 2 วิธี คือ การใช้อำนาจตามมาตรา 3 เพื่อดำเนินการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 7 ภายใต้รัฐธรรมนูญหรือเมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาสามารถทำหน้าที่แทนได้ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 172 และ 173 อนุโลมไว้ และเมื่อไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่จะคัดเลือกผู้เหมาะสมเข้ามาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ก็เชื่อว่าจะเข้ามาตรา 7 ที่จะต้องมีกระบวนการสรรหาเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีให้ได้
โดยนายกรัฐมนตรีที่ผ่านการสรรหาครั้งนี้ จะเป็นนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลที่มีอำนาจเต็ม และสามารถปฏิบัติงานที่คณะรัฐมตรี รักษาการ ทำไม่ได้ ซึ่งงานที่สำคัญคือการตอบรับข้อเรียกร้องของสังคมที่ต้องการการปปฏิรูปประเทศ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาต่างๆที่ค้างคาอยู่ เช่น โครงการรับจำนำข้าว
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ส่วนการทำหน้าที่ของ ครม.รักษาการ หาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ สิ้นสภาพจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไป รัฐธรรมนูญ ระบุว่า ครม.รักษาการไม่จำเป็นต้องสิ้นสภาพตามไปด้วย ซึ่งตามมาตรา 10 ครม.รักษาการสามารถทำงานไปพลางๆก่อน แต่ไม่สามารถหยุดยั้งกระบวนการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลได้ และเมื่อมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่เข้ามารับตำแหน่งก็สามารถดำเนินการให้ ครม.ชุดรักษาการพ้นจากตำแหน่งไปได้ เพื่อแต่งตั้ง ครม.ชุดใหม่ ดังนั้นการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญก็จะกระทบต่อ ครม.รักษาการด้วยแน่นนอน