3. การสร้างความตื่นตัวของประชาชนในทางการเมือง เพื่อให้รู้จักสิทธิหน้าที่ของพลเมือง รวมทั้งความรับผิดชอบต่อบ้านเมือง และ 4.การสร้างสภาพลเมือง เพื่อเป็นเวทีให้ประชาชนทุกภาคส่วนในแต่ละจังหวัดได้พูดคุยปรึกษาหารือ เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ภายในจังหวัด เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาภายในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ
"ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่เป้าหมายเพื่อจัดตั้งเวทีการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้แก่ประชาชน 77 จังหวัด และการสร้างสภาพลเมือง 77 จังหวัด โดยในช่วงบ่ายนี้จะทำบันทึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)" นายธีรภัทร์ กล่าว
นายธีรภัทร์ กล่าวว่า ขณะนี้เป็นที่เข้าใจตรงกันสำหรับทุกฝ่ายแล้วว่าจะต้องมีการปฏิรูปประเทศก่อน จัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย แต่การปฏิรูปประเทศนั้นจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมเสียก่อน โดยการให้การศึกษาเรื่องการเมืองแก่ประชาชน เพื่อสร้างความรู้ความาเข้าใจ ลดความขัดแย้ง และนำไปสู่ความสงบสุขของชาติบ้านเมืองต่อไป
ทั้งนี้ สพม.ได้ดำเนินการประชุมรวบรวมข้อเสนอในการปฏิรูปประเทศไทย และร่างพ.ร.บ.ที่หน่วยงานต่างๆ ได้ดำเนินการไว้เรียบร้อยแล้วประมาณ 14 ฉบับ ซึ่งทั้งหมดได้เคยนำเสนอ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหมในที่ประชุมไปแล้ว ด้านงบประมาณเบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้ประมาณ 300 ล้านบาท และหากสามารถเริ่มต้นข้อเสนอนี้ได้โดยเร็วจะทำให้สามารถบูรณาการไปกับนโยบาย ของ คสช.พร้อมกันได้เป็นอย่างดี
อย่างไรก็ตาม คาดว่าอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์จะได้นำเสนอรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับประเด็นการปฏิรูปประเทศไทยใน 3 ประเด็น อันได้แก่ 1.ปัญหาเรื่องคน ควรแก้ไขปัญหาที่การศึกษาเป็นหลัก ซึ่งต้องอาศัยกลไกสำคัญ คือ กระทรวงศึกษาธิการ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการศึกษานอกระบบซึ่งจะเกี่ยวข้องกับสถาบันสื่อมวลชนด้วย ซึ่ง สพม.เห็นว่าควรให้กระทรวงศึกษาธิการออกนอกระบบบริหารของคณะรัฐมนตรี และจัดตั้งให้มีคณะกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลโดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จริงๆ มาบริหาร เพื่อให้สามารถสานต่อนโยบายทางการศึกษาระยะยาวได้
2.ด้านกฎหมาย ควรกำหนดกำหมายเพิ่มเติม เช่น กำหนดให้คดีคอร์รัปชั่นไม่มีกำหนดอายุความ หรือกฎหมายป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งเคยผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติไป แล้ว โดยสพม.จะนำเสนอ คสช.ต่อไป และ
3.ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยและคนจน โดยให้มีการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า คสช.จะเห็นด้วยหรือไม่ ซึ่งหาก คสช.เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวก็จะสามารถดำเนินการได้ในปลายปีงบประมาณ 2557-2558 นี้
นายธีรภัทร์ กล่าวถึงโครงสร้างโครงสร้างของสภาพลเมืองว่า จะต้องพิจารณาก่อนว่ามีกลุ่มเป้าหมายใดบ้างแล้ว จึงจัดให้เป็นที่มาของสภาพลเมืองต่อไป ส่วนตัวเนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักในการนำไปให้ความรู้ความเข้าใจนั้น สพม.มีอยู่แล้วส่วนหนึ่ง เพราะที่ผ่านมามีคณะทำงานเครือข่ายภาคประชาสังคมได้ดำเนินการไว้แล้ว แต่คิดว่าจะขอความร่วมมือทำงานเป็นเครือข่ายต่อไปอีก จะขอความร่วมมือจากสถาบันพระปกเกล้าจัดอบรมคนที่จะลงไปดำเนินการในพื้นที่ และน่าจะต้องมีเครือข่ายอื่น ๆ เข้ามาร่วมกันดำเนินการด้วย เช่น คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)