ด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสภาพการณ์การเมืองไทยหลังการปฏิรูปประเทศ และหลังการเลือกตั้งในปี 2558 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 35.91 ระบุว่า สภาพการณ์การเมืองไทยจะดีขึ้นเล็กน้อย รองลงมา ร้อยละ 35.43 ระบุว่า สภาพการณ์การเมืองไทยจะดีขึ้นมาก ร้อยละ 20.30 ระบุว่า สภาพการณ์การเมืองไทยจะเหมือนเดิม ร้อยละ 3.74 สภาพการณ์การเมืองไทยจะแย่ลง และร้อยละ 4.62 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ท้ายสุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองในด้านต่าง ๆ ของ คสช. ที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.55 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของนักการเมืองและข้าราชการ รองลงมา ร้อยละ 24.68 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาความแตกแยกทางการเมือง ร้อยละ 9.08 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมนักการเมือง เช่น การไม่มีจริยธรรม การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง ร้อยละ 4.78 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการเข้าครอบงำพรรคการเมืองของกลุ่มทุน ร้อยละ 3.66 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการถ่วงดุลอำนาจระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และเป็นการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจสาธารณะ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.59 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาการซื้อสิทธิ์ขายเสียง ร้อยละ 1.35 ระบุว่า เป็นการแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญ ปปช. กกต. ร้อยละ 1.27 ระบุว่า ไม่สามารถแก้ไขได้ และ ร้อยละ 6.38 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ทั้งนี้ ระยะเวลาทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 – 3 กรกฎาคม 2557 จากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับกรอบเวลาการปฏิรูปประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อาศัยการสุ่มตัวอย่างจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล" ด้วยความน่าจะเป็นแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งภูมิภาคออกเป็น 5 ภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภาคสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ (Systematic Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4