โดยจากผลการสำรวจ เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของ กกต. ที่เสนอให้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขต จากระบบเขตเดียวเบอร์เดียว เป็นระบบเขตใหญ่หลายเบอร์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.79 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว รองลงมา ร้อยละ 26.70 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 12.51 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของ กกต. ที่เสนอให้ ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ ควรมาจากกลุ่มสาขาอาชีพที่หลากหลาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 84.60 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว รองลงมา ร้อยละ 12.11 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 3.21 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ส่วนที้เหลือ ร้อยละ 0.08 ระบุว่า ควรยกเลิก ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ
ด้านความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของ กกต. ที่เสนอให้ ส.ส. มีวาระในการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ หรือ 8 ปี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 71.69 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว รองลงมา ร้อยละ 24.14 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 3.77 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ขณะที่ ร้อยละ 0.40 ระบุว่า ควรกำหนดให้น้อยกว่านี้ หรือไม่เกิน 1 วาระ
ความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของ กกต. ที่เสนอให้ หากเมื่อมีการยุบสภา ควรให้ปลัดกระทรวง ทบวง กรม รักษาการแทนคณะรัฐมนตรี พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.00 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว รองลงมา ร้อยละ 25.10 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 8.90 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ
และเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อข้อเสนอของ กกต. ที่เสนอห้ามมิให้ บุพการี บุตร บุญธรรม คู่สมรสตามกฎหมาย หรือ อดีตคู่สมรส ลงรับสมัครเลือกตั้ง เป็น ส.ส. หรือ ส.ว. ในคราวหรือวาระเดียวกัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 60.71 ระบุว่า เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว รองลงมา ร้อยละ 34.48 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย และ ร้อยละ 4.65 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ/ไม่สนใจ ขณะที่ ร้อยละ 0.16 ระบุว่า ควรเน้นการพิจารณาประวัติของผู้สมัครเบื้องต้น และควรกำหนดให้ครอบครัวละไม่เกิน 2 คน