"ประยุทธ์"เดินหน้าปฏิรูประยะ2 ยันไม่มีนิรโทษกรรม-กางแผนแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร

ข่าวการเมือง Saturday August 23, 2014 10:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวในรายการ"คืนความสุขให้คนในชาติ"ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ร่วมเฉพาะกิจเมื่อคืนที่ผ่านมา ว่า ขอบคุณที่ทุกท่านได้กรุณาติดตามรับฟัง และเป็นกำลังใจให้ผมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตลอดมา ทุกครั้งที่เราพบกัน อยากจะเรียนว่าสิ่งที่เราคิดและเราทำออกไปนั้น บางครั้งอาจจะดูเหมือนยังไม่เร็วเท่าที่ควรพอที่จะแก้ปัญหาทุกอย่างของประเทศได้ อยากจะเรียนว่ามีปัญหาความทับซ้อนกันมากมาย ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา และอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเหล่านั้น มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของประเทศ การพัฒนาประเทศ ความอยู่ดีกินดีของประชาชนในทุกมิติ

พวกเราจึงอยากขอความร่วมมือ ขอร้องบรรดาผู้ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจที่พยายามจะต่อว่าหรือต่อต้าน โดยเลือกที่จะพูดคำว่า ประชาธิปไตย โดยการคืนอำนาจและเลือกตั้ง หรือกล่าวคำตำหนิติเตียน ทำใบปลิว บัตรสนเท่ห์ ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ให้ร้ายการกระทำอันเป็นเจตนาดีของพวกเรา ผมไม่ทราบว่าจะทำไปเพื่ออะไรยังคงมีการซุ่มซ่อน หลบเลี่ยง ดำเนินการในลักษณะที่มีการปกปิดซ่อนเร้นอยู่ตลอดมา และผมทราบมีการประชุมกันอยู่หลาย ๆ ที่ด้วยกัน โดยเป็นคนกลุ่มเดิม ๆ พูดจากันว่าอะไรบ้าง ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ดีเลย กับการที่จะขับเคลื่อนประเทศในวันข้างหน้า หรือการปฏิรูปของพวกเราผมพูดอยู่เสมอแล้วว่าเราก็อยากสร้างบรรยากาศการปรองดอง ในการที่จะปฏิรูปประเทศไทย ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ให้ได้ แต่หลายคนก็มีความพยายามที่จะนำพากลับไปสู่สถานการณ์ไม่ปกติอีกต่อไป โดยใช้คำว่าประชาธิปไตย การเลือกตั้ง โดยที่ไม่เห็นว่าประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ เกิดความไม่ปลอดภัย ขาดความน่าเชื่อถือจากสังคมโลก การกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม การทุจริตผิดกฎหมาย มีการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเอารัดเอาเปรียบผู้คนโดยใช้ทุกวิธีการทั้งผิดและถูก เพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่นั้นเชื่อมั่นในการกระทำดังกล่าวว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูก เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ซึ่งก็คงเกิดได้เฉพาะบางพวก บางกลุ่ม บางพื้นที่เท่านั้น ไม่ทั่วถึงและไม่แก้ปัญหาพื้นฐานของประชาชนได้เลย ตลอดระยะเวลายาวนานในอดีตที่ผ่านมา

ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ การบริหารจัดการเรื่องน้ำทั้งระบบ การแก้ปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ทันสมัยพร้อมต่อการให้บริการ การเตรียมการรองรับประชาคมอาเซียน การกำหนดยุทธศาสตร์ชาติที่เป็นรูปธรรมปฏิบัติได้แล้วจับต้องได้ในระยะยาว การแก้ปัญหาหนี้สินประชาชน การเข้าถึงทรัพยากรแหล่งเงินทุนของประชาชนที่ยั่งยืน ในการบริหารจัดการที่ผ่านมาเหมือนเราดูภาพถ่าย รูปถ่ายในภาพยนตร์ เหมือนนำมาให้ดูแล้วก็จบไปเหมือนหนังจบ หรือปิดหนังสือก็ไม่เห็นรูปอีกต่อไปจะเป็นชิ้น ๆ ไม่เกิดความต่อเนื่องทั้งระบบ ทั่วถึงและยั่งยืน

เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามทำอะไรที่จับต้องไม่ได้อย่างเป็นรูปธรรมมากนัก มาบริหารจัดการให้ได้ เช่น การบริหารจัดการพลังงานอย่างไร้ทิศทางที่ชัดเจน มียุทธศาสตร์ระยะยาวและอีกหลาย ๆ เรื่องที่เมื่อเราเข้ามาควบคุมอำนาจในการบริหารราชการได้ตรวจสอบพบสิ่งเหล่านี้ บั่นทอนความเจริญก้าวหน้าของประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง การศึกษา สาธารณสุขที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและยั่งยืน ผมใช้คำว่ายังไม่เพียงพอและยั่งยืน บางอย่างก็ดีอยู่ บางอย่างก็ยังไม่ยั่งยืน ผมอาจจะต้องก้าวล่วงในการทำงานของทุกฝ่าย ทั้งข้าราชการ ฝ่ายนโยบาย ฝ่ายการเมืองอยู่บ้าง เพราะท่านรู้ว่าปัญหาประเทศอยู่ที่ไหน เพียงแต่แก้ไขอะไรยังไม่ได้ ตราบใดที่ยังมีผู้บริหารข้าราชการบางคน บางส่วน บางพวก ยังมีผลประโยชน์ในการบริหารราชการ เพราะฉะนั้นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับก็จะลดลงไปตามลำดับ ผมไม่ได้หมายถึงทุกหน่วย ทุกคน ก็มีบางคนบางส่วนเท่านั้นเอง แต่เป็นผลกระทบโดยรวม เป็นเหมือนลูกโซ่ พอตรงนี้พลาด ตรงนี้ไม่ดี ตรงนี้ผิด ก็ทำให้สิ่งที่อาจจะดีอยู่แล้ว ถูกถ่วงดุลดึงลงไปด้วย อันนี้อยากจะเรียนให้ทราบ

เรื่องที่ผมกล่าวไปทั้งหมด เราน่าจะมองว่าถ้าเราปล่อยให้สิ่งเหล่านั้น ยังเดินหน้าต่อไปด้วยการเป็นประชาธิปไตยแบบเดิม ก็น่าจะทำให้ประเทศไทยเสียหายเป็นอย่างยิ่งในอนาคต ทำให้การพัฒนาประเทศช้าลงตามลำดับ

จากผลดำเนินงานที่ผ่านมาของ คสช. ระยะที่ 1 ประมาณ 3 เดือน มีความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหามาในระดับหนึ่ง ไม่อยากให้ทุกอย่างเป็นในลักษณะไฟไหม้ฟาง คือทำแล้ว แก้ไปแล้ว ระหว่างที่เราเข้มงวดอยู่ก็ดูเหมือนจะดี แต่พอเราไปทำเรื่องอื่นที่มีปัญหามากมาย เรื่องเก่า อำนาจเก่า ผู้มีอิทธิพลเก่าก็จะเข้ามาอีก พยายามที่จะกลับเข้ามาแก้ไขอีก กลับไปเป็นแบบเดิมอีก โดยใช้กระแสสังคม โดยใช้กระแสของประชาชนผู้ยากไร้ ผู้มีรายได้น้อย ผมไม่เข้าใจว่าคนเหล่านี้ จิตใจทำด้วยอะไร พยายามจะทำให้คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีรายได้น้อยเข้าใจผิด และยกประโยชน์แต่เพียงส่วนน้อย ผิดกฎหมายหรือละเมิดความสงบเรียบร้อยของสังคมให้กับประชาชนเป็นจุดอ้าง และกอบโกยผลประโยชน์ส่วนใหญ่ไป และแบ่งปันส่วนน้อยให้กับผู้ที่ทำผิดกฎหมายดังกล่าว โดยมีประชาชนเหมือนกับเป็นตัวประกัน อันนี้ต้องขอร้องให้เลิกซะที เช่น การที่เราไปจัดระเบียบในสังคมเหล่านี้ ก็ยังมีคนพยายามที่จะกลับมาให้เป็นเหมือนเดิม การปรับปรุงทางเท้า การปรับปรุงการค้าขาย ปลีก ขายย่อยตามถนนหนทางก็ไปจัดระเบียบกันมาให้ได้ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องคงต้องไปหาแนวทางที่เหมาะสม ทำอย่างคนที่ยากจนจะไม่เดือดร้อน หาที่ขายให้ใหม่หรือกำหนดกติตาต่าง ๆ ให้ชัดเจนในบางพื้นที่ ก็ไปหาวิธีการทำให้ได้ คสช. กำหนดนโยบายไปแล้ว ฉะนั้นทุกคนต้องหามาตรการดำเนินการให้ดีที่สุด ทั้งระยะสั้น ระยะยาวไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปในการกระทำผิดกฎหมาย

การปรองดองและการปฏิรูป ในระยะที่ 2 ซึ่งเราเพิ่งจะเริ่มต้นตอนนี้อย่าเพิ่งตำหนิติเตียนกันมากนักเลย ในเรื่องของตัวบุคคล วันนี้ถ้าดูในโซเชียลมีเดีย ดูในสื่อ ก็แทบจะไม่มีคนดีเหลืออยู่แล้วในสายตาของสังคมวันนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันนี้ถ้าเราบอกว่าเราจะให้โอกาสของคนทุกคนไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตามเข้ามาแก้ไข ถ้าคนที่เขาเคยทำไม่ดีก็เป็นโอกาสให้เขามาแสดงให้เห็นว่า ถ้าทำดีจะทำได้อย่างไร เพราะเราจะมีการบริหารจัดการ และควบคุมด้วยระบบธรรมาภิบาล เพราะอย่างไรเราต้องอยู่ร่วมกันต่อไปให้ได้

ด้านเศรษฐกิจ สัปดาห์ที่แล้ว ผมพูดไปแล้วว่าเรามีทั้งวิกฤติและโอกาส ทำอย่างไรจะให้วิกฤติเป็นโอกาสให้ได้ ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ต้องพัฒนาตนเองทั้งความรู้ความสามารถ ความซื่อสัตย์ ความเข้าใจซึ่งกันและกันรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่มีอะไรยั่งยืน ผลิตผลต่าง ๆ การค้าขาย ฉะนั้นเราต้อง เตรียมตัวรับความเสี่ยงให้พร้อม เราก็มีหลักการอยู่แล้วใช่หรือไม่ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการมีภูมิคุ้มกัน โดยมีความรู้คู่คุณธรรม ความรู้สำคัญในทุกวิชาชีพ ทุกอาชีพต้องมีความรู้ คำว่ามีคุณธรรมคือไม่ไปเบียดเบียน ไม่ไปรังแก ไม่ไปขูดรีดกับผู้ที่มีรายได้น้อย ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น การทำค้าขาย การผลิตสินค้าต่าง ๆ ต้องเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ ให้ได้รับความเชื่อถือจากผู้บริโภคและคู่ค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วันนี้สิ่งที่เรามีอยู่คือความเข้มแข็งของทุกภาคการผลิต การปรับปรุงเทคโนโลยีให้ทันสมัยขึ้น ก็ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น ปรับปรุงเครื่องจักร ปรับปรุงการผลิตก็ต้องมีเงินทุนให้ไปทำการปรับปรุงในธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น SME ในเรื่องของการลงทุนขนาดใหญ่ BOI และกองทุนต่าง ๆ ของรัฐ อันนี้ก็ต้องพยายามช่วยกัน ต้องนำคนทุกคนเข้าหาทรัพยากรให้ได้จะเข้าไปอย่างไร จะมีวิธีการเฉลี่ยแบ่งปันกันอย่างไรให้เกิดความพอเพียงเกิดขึ้น และค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ ถ้าทุกคนยังคงยึดถือการผลิตที่เชิงปริมาณมากเกินไป โดยไม่มีการปรับปรุงเทคโนโลยี ไม่มีการขยายประสิทธิภาพในการผลิตให้ดีขึ้น ให้มากขึ้น ให้ทันสมัยขึ้น ก็จะถอยหลังไปเรื่อย ๆ เราจะสู้เขาไม่ได้ สินค้าเราจะสู้เขาไม่ได้ ถ้าเขามาเห็นว่าการผลิตออกมาเป็นแบบนี้ เขาก็ไม่เชื่อถือ เราต้องช่วยกันเร่งปรับปรุงให้ได้โดยเร็ว รวมกลุ่มกันให้ได้ พึ่งพาอาศัยกันบ้าง อยากให้เป็นธุรกิจของคนไทยในประเทศของเราเอง สร้างความเข้มแข็งให้ธุรกิจที่ดำเนินการโดยคนไทยให้เข้มแข็งขึ้น เตรียมรับการเปลี่ยนแปลงของการแข่งขันในเวทีโลก ในการค้าขาย

การดำเนินการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของ คสช. เราพยายามปรับปรุงแก้ไขในเรื่องที่เร่งด่วนไปบ้างแล้ว เรื่องใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ ที่มีผลผูกพันกับหลาย ๆ อย่างต้องไปแก้กันในสภาปฏิรูป หรือสภานิติบัญญัติ เราไม่ควรที่จะไปออกคำสั่ง หรือประกาศต่าง ๆ เพื่อที่จะไปหาวิถีทางเพื่อที่จะกำจัดเรื่องนั้นเรื่องนี้ กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดได้ 100% เป็นการชั่วคราวเท่านั้น แต่การที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนถาวรคงต้องไปแก้ในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ในคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เพราะเราต้องการทำกฎหมายทุกอย่างให้เกิดความเป็นธรรมกับคนทุกหมู่เหล่า คนไทยทั้งประเทศ วันหน้าเราต้องกลับเข้ามาสู่การเป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ มีการเลือกตั้งที่ทุกพวกทุกฝ่ายพอใจ เราต้องพยายามปรับแก้สิ่งเหล่านั้น น่าจะดีกว่าการให้ คสช. แก้ด้วยความรวดเร็ว โดยใช้กฎหมายพิเศษมากนัก เราต้องดูว่าที่ผ่านมานั้นจากระบบการเมือง การบริหารประเทศที่มีการทับซ้อน ก้าวก่ายกัน ระบบต่าง ๆ นั้นมีหรือไม่อย่างไร ผมคิดว่าทุกคนคงไม่มีใครอยากทำไม่ดี อยู่ที่ใครจะกำกับดูแล ใครจะควบคุมการใช้อำนาจให้ถูกต้องได้มากน้อยเพียงใด ทุกคนต้องมาช่วยกัน นั่นคือปัญหาสำคัญเพื่อจะนำพาประเทศชาติไปข้างหน้า

ฉะนั้นวันนี้อย่างเพิ่งมาติ ให้ร้ายกันตั้งแต่ยังไม่ได้ทำอะไรหรือทำไปบ้างแล้ว จะถูก จะผิด จะดี จะไม่ดี กฎหมายต้องตัดสินมา เมื่อจะแก้ไขเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิธีคิด วิธีปฏิบัติให้เหมาะสม ไม่ได้หมายความว่าเราจะไปยกโทษให้ยังไม่มี ทำไม่ได้หรอก คนผิดก็ต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย อันนี้มีไว้สำหรับคนทุกคนที่ผิดกฎหมาย

ผลการดำเนินงานในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมาด้านความมั่นคงก็คงเป็นเรื่องการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน อันนี้เป็นปัญหาของประชาชนหลายแสนคน อาจจะเป็นจำนวนล้านด้วยซ้ำไปที่ไม่มีที่ดินทำกิน ฉะนั้นปัญหานี้ผมได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคง คสช. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และส่วนราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไปจัดตั้งคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินแบบบูรณาการให้ได้ เป็นแนวคิดเฉย ๆ ว่าเราอาจจะพิจารณาได้หรือไม่ว่านำพื้นที่ของรัฐที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ป่าเสื่อมโทรมไม่สามารถฟื้นฟูได้แล้ว พื้นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ได้ใช้ประโยชน์จะทำอย่างไรให้ประชาชนสามารถจะมาหารายได้ ทำมาหากินร่วมกัน ถ้าเป็นพื้นที่ป่าก็ต้องดูแลป่า ปลูกป่าไปด้วย แต่กรรมสิทธิ์ยังเป็นของรัฐ ไม่เป็นโฉนดของใครทั้งสิ้นเป็นของรัฐอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ว่าจะทำอย่างไรเขาจะเข้ามาทำกิน ผมเคยพูดเรื่องคิบบุตซ์ (Kibbutz) ในประเทศอิสราเอล เขาก็ทำแบบนี้ที่เขามีน้อยมาก ฉะนั้นเขาก็จัดเป็นกลุ่ม ๆ ขึ้นมา เป็นนิคมเล็ก ๆ ขึ้นมา ไปดูแลร่วมกัน รัฐลงทุนให้แบ่งปันผลประโยชน์กันไป ถ้าเราไม่มีที่แล้วเราไปแบ่งที่ทุกคน ๆ เมื่อไหร่จะพอ ไม่พอแน่นอน ถ้าทำเป็นกลุ่มแบบนี้และไปหาพื้นที่ของรัฐเข้าไปทำ แต่ไม่ใช่ไปทำกินอย่างเดียว ต้องปลูกป่าไปด้วย ถ้าใช้พื้นที่ป่า ป่าที่เสื่อมโทรมแล้วก็ทำเป็นป่าเศรษฐกิจ คำว่าป่าเศรษฐกิจคือมีทั้งไม้ยืนต้น มีทั้งไม้ที่ต้องอนุรักษ์ และมีไม้ที่เก็บผลประโยชน์ได้ เช่น อาจจะเป็นป่าผสมกันทั้งป่ายาง ป่าไม้ยืนต้น คือไม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์ได้อย่างเดียว ป่าสมบูรณ์ 100% ประชาชนยากจน ประชาชนไม่มีที่ทำกิน ก็ไม่ได้ทั้งหมด ทำอย่างไรเราจะจัดระเบียบตรงนี้ได้ แต่ผมไม่ได้หมายความว่าให้ไปบุกรุกป่าใหม่เพิ่มเติม ทำอย่างไรป่าที่ฟื้นไม่ไหวแล้ว แต่ยังเป็นพื้นที่ป่าอยู่เหมือนเดิม แต่เป็นป่าเศรษฐกิจ กำลังให้ไปทดลองไปคิดกันมาว่าจะหาทางกันอย่างไร และนำไปสู่การปฏิรูปหรือการดำเนินการใน สนช. กันต่อไป มีกฎหมายหลายข้อ ป่าสมบูรณ์ปัจจุบันขออย่าบุกรุกอีกเป็นอันขาด จากขอบป่าเดิมที่มีพื้นที่บริเวณเดิม ถ้าบุกรุกเข้ามา ต้องตีพื้นที่ชัดเจนว่าตรงนี้เป็นแนวป่าอยู่ และตรงนี้รุกเข้ามาถึงตรงนี้ ในส่วนของตรงนี้ต้องไปใช้วิธีการแก้ปัญหาทั้งนิติศาสตร์ และรัฐศาสตร์ อย่างที่ผมว่าคือรัฐศาสตร์ และยังเป็นป่าอยู่เหมือนเดิม แต่อาจจะมีปัญหาที่ประชาชนต้องเดือดร้อน ทำอย่างไรประชาชนจะอยู่กับป่าได้ หลาย ๆ ที่เป็นแนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทำไว้แล้ว เช่น ป่าชุมชน ป่าเศรษฐกิจ คำว่าป่าชุมชน ผมว่าน่าจะไปปรับมาทำเป็นป่าเศรษฐกิจจะได้หรือไม่ ถ้าป่าชุมชน ก็บ้านใคร บ้านมัน หมู่บ้านนั้น หมู่บ้านนี้ ชี้ตรงนี้ ตรงนั้นเป็นของตรงนั้น ก็เป็นป่าเศรษฐกิจไปเลย คนในพื้นที่ก็ทำได้ มาดูแลได้ อีกส่วนหนึ่งก็มาแบ่งปันให้อีกส่วน ได้หรือไม่ยังไม่ทราบต้องไปดูข้อกฎหมายอีกและดูความเหมาะสม และดูว่าจะทำให้การบุกรุกป่ามากขึ้นหรือไม่ ถ้าประชาชนยังบุกรุกอยู่เหมือนเดิม ทำอะไรก็แก้ไม่ได้ ถ้าประชาชนยากจนอยู่ก็แก้ไม่ได้อีก บังคับใช้กฎหมายก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นเรียนอีกครั้งอยู่ในขั้นการหารือ การพูดคุย ใครมีความคิดเห็นอย่างอื่นก็ว่ามา ว่าควรจะเป็นอย่างไร ผมก็รับฟังทั้งหมด

สำหรับความคืบหน้าการลงทะเบียนแรงงานต่างด้าว ขณะนี้ได้ดำเนินการไปแล้ว 8 แสนกว่าราย ทั่วประเทศ จะเห็นได้ว่ามีการขึ้นทะเบียนชัดเจนขึ้น ปัจจุบันก็กำลังดำเนินการร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการเตรียมการ พิสูจน์ยืนยันสัญชาติอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะจัดทำพาสปอร์ตให้ถูกต้อง เรามีกำหนดเวลาไปแล้วชัดเจน เพื่อจะได้สามารถบริหารจัดการแรงงานได้ ป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ผู้ประกอบการต้องร่วมมือ จดทะเบียนการประกอบการค้าท่านให้เรียบร้อย ซึ่งจะได้มายื่นความต้องการ เราจะได้รวบรวมทั้ง Demand Supply ให้สอดคล้องกัน ไม่ใช่นำมามาก ๆ เข้า นำมาจดทะเบียนมาก ๆ และกระจัดกระจายไปทำอะไรก็ไม่ทราบ ท่านต้องสร้างความเข้มแข็งในการประกอบการของท่านด้วย และรองรับแรงงานพวกนี้ ถ้าท่านพัฒนาสถานประกอบการให้ทันสมัยขึ้น ใช้เครื่องจักร เครื่องมือเทคโนโลยีมากขึ้น คนที่เข้ามาก็ต้องมีการปรับปรุงคุณภาพเพิ่มช่างฝีมือแรงงานต่าง ๆ เข้ามาหรือรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผมอยากให้รับช่างฝีมือ หรือที่จบวิชาชีพในประเทศไทยทำงานในโรงงานของท่าน เราจะได้ไม่เสียคนพวกนี้ไปทำงานต่างประเทศ และเราจะเหลือแรงงานที่ไม่มีคุณภาพ อันนี้ต้อง

ช่วยกันคิดช่วยกันทำ เราจะเปิดรับลงทะเบียนถึง 31 ตุลาคม 2557 นี้เท่านั้น หลังจากนั้นจะเป็นการพิสูจน์สัญชาติให้แล้วเสร็จภายใน 31 มีนาคม 2558 อย่าให้เกินนั้นก็แล้วกัน

เรื่องของการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและความร่วมมือในด้านต่าง ๆ การปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ได้มอบหมายให้ฝ่ายความมั่นคงร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และส่วนราชการต่าง ๆ ไปรวบรวมกฎหมายที่จะต้องปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เช่น การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น ปัญหาสิทธิมนุษยชน ปัญหาการค้ามนุษย์ การป้องกันการลักลอบการค้าสัตว์ป่าและซากสัตว์ ลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายความร่วมมือทางการค้าการลงทุนต่าง ๆ ขณะนี้ได้ส่งให้ฝ่ายกฎหมาย คสช. พิจารณาร่วมกับคณะกรรมการกฤษฎีกา และนำเข้าสู่ สนช. เพื่อปรับปรุงให้ทันสมัยต่อไป

ปัญหาบางประการ คนไทยอาจจะไม่ค่อยทราบ หรือไม่ค่อยได้สนใจ แต่ส่งผลกระทบต่อประเทศชาติเป็นอย่างมาก เช่น ปัญหาการค้างาช้าง ซึ่งอาจจะมีงาช้างในประเทศ ผมว่าจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นงาช้างที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ลักลอบเข้ามา เป็นงาช้างแอฟริกาบ้าง หรือจากอื่น ๆ จะเห็นขนาดที่ยาวใหญ่ อันนี้คือปัญหาสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่ออนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์ ที่พวกเรารู้จักกันในชื่อ CITES ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า IUU Fishing ปัญหาการค้ามนุษย์ ที่มีการปรับลดระดับประเทศไทยจาก Tier 2 เป็น Tier 3 หรือTier 2.5 เดิมมี Tier 2 เราถูกลดมาเป็น 2.5 วันนี้มาเป็น Tier 3 แล้ว เราต้องพยายาม จะทำอย่างไรให้ย้อนกลับขึ้นไปให้ได้ ตรงนี้จะเป็นภาระผูกพันที่เกิดจากกลไกในการแก้ปัญหาด้านต่าง ๆ ของประชาคมโลกทั้งสิ้น

ที่ผมพูดมาทั้งหมดเมื่อสักครู่นี้มีผลผูกพันทั้งสิ้น กฎหมายระหว่างประเทศทุกด้าน ท่านต้องแก้ไข วันนี้แก้ไขอย่างไร แก้ไขในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย ปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบชัดเจน มีงบประมาณ มีผลสถิติการจับกุมดำเนินคดีในแต่ละเรื่องที่เป็นความสนใจของประชาคมโลก ถ้าเราแก้ตรงนี้ได้ ทำให้เป็นรูปธรรมได้ เราก็สร้างการรับรู้ ความเข้าใจไปต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าเรามีความตั้งใจในการแก้ปัญหา สิ่งที่เขาลดความไว้วางใจของเราลงไป เขาก็ต้องกลับมาเหมือนเดิม เพราะที่ผ่านมานั้นเราแสดงให้เขาเห็นไม่ได้ว่าเราได้ดำเนินการเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน ต้องตอบได้ในหลาย ๆ เรื่อง กฎหมาย ผู้ปฏิบัติความรับผิดชอบ ผลทางคดี งบประมาณที่ใช้จ่ายไป ฉะนั้นถ้าจะตอบต่างประเทศได้ ต้องตอบแบบนี้ ทุกกระทรวงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเตรียมข้อมูลเหล่านี้ และต้องปฏิบัติให้ได้จริงจังด้วย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตม. กรมศุลกากร อะไรต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง

ในส่วนของการพัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศในอาเซียน บอกแล้วว่าเรามีมิตรประเทศที่ใกล้ชิดรอบบ้านเราใกล้ ๆ ไม่ไปไหน รอบบ้าน ในระยะรอบประเทศเรา 5600 กิโลเมตร มีประเทศที่เราค้าขาย และมีผลประกอบการเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากผลการค้าชายแดนในแต่ละห้วงรายไตรมาสมีจำนวนสูงมาก วันนี้ถึงมีการปรับปรุงเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ มีการปรับปรุงถนนเส้นทาง ด้านศุลกากร ขยายด่าน ขยายพื้นที่คอขวด กำลังทำอยู่ทั้งหมด เพื่อให้มีการค้าขายกับมิตรประเทศให้มากขึ้น

ขณะนี้ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง ได้เดินทางไปประชุมร่วมคณะกรรมการความร่วมมือระดับสูง ระหว่างราชอาณาจักรไทย-สหพันธรัฐมาเลเซีย ราชอาณาจักรไทย-สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ราชอาณาจักรไทย-สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และกำลังเตรียมการเดินทางไปกัมพูชาในเร็ววันนี้

นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ จะเป็นประธานของการประชุมร่วมกับนาย Alijandro Solano Ortiz ปลัดด้านการต่างประเทศ ของกระทรวงการต่างประเทศและศาสนาของสาธารณรัฐคอสตาริกา ซึ่งเป็นประเทศผู้ประสานงานฝ่ายลาตินอเมริกา ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศผู้ประสานงานฝ่ายเอเชียตะวันออกของเวทีความร่วมมือระหว่างเอเชียตะวันออกกับลาตินอเมริกา ระหว่างวันที่ 19-22 สิงหาคม 2557 คือในช่วงนี้ ที่กรุงเทพมหานคร โดยไทยจะผลักดันความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์โดยรวมของประเทศสมาชิก

งานด้านเศรษฐกิจได้มีการตรวจสอบการระบายข้าว ซึ่งคงจะเหลืออีกไม่มากนัก ก็มีความก้าวหน้าไปตามลำดับ อยากจะเรียนอีกครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่าจำนวนข้าวจะมีจำนวนอย่างที่ทราบกันอยู่แล้วประมาณ 80 , 20 เสีย 20 ยังมีอยู่ 80 ผมพูดถึงเฉพาะในเรื่องของปริมาณ เป็นการตรวจสอบทางกายภาพว่ามีจำนวนครบหรือไม่ครบ มีเสียหรือไม่เสีย แต่เมื่อดูว่าครบหรือไม่ครบแล้วก็จะมีการตรวจสอบของ ปปช. ของคณะกรรมการอื่น ๆ อีก ในเรื่องของ DNA ถูกหรือไม่ เป็นข้าวชนิดเดียวกันหรือไม่ ขณะนี้ยังตรวจสอบกันอยู่เพื่อยืนยันชนิดคุณภาพของข้าว

ฉะนั้น ถ้าอันใดถูกต้องทั้งกายภาพ จำนวน ต่อไปก็เป็นเรื่องของ DNA ข้าวชนิดเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ไม่เช่นนั้นส่งไปจำหน่ายเขาแล้ว ต่างชาติเขาก็ไม่ไว้วางใจ เขาก็ไม่เชื่อถือต่อไป ผสมไปขายเขา ต้องตรวจสอบให้ชัดเจนขึ้น ถ้าตรวจสอบได้แล้วก็เป็นเรื่องของการเตรียมการสู่การระบายข้าว

ปัญหาของเรื่องข้าวผมเรียนแล้ว นอกจากกายภาพเรื่องจำนวน เรื่อง DNA แล้วต้องไปดูเรื่องอื่น ๆ เพราะกระบวนการมีมากมาย การรับซื้อ รับจำนำ ราคา การทำสัญญาซื้อขายกับต่างประเทศหรือในประเทศ และเรื่องอื่น ๆ อยู่มาก เรื่องการเก็บดูแลรักษาก็มีการตรวจสอบในทุกระบบทุกขั้นตอน ซึ่งวันนี้ยังไม่ออกมาทั้งหมด ออกมาเฉพาะเรื่องของการตรวจสอบนับจำนวนข้าวเท่านั้นเอง แต่ที่เหลือทั้งหมดยังคงต้องดำเนินการต่อไป และเป็นการดำเนินการตามกฎหมาย ตามกระบวนการตรวจสอบขององค์กรอิสระก็ว่าไป

วันนี้เราจะดำเนินการเฉพาะข้าวที่ไม่มีปัญหา คือทั้งที่มีจำนวนครบนี้ คือทางกายภาพ และตรวจทางชีวภาพ คือการตรวจทาง DNA ถ้าตรงกัน ชนิดเดียวกัน อยู่ในกลุ่มนี้เดียวกัน เราจะได้ขายข้าวได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นการระบายข้าว อาจจะไม่มากนัก เพราะว่าเราจำเป็นต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับต่างชาติคู่ค้าเขาด้วย เราไม่ได้ทำเพื่อปกป้องให้ฝ่ายใด หรือใครจะไปอ้างผลทางคดี ไม่ได้ทั้งนั้น เพราะเป็นการตรวจสอบทางกายภาพ เพื่อการระบายข้าว

สิ่งที่เราต้องเตรียมการมากในขณะนี้คือ มาตรการรองรับผลิตผลใหม่ เราคงไม่ย้อนกลับไปพูดถึงว่าเราจะช่วยเหลือเกษตรกรอย่างไร ถ้าเราดำเนินการไปแล้ว และแก้ไขตอนนี้คงไม่ได้ ลองทำดูก่อนว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้เกิดความยั่งยืน มีการขายในราคาที่เป็นธรรม ไม่ผูกขาดกัน รัฐไม่ต้องเข้าไปดูแลมากนัก เป็นไปตามกลไกของตลาด ก็น่าจะดีกว่าถ้าทำได้ ถ้าทำไม่ได้ก็ไปว่ากันอีกครั้งหนึ่ง ขอร้องอย่าเพิ่งมาประท้วงร้องเรียนในขณะนี้เลย มีหลายอย่างที่มีผลผูกพันกันมากนัก เช่น เราต้องช่วยกันดูแลปรับปรุงคุณภาพให้ได้คุณภาพที่ดีขึ้น มีพันธุ์ข้าวที่ดีปลูก และการสี การผลิตออกมาจะต้องไม่ปลอมปนกัน ไม่นำข้าวนอกประเทศมาปนในประเทศ จะได้เกิดการแข่งขันเสรีได้ ทุกประเทศในโลกเขากำลังทำอยู่ เรื่องการตรวจสอบ เวลาเราไปขายเขา ตอนไปให้เขาดู ถูกต้องทุกอย่าง แต่พอตอนส่งให้เขาไป ก็ขอร้องว่าอย่าไปปลอมปน ทำให้ประเทศเสียหาย และอีกหน่อยก็ไม่มีใครมาค้าขายกับเรา ก็เดือดร้อนไปถึงชาวนา เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ มีปัญหาไปหมด ราคาจะได้ไม่ตก ผลผลิตต่าง ๆ ก็ไม่ตก ในอนาคตกันใกล้ต้องเตรียมการเรื่องข้าว

ที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์จัดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐ ได้รับความสนใจจากผู้ซื้อเป็นอย่างมาก มีผู้ร่วมยื่นซองเสนอราคารวม 49 ราย ชนิดข้าวสารที่ประมูลในครั้งนี้ ทั้งข้าวหอมมะลิ 100% ข้าวขาว 15% ข้าวเหนียวขาว 10% ข้าวท่อนหอมมะลิ ปลายข้าวหอมมะลิ ปลายข้าวปทุมธานี และปลายข้าวขาวเอวันเลิศ โดยการเปิดประมูลข้าวในสต็อกของรัฐครั้งนี้ได้จัดทำหลักเกณฑ์การประมูลให้มีความโปร่งใสในทุกขั้นตอน โดยผลการประมูลของคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. ได้มีมติอนุมัติให้ขายข้าวได้เป็นปริมาณทั้งสิ้นรวม 73,200 ตัน มูลค่าประมาณ 737 ล้านบาท ข้าวทั้งหมดต้องมี DNA ตรงกัน อยู่ในกลุ่มแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน และเป็นข้าวที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เป็นข้าวในประเทศ มีเอกชนยื่นซองรวม 11 ราย

การแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ตอนนี้มีตั้งแถวกันแล้วรอจะมาร้องเรียน ถ้าราคาตกต่ำกว่า 50 ก็พยายามจะไม่ให้ต่ำกว่า 50 อยู่ในขณะนี้ พยายามอย่างยิ่ง เราไม่อยากให้ท่านต้องเสียเวลาเดินทางมา และไม่ได้อะไรกลับไป เพราะเรายังไม่มีเงินให้ท่าน ของเก่าก็ยังอยู่ ของใหม่จะทำอย่างไร เราต้องพยายามจะทำอย่างไรให้เกิดการแข่งขั้น ทำอย่างไรจะทำให้เกิดประโยชน์จากยางให้มากขึ้น อันนี้กำลังแบ่งการแก้ปัญหาออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการเตรียมระบายยางในสต็อกจากโครงการรักษาเสถียรภาพราคายางพารา ซึ่งรับซื้อมาจากท่านสมัยที่ผ่านมา รับซื้อมาเป็นจำนวนมาก ราคาสูง ขายไม่ออก ขายไม่ได้ เพราะราคาบิดเบือน ไปขายใครได้ ถ้าซื้อมาราคาสูง ๆ ข้างนอกราคาตลาดเขาไม่ใช่เท่านั้น ต้องมาเก็บสะสมไว้ ก็ขาดทุน ขายไม่ได้

ขณะเดียวกัน รุ่นใหม่ก็เรียกร้องจะเอาเท่าเก่าอีก แล้วจะเป็นไปได้อย่างไร ก็นึกไม่ออกเหมือนกัน ต้องแก้กันทั้ง 2 อย่าง อย่างแรกคือ เราต้องแก้ไขจะทำอย่างไรยางเหล่านี้ หรือยางใหม่จะใช้ในประเทศเป็นหลักได้ และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ยางดิบให้ได้ โดยไปเชื่อมต่อกับ BOI เชื่อมต่อกับโรงงานต่าง ๆ ที่มีการผลิตยางไปทำถนน ไปทำถุงมือเป็น ที่ใช้ปริมาณยางให้มาก ๆ เราจะได้นำยางในสต๊อกมาใช้ในประเทศให้ได้ บริษัทต่าง ๆ ที่มาทำยางก็ต้องอุดหนุนยางของเรา อันนี้ต้องแก้ระเบียบ แก้กฎต่าง ๆ มากมาย อันนี้เป็นสิ่งที่เรากำหนดแนวทางในการพัฒนายางพาราทั้งระบบ ทั้งมาตรการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ได้แก่ แนวทางจัดการสต็อกยาง มาตรการบริหารจัดการในช่วงฤดูกาลผลิต ได้แก่ แนวทางยกระดับราคาเพิ่มสภาพคล่องด้านการตลาด แนวทางเพิ่มมูลค่าและคุณภาพผลผลิต มาตรการพัฒนายางพาราเพื่อความยั่งยืน ได้แก่ การปรับโครงสร้างด้านการตลาด แนวทางในการหาตลาดส่งออกใหม่ วันนี้หลายประเทศปลูกเอง หลายประเทศไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้ราคายางหรือความต้องการยางไทยลดลง ต้องเข้าใจตรงนี้ เราต้องมาช่วยตัวเองบ้าง

นอกจากการใช้ยางในประเทศแล้ว แนวทางการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ยาง ควบคุมพื้นที่การปลูกยางให้ลดลง ต่อไปอาจจะกรีดยางไม่ได้ อาจจะต้องไปทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ เป็นไม้ผลิตภัณฑ์ยางพารา ต้องช่วยกัน ถ้าเราจะขายยาง ๆ อย่างเดียว ยางดิบอย่างเดียวก็เป็นอยู่แบบนี้ยังไงก็ตก ฉะนั้นต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร การลดพื้นที่การเพราะปลูก ไปปลูกพืชหมุนเวียน หรือปลูกอย่างอื่น ๆ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทำการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการจัดทำร่างยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า เป็น Road map คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และอ้อย ได้เสนอคณะอนุกรรมการร่วมจัดทำยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรเป็นรายพืช ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 116/2557 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2557 เพื่อให้การขับเคลื่อนสินค้าเกษตร อาหารและพลังงานทดแทนจากสินค้าเกษตรของพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้าดังกล่าวเกิดความสมดุล เข้มแข็งและมั่นคง มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

ขณะนี้ทราบว่าทางบริษัท China Oversea Investment Service Limited สนใจนำเข้ามันสำปะหลังจากไทยราว 20,000-30,000 ตันต่อเดือน ภายในระยะเวลา 1 ปี ขณะนี้ก็ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลทางบริษัทอยู่ว่าเป็นอย่างไรจะทำสัญญากันอย่างไรเป็นไปได้หรือไม่ ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนการติดต่อกันอยู่

ผลิตผลการเกษตรอื่น ๆ เช่นกัน น่าเป็นห่วง บอกแล้วว่าปลูกมากราคาก็ตก ปลูกมากก็ไม่รู้จะไปขายใคร ปลูกมากรับซื้อมาจากประชาชน แล้วเราก็ขายไม่ได้น่าเป็นห่วง ทั้งพืชไร่ พืชสวน ผลไม้ เรามีการผลิตจำนวนมาก วันนี้ราคาก็ตก แข่งขันกัน บางอย่างคุณภาพก็ไม่ได้ ราคาก็ตกอีก ฉะนั้นต้องแก้ทั้งระบบ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงเกษตรฯ ต้องเข้าไปดูแลในพื้นที่เพาะปลูกอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำ สนับสนุนการปรับเปลี่ยน การปลูกพืชให้เหมาะสม กติกา สัญญา ระเบียบข้อบังคับ ภาษี ต้องแก้ทั้งระบบ

ฉะนั้น การทำงานเกี่ยวกับผลิตผลการค้าขาย ต้องเกี่ยวพันทั้ง 3 กระทรวง ทั้งกระทรวงเกษตรฯ ดูแลเรื่องการผลิต กระทรวงพาณิชย์ค้าขาย กระทรวงการคลังเก็บภาษี 3-4 กระทรวงต้องเกี่ยวข้องกันในการวางแผนตั้งแต่ปลูก ตั้งแต่ผลิต แปรรูป ขาย กระทรวงการคลังก็ต้องไปดูกฎ กติกาว่าภาษีจะทำอย่างไร จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐเท่าไร บางอย่างต้องสร้างแรงจูงใจ อันนี้คือสิ่งสำคัญที่ต้องคุยกันมากกว่าการที่จะดูว่าพอราคาตกต่ำแล้วต้อง Subsidize ผมว่าแล้วเมื่อไหร่จะพอ เงินก็ไปทำอย่างอื่นไม่ได้อีก ทุกคนต้องการหมด ต้องรถไฟฟ้า ต้องการรถทางคู่ ต่าง ๆ แหล่งน้ำ แต่เงินทั้งหมดต้องมา Subsidize ของเหล่านี้เป็นตลอดระยะเวลาที่ยาวนานที่ผ่านมา ที่เราต้องการอย่างอื่นก็ไม่เกิดความทันสมัย ก็ไม่ได้ต้องลดค่าใช้จ่ายตรงนี้ลง เพื่อที่จะเพิ่มทางนี้จะได้ทันเวลาที่เราจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน AEC ด้วย

การตรวจสอบ Demand Supply การจัดทำฐานข้อมูลต้องทันสมัยทั้งความต้องการ การผลิต ต้องสมดุลกัน เพียงพอ สมดุล มีตลาด มีคุณภาพ ไม่ใช่เน้นปริมาณแต่ราคาต่ำมาก ไม่ได้ต้องจัดสรรกันให้เหมาะสมกันทั้งระบบ ผลประโยชน์ที่เราให้ได้ตอนนี้ ถ้าให้ได้ตอนนี้ก็เกิดโทษในวันหน้า ก็เกิดการต้องใช้เงินกู้ ต้องชำระหนี้ ที่วันนั้นผมไปแถลงงบประมาณ บางคนบอกทำไมต้องไปใช้หนี้อีก ก็ต้องใช้เขายืมเงินก้อนนั้นเขามามาทำตรงนี้ มา Subsidize ไป ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มต้นใหม่ก็ต้องนำอันนี้คืนเขา และก็กู้เข้ามาใหม่อีก เป็นอยู่แบบนี้แล้วเราจะทำอย่างอื่นได้อย่างไร อันนี้ต้องแก้ให้ได้โดยเร็วส่วนราชการ ประชาชนต้องเข้าใจ ซึ่งต่อไปนี้ผมได้กำซับไปแล้ว 3-4 กระทรวงหลัก ต้องรับผิดชอบให้ได้ จะมาทำคนละชิ้น คนละส่วนไม่ได้ ปลูกเท่าไรก็ปลูกไป พอจะขายกระทรวงพาณิชย์ก็รับไป กระทรวงการคลังก็แล้วแต่จะขายอย่างไรก็ได้ ไม่ได้ต้องมาทำด้วยกัน เพราะเราจัดทำงบประมาณเป็นลักษณะการบูรณา ท่านต้องทำงานให้ต่อเนื่องกัน ฉะนั้นการกำกับดูแลของรัฐบาล ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จะต้องตามติดเรื่องพวกนี้

พื้นที่เพาะปลูกใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องก็ไม่ต้องซื้อ กระทรวงพาณิชย์ก็อย่าไปซื้อ ทุกคนต้องมีขื้นทะเบียนให้เรียบร้อย ต้องไม่บุกรุกที่ป่า ไม่ใช่ใครมาขายอะไรก็ซื้อหมด เราต้องควบคุม ถ้าไม่มีหลักฐานชัดเจนเป็นที่ของตัวเองมีโฉนด มีใบอนุญาตต่าง ๆ ก็ซื้อไม่ได้ อีกหน่อยคนเหล่านี้ก็ไม่กล้าที่จะไปบุกรุกป่ามาปลูกพืชเหล่านี้ เพราะไม่รู้จะไปขายใคร ผิดกฎหมาย ตำรวจจับ ต้องเข้มงวด ให้สอดคล้องกัน การบังคับใช้กฎหมาย คนจนจะทำอย่างไร พ่อค้าคนกลางจะทำอย่างไร ข้าราชการจะช่วยกันอย่างไร ทั้งหมดเป็นระบบทั้งสิ้น ฉะนั้นที่มาเหล่านี้ต้องถูกต้อง หลายกระทรวงต้องประชุมหารือกันให้เป็นระบบโดยเร็ว

เรื่องการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านการพลังงาน คสช. เห็นชอบให้เดินหน้าโครงการลงทุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ทั้งนี้เพื่อรองรับความต้องการการใช้งานที่มากขึ้นจากภาคประชาชน ภาคครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม ที่เรามีการขยับขยายตัวมากขึ้นตามลำดับ

ทั้งนี้ เราต้องการให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานไฟฟ้าต่อไปในอนาคต ว่าต้องวางแผน 5 ปี 5 ปี 5 ปี เรามีความต้องการไฟฟ้าเท่าไหร่ในภาคอุตสาหกรรม ในภาคครัวเรือน จะได้วางแผนได้ว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าอย่างไร สร้างที่ไหน สร้างแบบไหน อันนี้ต้องเป็นยุทธศาสตร์ มีมาตรการระยะสั้น ระยะยาว ทำอย่างนี้ ไม่ใช่สั่งได้เลยทุกเรื่อง ไม่ได้ ทั้งวันนี้ก็ได้วันนี้ วันหน้าก็ไม่ได้อีก ฉะนั้นต้องจัดทำยุทธศาสตร์ให้ชัดเจนขึ้น ระยะยาวให้ได้ โดยได้อนุมัติโครงการที่สำคัญเร่งด่วนก่อน เพราะต้องใช้เวลา ต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนผ่าน ในการที่จะต้องไปทดแทนของเก่า เช่น โครงการโรงไฟฟ้าเพื่อทดแทนโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 4-7 ที่จะหมดอายุการใช้งานลงภายในปี 2560 อันนี้ใกล้จะหมดแล้ว จะมองว่าอีก 3 ปี ไม่ได้ เพราะการที่จะขยายต่าง ๆ หรือปรับปรุงเครื่องจักร เครื่องมือ ต้องใช้เวลาเป็นปี ๆ

วันนี้ก็อนุมัติไปก่อนเป็นการเร่งด่วน แต่ไปทำให้ถูกต้อง ให้โปร่งใสเป็นธรรมในการจัดซื้อ จัดหา โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าระยะที่ 12 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ เราก็มีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลาง ภาคตะวันตกไปภาคใต้อยู่แล้ว แต่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้า เสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า 2 แฟต 3 แฟต ต้องทำให้รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้เพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า ป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับ ไฟฟ้าไม่เพียงพอในภาคใต้

การจัดสร้างโรงไฟฟ้า เราก็ไปส่งเสริมการลงทุนของ BOI ในการขออนุมัติลงทุนเรื่องโรงไฟฟ้าจากขยะ โรงไฟฟ้าจากพลังงานอื่นที่ไม่ใช้น้ำมันหรือแก๊ส ตอนนี้ก็อนุมัติไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 3-4 โรงไฟฟ้า เพื่อให้มีการใช้พลังงานจากขยะ หรืออื่น ๆ ที่เป็นพลังงานทดแทน อันนี้เราก็ให้นโยบายไปว่าสิ่งใด ๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดความทันสมัย เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีมลพิษ เหล่านี้ได้รับการพิจารณาใน BOI เข้ามาก่อน หรือการสนับสนุนใด ๆ ก็ตาม จากภาครัฐเราจะมุ่งเน้นอย่างนี้ เพราะที่ผ่านเราไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าจะทำอะไร ที่ไหนอย่างไร เมื่อไหร่ ก็เกิดปัญหาทับซ้อนกันมาอยู่ตลอด

วันนี้เรื่องโรงไฟฟ้าต้องเดินไปตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2553-2573 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ที่ให้ประเทศไทยได้มีปริมาณกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในอนาคต วันนี้ต้องดูว่าเราจะผลิตไฟฟ้าเองได้เท่าไหร่ เราจะรับซื้อจากภายนอกเท่าไหร่ ใช้พลังงานทดแทนเท่าไหร่ พลังงานหมุนเวียนทางเลือกอีกเท่าไหร่ ต้องเป็นตัวเลขออกมาให้ได้ แล้วเดินไปตามนั้น ปีนี้จะทำอะไร 5 ปีจะเกิดอะไร อีก 5 ปี จะเกิดอะไรต้องวางอย่างนั้น จริง ๆ แล้วทุกเรื่อง ต้องวางแผนงานอย่างนี้ จะได้ไม่ได้ปัญหาความไม่ยั่งยืน ปัญหาว่าไม่เป็นธรรม ก็มุ่งไปสู่การทุจริตอีกต่อไป ผมก็บอกว่าการตั้งโรงไฟฟ้าต่อไปต้องกระจายไปทุกภาค ไม่ใช่มารวมกันอยู่ในนิคม รวมกันอยู่ภาคกลางอย่างเดียว และลากสายไฟฟ้าส่งไปจากข้างบน ไปข้างล่างไม่ได้ อนาคต 5-10 ปี ต้องมีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กขนาดย่อมที่จะใช้เพียงพอในแต่ละภาค โดยที่อย่างน้อยก็แก้ปัญหาเรื่องปัญหาไฟฟ้าดับได้เป็นการชั่วคราว บางอย่างซื้อต่างประเทศมาก็ซื้อไป แต่ถ้าเขาไม่ส่งเมื่อไหร่ เขาตัดท่อแก๊สเมื่อไหร่ เราต้องอยู่ได้โดยที่ไม่ได้อยู่ในความมืด ทำอย่างไร ไปคิดมา

เรื่องขยะเป็นความจำเร่งด่วน ได้อนุมัติให้กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการในเรื่องของการกำจัดขยะนำร่องในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการดังกล่าวจะนำขยะไปผลิตไฟฟ้าใช้เทคโนโลยีแปลงขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิง ด้วยการเผาในเตา เตาของเรามีปริมาณความร้อนสูง ถ้าสูงไม่พอก็เผาไม่หมด มีมลพิษออกมาข้างนอกอีก จากข้อมูลของสำนักงานสิ่งแวดล้อมระบุว่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีปริมาณการผลิตขยะ 1,200 ตันต่อวัน แต่วันนี้สามารถกำจัดขยะได้เพียงประมาณ 700 ตันต่อวัน ดูว่าต่างกันอยู่แล้ว เกินมา 500 ตันต่อวัน จะทิ้งที่ไหน ตอนนี้มีขยะเก่าขยะใหม่รวมมาทั้งหมด 300,000 ตัน ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยู่ในขณะนี้ ถ้าหากเราตั้งโรงงานผลิตไฟฟ้านี้ได้ ถ้าตั้งโรงขยะนี้ได้ ก็จะมีโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ และสามารถรองรับขยะสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าได้เพิ่มเติม 300 ตันต่อวัน ดีกว่าเดิม ที่เหลือที่เกินอยู่ ก็จะย้ายหาที่ฝังกลบ ซึ่งสามารถรองรับขยะได้ทั้งสิ้น 760,000 ตัน ในเบื้องต้น ทั้งนี้ได้กำชับแล้วว่าไปทำที่ไหนก็ตามจะต้องไม่ทำให้เสียบรรยากาศ เสียภูมิทัศน์ หรือทำให้เกิดมลพิษ ประชาชนในพื้นที่ได้ประโยชน์ สร้างงาน สร้างรายได้จากการแยกขยะ คัดขยะหรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวกับโรงงานต่าง ๆ ทั้งหมดอยู่ในพื้นที่แถวนั้น ต้องขอความร่วมมือจากภาคประชาชนในพื้นที่ ภาคประชาชนในพื้นที่ช่วยสนับสนุนด้วย ถ้าท่านต่อต้าน ท่านไม่ให้ใช้พื้นที่ จะไปทิ้งที่ไหน ขยะตอนนี้ 300,000 ตัน ท่านจะนำไปถึงไหน ก็กองเป็นภูเขาไปเรื่อย ๆ สักวันก็กองไม่ได้แล้ว ไปทางกว้าง ไปเรื่อย ๆ ที่เท่าไหร่ก็ไม่พอ กี่ร้อยไร่ก็ไม่พอ แต่ถ้าเรามีโรงงานกำจัดขยะ แยกขยะให้ชัดเจน และไปผลิตไฟฟ้าออกมาก็จะหมุนเวียนไปเรื่อย ๆ ธุรกิจที่เกี่ยวกับขยะ ต่างประเทศเขาร่ำรวย ประชาชนก็มีความสุข อย่าไปรังเกียจว่าเป็นสิ่งน่ารังเกียจ จริง ๆ แล้วมีคุณค่า มีประโยชน์

วันนี้มีคนอีกจำนวนมากที่ทำมาหากินเลี้ยงชีพ เลี้ยงชีวิต เลี้ยงครอบครัวจากขยะ ทุกท่านทราบดี โรงงานที่จัดตั้งขึ้นมาใหม่ ประเด็นสำคัญต้องรับผิดชอบต่อชุมชน ประชาชนโดยรอบ ให้มากขึ้นรอบโรงงาน เช่น เข้มงวดเรื่องระบบ มาตรการกำจัดของเสีย ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องปิดไป หรือจัดตั้งมาต้องแสดงให้เห็นถึงมาตรการควบคุมมลพิษ มาตรการกำจัดน้ำเสีย ต่าง ๆ ต้องแก้ไข ต้องเตรียมการตั้งแต่ต้น ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่อนุญาต ขอให้กรมควบคุมมลพิษ และในส่วนที่ตรวจสอบต่าง ๆ เหล่านี้ ของกระทรวงอุตสาหกรรมไปตรวจสอบให้ดีขึ้นด้วย โรงงานเก่าก็ช่วยกัน ท่านต้องไปตรวจ ไม่ใช่ตรวจแต่ใหม่ ตรวจเก่าด้วย เก่าไม่มีประสิทธิภาพก็ปิดไป ต้องพัฒนาสร้างใหม่ หรือปรับปรุงเทคโนโลยี ไม่มีเงินก็หาเงินกู้ เงินมาหมุนเวียน ท่านไม่พัฒนาเลย ท่านก็ปล่อยโทรมไปเรื่อย ๆ แต่ท่านก็มีรายได้จากการผลิตไปเรื่อย ๆ แต่สังคมเดือดร้อนท่านต้องเข้าใจ

เรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญคือเรื่องของการเดินสู่ประชาธิปไตยในอนาคตของประเทศไทยคือการปฏิรูปและการปรองดอง ทุกคนก็เป็นห่วงถึงความต่อเนื่องในการทำงาน ในการปฏิรูปของ คสช. และรัฐบาลในวันนี้ ถ้าวันนี้ท่านสังเกตบางคนอาจจะลืมแล้ว บางคนอาจจะไม่ได้สังเกต บางคนก็ยังสับสนอยู่ ท่านอย่าไปมองอะไรที่จะต้องแก้ยาก ๆ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา สิ่งแรกที่ท่านสังเกตผมได้ออกมาพูดทำความเข้าใจกับท่านมาโดยเปิดเผย ทุกเรื่อง กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ ก็ ออกมาชี้แจงเป็นระยะ ๆ ท่านก็ต้องฟัง พูดไปแล้วไม่ฟัง พูดไปแล้วก็ลืม พูดไปแล้วไม่สนใจก็มีปัญหาตลอด ไม่เช่นนั้นผมจะมาพูดทำไม พูดแล้วเหนื่อยเปล่า ไม่ใช่ ผมไม่ได้มาฉายหนังให้ท่านดู มาเชียร์กันและจบ ๆ ไป ผมมีความสุขไม่ใช่

ฉะนั้น สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปคือ เมื่อก่อนท่านเคยได้ยินหรือไม่ว่ามีพูดเป็นเรื่อง ๆ พูดมาก ๆ เหมือนผมพูด อธิบายท่านมีหรือไม่ ไม่มี ลักษณะการทำงานทุกคณะออกมาอย่างเปิดเผย มีหรือไม่ ไม่มี การวางแผนงาน การจัดทำงบประมาณร่วม บูรณาการส่วนราชการต่าง ๆ มีหรือไม่ ไม่มี วันนี้มีแล้ว ผมถึงพูดได้เสียงดัง พูดได้เต็มปาก แต่ต้องไปดูว่าผลผลิตประสิทธิผลที่จะเกิดมา จะเกิดได้หรือไม่จากที่เราวางแผนไว้ จัดทำงบประมาณไป จะเกิดได้หรือไม่ เมื่อแผนงานโครงการเกิดต้องไปดูขั้นตอนการปฏิบัติการกำกับดูแลอีกระดับหนึ่ง ไม่ใช่สั่งไปแล้วต้องเป็นแบบนี้ เป็นแบบนั้น แล้วถ้าไม่เป็น คนสั่งรับผิดชอบอีก ไม่เป็นธรรมเหมือนกัน ไปทบทวนใหม่ว่ากระบวนการมีอะไร บางอย่างแก้ไขได้ก็สั่งได้ บางอย่างแก้ไขไม่ได้ต้องไปสั่งให้ทบทวนทำแผนงานโครงการขึ้นมา นำเข้า สนช. สภาปฏิรูป เข้า ครม. ก็ว่าไป เขาบริหารราชการกันมาแบบนั้น ไม่ได้คิดอะไร อยากจะทำอะไรก็สั่งไปก็ไม่ได้เหมือนเดิม

วันนี้คือการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่ผ่านมา บ้านเมืองก็สงบเรียบร้อย ชาวต่างชาติ ผู้ประกอบการค้าต่าง ๆ ที่เขาเคยไปไหนมาไหนไม่ได้ มีแต่การประท้วง มีการใช้อาวุธต่อกัน บ้านเมืองสกปรก ไปไหนมีแต่ความขัดแย้ง วันนี้เขาชื่นชมทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย คนต่างชาติเขาบอกว่าวันนี้ดีกว่าเดิมมาก บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนเชื่อฟัง เคารพกฎหมาย ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวที่ภูเก็ต ที่เราปรับปรุงไปแล้ว เขาก็ชื่นชม ไม่คิดเลยว่าภูเก็ตจะสวยงามขนาดนี้ เมื่อมีชายหาดขาว ๆ ทรายสวย ๆ ไม่มีร้านค้าไปขว้าง เขาก็อยากจะมามากขึ้น เขาก็จะกลับไปบอกคนที่บ้านเขาให้มามากขึ้น เพราะว่าสวย บ้านเรามีของสวย แต่ถูกปิดบังด้วยบรรยากาศที่ไม่สวย เพราะเรามีคนที่มีรายได้น้อย เพราะว่าเรามีคนที่มีรายได้น้อย ผมไม่ได้หมายความว่าเราจะไปรังเกียจคนรายได้น้อย แต่ต้องหาทางว่าจะให้เขาไปขายที่ไหน ให้เขาไปทำอะไรกิน เอาแต่ไล่ ๆ อย่างเดียวแต่ไม่มีที่ ก็ลำบากไปแก้ให้ครบระบบ เห็นหลาย ๆ พื้นที่เขาบอก เขาไปจัดที่ขายให้ เมื่อคนมาเที่ยวก็จะมีรถมารับต่อไป ไปซื้อของ ใครจะเล่นน้ำชายหาดก็เล่นไปก่อน ถึงเวลามีรถมารับไปซื้อของที่ศูนย์ขายของ ขายสินค้า ผมว่าก็ดี ไม่ใช่ไล่ไปหมด ไปไหนก็ไปกลับบ้านไป แต่มันก็คือปัญหากับคนยากจน คนรายได้น้อย ก็มีการกระทบกระทั่งกับเจ้าหน้าที่ การใช้กฎหมายก็มีปัญหา มีการประท้วงผมว่าต้องแก้ใหม่แล้วนะ ไปหาวิธีการทำมา

วันนี้การสัญจรไปมา รถติดธรรมดาทุกประเทศติดหมด ถ้าในเมืองใหญ่มีประเทศไหนรถไม่ติดบ้างมาบอกผมซิ ผมก็ไปมาหลายประเทศก็เห็นรถติดเหมือนกัน ถ้าชั่วโมงเร่งด่วน เช้าเย็น กลางวัน ก็ไม่เห็นจะติด เช้าก็สัญจรไปมา ธรรมดา แต่ติดขัดด้วยการประท้วง ด้วยการปิดถนน ด้วยการจำกัดการใช้รถใช้ถนนเรื่องที่ผ่านมาเลยทำให้ติดมากกว่าเดิม วันนี้ก็อย่าบ่นเลยครับรถติด รถมากไง คนก็มีสตางค์มากขึ้น ซื้อรถมากขึ้น เพราะฉะนั้นถ้าซื้อแล้ว เงินสดก็ไม่เป็นไร ถ้าซื้อเงินผ่อนแล้วนำมาคืนไม่ได้ก็อย่าเพิ่งไปซื้อ ฉะนั้นรัฐต้องมาดูในเรื่องของการให้การบริการให้มากขึ้น การบริการสาธารณูปโภค ขสมก. (องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ) มาไงจะหารถใหม่ได้แค่ไหน เส้นทางจะปรับอย่างไร รถไฟฟ้าความต่อเนื่องจะทำอย่างไร ที่จอดรถจะทำอย่างไร เหล่านี้มันไม่ได้แก้ปัญหาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นระบบ ก็ยังเป็นปัญหาอย่างนี้ เราจะมีรถไฟฟ้ากี่สายก็ไม่รู้ เราจะมี ขสมก. มีรถที่ทันสมันกี่คันก็ไม่ทราบ เราจะมีอะไรดี ถนนกี่เส้นไม่ทราบแต่ถ้าทั้งหมดยังไม่เกื้อกูลซึ่งกันและกันคนก็ใช้รถอยู่แบบนี้ คนที่ใช้รถไฟฟ้าก็ใช้รถไฟฟ้า คนใช้รถก็ใช้รถ แต่ถ้าการให้บริการของรัฐดีขึ้นคนก็ใช้รถน้อยลง การขับรถยนต์ก็น้อยลง ถนนจะติดน้อยลง แต่ต้องทำอย่างไร เพราะบ้านบางคนไม่ได้อยู่กับรถไฟฟ้า เขาก็ต้องขับรถมา มาจอดรถ เราต้องมีที่จอดรถให้เขา เขาขึ้นรถไฟฟ้าต่อ เพราะรถไม่ติดดี เขาก็นั่งรถมา เย็นขึ้นรถกลับบ้าน ขึ้นรถไฟฟ้า รถเมล์ประจำทาง และลงมาขับรถจากที่จอดรถกลับบ้านประหยัดน้ำมันด้วย

วันนี้ยังไม่ครบ ไม่ต่อกันทั้งหมด สร้างรถไฟฟ้าก็ไม่มีที่จอดรถ ไม่มีที่ที่จะไปต่อจากตรงนี้ไป บางคนเขาขึ้นรถตั้งหลายทอดใช่หรือไม่ อันนี้ผมก็เคย เด็ก ๆ ผมก็เคยขึ้นรถเมล์อยู่แล้ว ก็รู้อยู่ว่าความยากลำบากขึ้น 3 ต่อ 4 ต่อ ก็เปลืองเงินอีก แต่รถไฟฟ้าการขนส่งทางรางนี้ ประหยัดที่สุด ฉะนั้นรัฐต้องทำอย่างไรให้การขนส่งทางรางให้การบริการได้อย่างแท้จริง วันนี้เราต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกัน เข้าอกเข้าใจกันเห็นใจกันให้มากขึ้น ผมพูดไปหลายครั้งแล้ว บางคนก็ยังพูดอยู่ยุยุงปลุกปั่นอยู่ และวันนี้ประชาชนเราก็ฉลาดขึ้นมากแล้ว ไม่ยอมให้ใครมาชี้นำก็ยังมีอยู่บ้าง ที่พยายามอีก พยายามจะใช้เขาอีก ต่อไปอย่าพยายามใช้ประชาชนอีกต่อไป วันนี้ที่เราทำถึงวันนี้ 3 เดือน นี่อนาคตแล้วมีอนาคตแล้ว ถ้าท่านไม่ทำจะมีอนาคตหรือไม่ แล้วท่านจะเริ่มปฏิรูปเมื่อไร ที่ผ่านมาหลายฝ่ายก็อยากจะปฏิรูป เห็นด้วยปฏิรูปรวมกัน หลายฝ่ายนะครับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมา อีกฝ่ายบอกปฏิรูปก่อน อีกฝ่ายบอกปฏิรูปหลังเลือกตั้งก็ไม่ยอมกันอีก วันนี้ทำให้เกิดการปฏิรูปแล้วท่านยังบอกว่า แบบนี้จะปฏิรูปได้อย่างไรจะสำเร็จหรือไม่ มันจะทำได้หรือ 1 ปี มันก็ดีกว่าที่ไม่ได้ทำใช่หรือไม่

ฉะนั้นทำเถอะครับ ทำมันจะเสร็จแค่ไหนก็ว่ามา แบ่งขั้นตอนให้ถูกต้องระยะสั้น ระยะยาว ระยะต่อไป ถ้าท่านไม่มาที่สภาปฏิรูป แล้วท่านเรียกร้อง ถึงเวลาท่านบอกไม่รู้ไม่ได้เข้า ไม่ได้ร่วมมันจะไปปฏิรูปได้หรือไม่ ความขัดแย้งจะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ ก็เกิดขึ้นอีกอยู่ดี ถ้าทุกคนรักและสามัคคีไม่บ่อนทำลายซึ่งกันและกัน ไม่คอยจับผิดจับถูก ทุกอย่างก็ดำเนินไปในวิถีทางปกติ ไม่ต้องเป็นห่วงว่าใครจะไปใช้วิธีที่พิเศษอื่น ๆ อีก ถ้าดีอยู่แล้วใครอยากจะทำ ใครอยากจะใช้ ผมไม่เคยบอก ผมเองทำถูกทั้งหมดหรือผิดทั้งหมด เพราะผมมีเจตนาอันบริสุทธิ์ของผมในการที่จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุดกับประเทศชาติบ้านเมือง ผมยังยอมรับในการกระทำของผมเอง แล้วทำไมบางคนยังไม่รับในความผิดพลาด ในความบกพร่องและแก้ไขปรับปรุงตัวเองยังว่ากล่าวทุกวัน มีการวิพากษ์วิจารณ์ทุกวัน บางเรื่องผมพูดไปแล้ว บางเรื่องสั่งไปแล้ว แก้ไขไปแล้ว ก็ยังวิจารณ์อยู่เหมือนเดิม เรื่องเดิมไม่เคยฟังผมเลย นี้ไม่น่าจะดีนะ

วันนี้ต่างชาติเขาเข้าใจปัญหาเรามากขึ้น ทั้งอาเซียน ทั้งตะวันตก ตะวันออก ก็ว่าไปเขาเข้าใจเรามากขึ้น การค้าขายเป็นปกติแล้ว เริ่มจะมากขึ้น เขาบอกว่าบ้านเรามีเสถียรภาพมากขึ้น ทั้งการเมือง ความมั่นคง ความปลอดภัย ชีวิตทรัพย์สิน แต่เขาก็ไม่สามารถจะพูดได้เต็มที่ว่าเห็นด้วยกับ คสช. แต่หลักการของเขา เขามีหลักการของเขาอยู่แล้ว แต่หลายคนอยู่ประเทศไทยมานาน เขาเข้าใจดีที่ค้าขายมา เขาบอกว่าเขาเกิดความมั่นใจมากขึ้นในขณะนี้

อดีตผู้นำประเทศของไทยท่านหนึ่งที่เป็นนักประชาธิปไตย นักสิทธิมนุษยชน ผมขออนุญาตไม่เอ่ยชื่อท่าน ก็เคยพูดไว้ว่าไม่มีใครสนับสนุนรัฐประหารอยู่แล้ว แต่ก็เห็นด้วยในการเสริมสร้างประชาธิปไตยใหม่ของใหม่ให้ยั่งยืน ฉะนั้นไม่อยากให้ทุกคนมาพูดว่ารัฐประหารว่าดีไม่ดีอย่างไร เพราะเกิดขึ้นมาแล้วทำมาแล้ว ก็ต้องคอยช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สนับสนุนให้เกิดสิ่งที่ดี ๆ ในระยะเวลาอันสั้น ในระยะเวลาที่เราต้องปฏิรูปนี้ น่าจะดีกว่า ดีกว่าที่จะต่อต้านตั้งแต่แรกไม่อย่างนั้นมันเสียเวลาเปล่า เสียทุกอย่างเลย

สำหรับหัวข้อในการปฏิรูปทั้ง 11 ด้าน ในหัวข้อมีเรื่องปลีกย่อย เช่นการเมือง ผมบอกแล้วว่ามีข้อย่อย 4 – 5 ข้อข้าง ในหลายอย่างด้วยกันในนั้น การศึกษาหรือพลังงานก็ต้องมีหลายอย่างทั้งกฎหมายทั้ง การผลิตการจำหน่าย ราคา มากมาย ต้องไปปฏิรูปไปคุยกันมา ถ้ามีเรื่องอื่น ๆ อีกที่ท่านบอกว่ายังไม่มีหัวข้อนี้แล้วท่านบอกว่าไม่สำเร็จ มันไม่ใช่ ผมบอกไงว่ามีเรื่องอื่น ๆ อีก ไง อื่น ๆ ไปคุยกันสิครับนึกอะไรไม่ออกใส่อื่น ๆ ไป ถ้าเขาเสนอเพิ่มเติมเข้ามาในอื่น ๆ อื่น ๆ ก็จะแยกเป็นเรื่องนี้ เรื่องโน้นเพิ่มมาอีกทีไม่เข้ากับ 10 หัวข้อนี้พูดไปหลายครั้งแล้ว อย่ามาโจมตีกันเรื่องนี้อีก นะ 11 เรื่องจะครบได้อย่างไร ก็ข้อที่ 11 อื่น ๆ นี้อีก 100 เรื่องก็ได้ ถ้าท่านจะนำมา 100 เรื่องก็เถียงกัน นานหน่อย ฉะนั้นอย่าไปกังวล อีกอันหนึ่งก็ไปกังวลว่าจะครบหรือไม่ครบ ทำอย่างไรจะทันหรือไม่ทัน อยู่ที่ใครก็อยู่ที่ สภาปฏิรูป อยู่ที่คนเข้ามาร่วมสภาปฏิรูป ก็ไปตำหนิติติงกันว่าผู้เข้ามาเป็นคณะกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ถูกเลือกไว้แล้ว ผมจะไปเลือกใคร เราคัดสรรมาทั้งหมด คาดว่าเป็น 1,000 2,000 3,000 คน ที่ประมาณการในขณะนี้ วันนี้ขึ้นมาเป็น 500-600 คนแล้ว วันก่อนผมเห็น 486 คน วันนี้น่าจะเกือบ 600-700 อันนี้คือมาสมัครส่วนกลาง ทั้งหมดนี้คืออาจจะคัดเลือกให้เหลือ 550 คน จากนั้นจะคัดเลือกให้เหลือ 173+77 คน 77 นี้มาจากจังหวัด การคัดสรรจังหวัดก็บอกอีก บอกว่าเลือกคนไว้แล้ว เขาก็ตั้งคณะกรรมการคัดสรรไว้ใช่หรือไม่ ถ้าเขาทำไม่ดีเขาคงไม่เสี่ยงหรอกผู้ว่าราชการจังหวัด อัยการ ศาลที่เขาเกี่ยวข้องในการดำเนินการคัดสรรนี้เขาคงไม่กล้าเสี่ยง เขาจะไปชี้นำ คนโน้นคนนี้มา เดี๋ยวเขาโดนฟ้องวันหลังคุ้มค่ากับเขาไหม ผมว่าไปดูมาใหม่อย่าพูดกันเรื่อยเปื่อยไปเรื่อย ฉะนั้น 173+77 ก็เป็น รวม 250 คน

การเลือกคนเข้ามา ในเมื่อเราตั้งกลุ่มไว้ 11 กลุ่ม คนที่เข้ามามีหลากหลายประเภท หลายความรู้ หลายคุณสมบัติเราก็ สมัครมาคนนี้ก็สมัครมา คณะที่หนึ่งเท่าที่จำตัวเลขได้ ประมาณ 50-60 คน คณะที่สอง 30 คน คณะที่สาม 20 คน คณะที่สี่ 10 อะไรแบบนี้ เขาก็สมัครตามคุณวุฒิของเขาตามวาระของเขา เขาถึงมาลงหัวข้อ ไม่ใช่นำใครมาแล้วมาคัด ทั้งหมดจะทำได้อย่างไร ถ้าคนไม่มีความรู้เลย 11 เรื่อง ใครก็ได้ตัวแทนตรงนี้มาก็ไม่เข้าใจอีก ฉะนั้นเขาก็ สมัครของเขามาเอง โดยนิติบุคคลเป็นคนส่ง สมาคม มูลนิธิ อะไรที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายก็ไปส่งมาแล้วมา คัดเลือก นี่คือส่วนกลาง ในส่วนของตรงโน้นก็เช่นกันเขาก็ไปสมัครที่จังหวัด จังหวัดเขาก็ไปใช้วิธีการในการคัด สรรเขาออกมา แต่เขาจะระบุออกมาว่า สมัครด้านอะไร ฉะนั้น 1 คน จังหวัดอาจจะเหนื่อยหน่อย เพราะว่า คัดมา ต้องรู้เกือบทุกเรื่อง เพราะว่าถนัดเรื่องอะไร เรื่องหนึ่งเป็นพิเศษที่เหลือก็ต้องพอรู้มาไปรวบรวม อ่านมาว่า กลุ่มเขา ต้องการอะไรนั้นเป็นการเก็บข้อมูล ซึ่งมันมีอยู่แล้วข้อมูลที่ศูนย์ดำรงธรรมข้อมูลที่สำนักงานปฏิรูปของ คสช. ที่ตั้งไว้ เดิมหรือ กอ.รมน. (กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรไทย) ผมว่ามันมีหมด ท่านนำไปศึกษาเอง ไม่ใช่มาตัวเปล่า ไม่มีข้อมูลไม่มีพื้นฐาน ไม่มีความรู้อะไรเลย แต่ท่านอยากเป็น สปช. ถ้าแบบนี้ไปไม่ได้ท่านไปดูตรง นั้นมากกว่าถ้าท่านเก่งท่านดี เขาคัดเลือกท่านอยู่แล้ว จาก 5 คน จะมาเลือกให้เหลือ 1 คน เป็น 77 คน ในส่วนกลาง เมื่อสักครู่บอกไปแล้วจากทั้งหมดเป็น 1,000 ก็มาเหลือ 550 คัดเหลือ 173 ในส่วนนี้ก็เช่นเดียวกันต้องสมัครให้ตรง มาแต่ละเรื่อง 11 เรื่อง ถ้าไม่สมัคร กลุ่มที่ 1 มาก ถ้ากลุ่มอื่นน้อยก็ต้องปัดที่เกินมาใส่ตรงนี้ แต่วิธีการทำงานไม่ใช่ว่าทุกคนมาแล้วพูดเรื่องเดียวกัน คนละเรื่องสองเรื่องแล้วจะไปไม่ได้เขามารวมกันได้ 250 เขา ก็กำหนดเรื่องเข้ามา แต่ละคณะก็จะไปศึกษารายละเอียดของตัวเองและมาเสนอในสภา เหมือนคณะกรรมาธิการ สนช. หรือ สส. (สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ก็แล้วแต่ตามหลักกฎหมาย เขาก็ไปศึกษาแต่ละเรื่องของเขาในกลุ่ม 11 กลุ่มนี้และมาเสนอในที่ประชุมใหญ่ ประธานสภาปฏิรูปที่รับการเลือกตั้งมาเองก็เป็นผู้ดำเนินการประชุมเพื่อปฏิรูป เมื่อได้ข้อสรุปมาแล้วถึงจะไปให้ สนช. ออกกฎหมายหรือไปดำเนินการด้วยรัฐบาลอะไรก็ตาม ไม่ใช่ ว่าพูดเรื่องนี้ก็นำมาพูดเลยทีเดียว พูดไม่จบหรอกแบบนั้น เพราะฉะนั้น 11 เรื่อง 11 กลุ่ม แต่ละกลุ่มไปหาข้อมูล จากของตัวเองมา จากความรู้ที่ตัวเองมีอยู่ คุณสมบัติที่ตัวเองมีอยู่และไปเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม จากในพื้นที่มาส่งได้ตลอด การส่งข้อมูลมาเพิ่มเติมในสภาปฏิรูป ส่งตรงสภาปฏิรูปก็ได้ ส่งผ่าน คสช. ก็ได้ ส่งผ่านดำรงธรรมก็ได้ ส่งผ่านสำนักงานปฏิรูปก็ได้ สำนักงานปฏิรูป คสช. ที่จังหวัดหรือส่งผ่าน กอ.รมน. ก็ได้ เพราะฉะนั้นจะไปกังวลอะไรครับ วันนี้ที่ผมมีรายชื่อที่สมัครมายังไม่ได้คัดเท่าที่อ่าน ๆ ดู ไม่รู้จักใครสักคนไม่รู้จักจริง ๆ เป็นนักวิชาการบ้างพ่อค้าบ้าง มันก็ตรงในแต่กลุ่มของท่านฉะนั้นก็ไปเลือกกันมาสิครับ เดี๋ยวคัดสรรเข้าเลือกมา กรรมการคัดสรร ก็จะไปบอกว่าเขาเลือกคนของตัวเองไว้แล้ว ผมบอกแล้วไงว่า คสช. หรือใครก็แล้วแต่จะไม่ไปยุ่งกับท่าน เรื่องปฏิรูป ท่านต้องมาทำกันเอง มีประธานสภาประชุมและก็หาข้อสรุปมาให้ได้นี้ ผมอธิบายอย่างละเอียดแล้ว เดี๋ยวจะบอกว่าไม่รู้เรื่องอีก ในการสมัคร สปช. ใครยังไม่สมัครมาสมัครซะที่ส่วนกลางนี้ ที่ยอด 550 ที่จะถูกคัดมานี้ถ้ามาเป็น 1,000 ก็สมัครมาอีก ใครอยากสมัคร สมัครมาเดี๋ยวบอกไม่มียอดไม่มีคนโควตา คือคนอย่างนี้ชอบพูดใช่หรือไม่ พูดไว้ก่อน และตัวเองไม่สมัครแต่พูด แบบนี้ใช้ไม่ได้ คนพูดจะต้องสมัครมา ถ้าพูดแล้วไม่สมัครอย่าพูด ส่วนกลางสมัครได้ 2 อย่าง คือสมัคร กกต. (คณะกรรมการการเลือกตั้ง) ได้ เลยหรือไปรษณีย์มาส่ง เขาจะตรวจสอบคุณสมบัติคู่ขนานใน ระหว่างการรวบรวมรายชื่อเพื่อจะไปคัดสรร การคณะกรรมการแต่ละคณะเขาจะไปคัดมาไม่เกิน 50 คน 11 เรื่องก็ 550 ถ้ากรณีไม่ถึง 50 คนแต่ละคณะก็จะต้องส่งรายชื่อไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของบัญชีอันนี้เป็นเรื่อง ของ กกต. เดี๋ยวคงชี้แจงกันอีกครั้งหนึ่งวันที่ 4 กันยายนนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการสรรหาโดยผมหัวหน้าคสช.เป็น ประธานครั้งที่ 1 อีก 3 ครั้ง เพื่อจะคัดสรรมาให้ได้ภายในวันที่ 22 กันยายน

ในส่วนของ กกต.ตอนนี้น่าจะส่งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการสรรหาประจำจังหวัด เรียงตามตัวอักษร 5 คน มีหลักการพิจารณา จุดเด่น ประสบการณ์ อาชีพ สังคมยอมรับ สามารถทำประโยชน์ได้ใน สปช.ก็จะส่งรายละเอียดเหล่านี้ขึ้นมา 5 คนก็จะถูกคัดเหลือ 1 คน

กรณี ข้าราชการจากทุกกระทรวง ทบวง กรม ท่านก็ต้องสมัคร วันนี้ผมสั่งการไปแล้วด้วย เขาเตียมการอยู่อย่าเพิ่งไปบอกว่า กระทรวง ทบวง กรม ก็ไม่ส่ง เขาต้องส่งสิครับเพราะเขามีความรู้ในเรื่องนี้ เขาอาจจะอยู่ในแต่ละคณะไปเพื่อเป็นข้อมูล เพื่อรับทราบ แล้วจะทำอย่างไรถ้าท่าน ท่านคิดเองโดยประชาชนอย่างเดียวข้าราชการไม่มีเลย คงไม่ได้ จะทำได้หรือไม่ผมก็ไม่รู้ ฉะนั้นถ้ากระทรวง ทบวง กรม ขณะนี้เขาเตรียมการอยู่ที่จะส่งผู้แทนรับการคัดเลือกด้วย โดยต้องส่งให้ตรงทั้ง 11 กลุ่ม เช่นเดียวกันวันนี้ทุกกระทรวงก็ให้คณะกรรมการอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อกพ.) ของตนเองประชุมคัดเลือก เพื่อส่งชื่อเข้ามาอีก ไม่ต้องกลัวว่าจะน้อยมีมากมายแน่นอน

การคัดสรรวันนี้ได้สั่งการไปให้กระทรวงมหาดไทยได้ประชุมทางไกลชี้แจงและให้เลขา กกต. มาตอบข้อซักถามด้วย รู้สึกจะทำวันนี้ ถ้าสงสัยก็ถามมาอีกก็จะจัดพูดไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะเข้าใจและตอบข้อซักถามให้ได้ อย่าบ่น อย่าเข้าใจเอาเอง ทำให้ทุกอย่างไปไม่ได้ สื่อก็ต้องเข้าใจ เดี๋ยวผมจะคอยดูว่า ที่พูดไปแล้วเข้าใจอีกหรือเปล่า หรือไม่เข้าใจอีก เพราะฉะนั้นทุกอย่างโปร่งใส กรณีที่ได้รับการคัดเลือก คัดสรรเข้ามาแล้วและให้ปฏิบัติหน้าที่แล้วมีการฟ้องร้องกลับมาว่า ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม อันนี้เราจะให้เข้ามาก่อน เหมือนกับใบเขียวใบแดง ถ้าเขียวก็ทำไปเลย ถ้าแดงเข้ามาก่อนแล้วก็สอบสวนและปลดออกไป ก็คัดสรรมาใหม่ก็แค่นั้นเอง ทำอย่างอื่นได้ไหมนอกจากนี้

ในเรื่องของผลกระทบการจัดระเบียบ เรื่อง วีซ่า การอุ้มบุญ วันนี้มีคดีมากมายก็เป็นธรรมดาโลกเจริญขึ้น การพึ่งพาอาศัยการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์ก็มากขึ้นแต่ทำให้ถูกกฎหมายนี้ทำไม่ได้ซักที เมืองไทย วีซ่าท่องเที่ยวที่ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) แสตมป์ให้ตอนเข้ามามันชั่วคราว หมดอายุ แต่บางคนเขาอยากทำงานต่ออยู่ต่อ ก็เดินทางออกจากประเทศไทยชั่วคราว แล้วเข้ามาใหม่อาจจะวัน 1 หรือระยะเวลาหนึ่งและมาแสตมป์ใหม่และอยู่ต่ออีกระยะหนึ่งตามวีซ่า นี้เขาเรียกวีซ่า มันก็มีผลตอนจัดระเบียบพูดไปมากมายก็เกิดผลต่อครูสอนภาษาอังกฤษ พวกวิชาการที่จะมาลงทุน ที่จะมาประชุมมีปัญหาหมด ฉะนั้นกำลังทำในเรื่องนี้อยู่ต้องแยกแยะให้ชัดเจนขึ้น อันไหนที่เป็นการชั่วคราว อันไหนต้องไปวีซ่ารันหรืออันไหนที่เป็นการท่องเที่ยวธรรมดาแยกให้ออกจากกัน วันนี้ได้สั่งการไปแล้วให้มีการผ่อนผัน ขึ้นบัญชีเหมือนกับแรงงานต่างด้าวผู้ที่ทำวีซ่า ไปขึ้นทะเบียนกับเขาให้ ตม. รับผิดชอบไป และ หาทางแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ในอนาคตอย่างที่ผมบอกแล้วเมื่อสักครู่ ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมานานแล้ว ไม่อย่างนั้นเดี๋ยวขาดครูสอนภาษาอังกฤษอีก ขาดไกด์ที่มาเสริมอีก ไกด์เราจำนวนคุณภาพก็ยังมีปัญหาอยู่ คุณภาพว่าอย่างไร ต่างชาติมาก็หาว่าไกด์ต่างชาติมาแย่ง เรื่องใหญ่

เรื่องการจัดระเบียบ ปรับปรุงข้อกฎหมายอุ้มบุญวันนี้มีกฎหมายไม่ชัดเจนต้องไปแก้ใน สตช. ในระหว่างนี้ให้มีการตรวจสอบเป็นไปตามข้อกฎหมายเดิมอยู่บางประการการจะแก้ไขให้ยั่งยืน ในการดำเนินการโดยทันที เพราะเกรงว่าวันนี้คนไทย ผู้หญิงไทยที่รับอุ้มบุญแล้วไม่กล้าไปปรึกษาแพทย์ ที่โรงพยาบาล ตัวเองอุ้มท้องอยู่ ไม่กล้าไปหาแพทย์กลัวจะถูกดำเนินคดี พอไม่ไปหาแพทย์สุขภาพตัวเองก็แย่ ก็อุ้มบุญอยู่ในท้องไปหาหมอก็ไม่กล้า คลินิกที่จ้างหรือที่ให้ทำก็ถูกปิด เพราะฉะนั้นอันตรายกับเด็ก ผมสั่งการไปแล้ว ให้ผ่อนผันเป็นราย ๆ ไป ไปแสดงหลักฐานให้ชัดเจน ขอความร่วมมือจากโรงพยาบาล การบริการทางการแพทย์ของรัฐโดยเฉพาะกระทรวงสาธารณสุข ช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วย

ในเรื่องของการปฏิบัติงานของ คสช. ในช่วงมีรัฐบาลหรือมีการบริหารราชการเมื่อมีนายกรัฐมนตรี (นรม.) มีรัฐมนตรี (รมต.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็จะบริหารราชการในระบบกฎหมาย และระเบียบปกติ ผมพูดถึง ครม. แต่บางอย่างมีปัญหาทับซ้อนจะแก้ไขไม่ได้โดยเร็ว(ฟังเทป) โดยกฎหมายปกติ เรื่องนี้ คสช. ครม. จะร่วมมือกันประชุมร่วมกันจัดพิจารณา กำหนดว่าเรื่องใด ควรจะเป็นหลักของรัฐบาลหรือเรื่องเร่งด่วนที่ต้องการอำนาจพิเศษ ในการขับเคลื่อนก็จะจัดทำเป็นนโยบายขึ้นให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานร่วมกัน อะไรที่เป็นเรื่องเร่งด่วนต้องใช้กฎหมายพิเศษโดยทันทีก็ให้ คสช. ผู้รับผิดชอบในการขับเคลื่อน โดยใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่มีอยู่ หรือจัดตั้งคณะกรรมการเข้าดำเนินการ เช่น การแก้ไขปัญหาคอรัปชั่น โดยทันที การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ การแก้ไขปัญหาความยากจนระยะสั้น การแก้ไขปัญหายาเสพติด การแก้ไขปัญหาบุกรุกทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดระเบียบอื่น ๆ ในเรื่องเหล่านี้บางเรื่องแก้ได้เร็ว บางเรื่องเป็นปัญหาเฉพาะหน้าก็ต้องใช้อำนาจพิเศษถึงจะเร็วขึ้น แต่อะไรที่ใช้อำนาจปกติได้ ก็ทำไปดำเนินการไปไม่ทับซ้อนกันแน่นอน พยายามไม่ให้เกิดผลกระทบในกว้าง

เรื่องการศึกษาเป็นหัวใจของชาติเป็นอนาคตของประเทศ เพราะฉะนั้นผมเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีอยู่หลายประการ การจัดทำหลักสูตร การเตรียมการปรับปรุงเรื่องครู อะไรก็แล้วแต่ที่กระทรวงศึกษาธิการทำอยู่ ขณะนี้แต่ผมก็เป็นห่วงเรื่องความเป็นรูปธรรม ท่านต้องทำให้ได้ และให้ได้ทั้งระบบ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ทั้งคุณภาพปริมาณ ความต้องการของแรงงาน ความต้องการของลูกจ้างวิชาชีพ ท่านต้องกำหนดระยะเวลา ประสิทธิผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว ให้ทันปีการศึกษานี้ให้ได้ ท่านต้องทำให้ได้ ให้เวลาท่านแก้มานานแล้ว เพราะฉะนั้นวันนี้ต้องแก้ให้ได้นี่ไงเป็นเรื่องที่บางอย่างต้องใช้อำนาจ คสช. เหมือนกัน ไม่เช่นนั้นทำไม่ได้ซะที ผมรู้ว่ายากแต่ท่านต้องทำให้ได้ ประชุมร่วมกัน ลดข้อขัดแย้ง ใช้จ่ายงบประมาณ บุคลากรร่วมกัน เวลาของท่านจำกัด ต้องนำร่องเกิดขึ้นให้ได้โดยเร็วทุกเรื่องที่พูดไปแล้ว สั่งไปแล้วและข้อเรียกร้องของประชาชน ผู้ปกครองเด็ก ผู้ใหญ่ ทั้งหมดที่มีส่วนเกี่ยวข้องเขาเรียกร้องมาทำอย่างไรจะเกิดได้ ให้เขาพอใจแต่ไม่ใช่ทำให้การศึกษามันแย่ลง การศึกษาต้องดีคนก็พอใจ ไม่เดือดร้อน การเรียนพิเศษอะไรต่าง ๆ เหล่านี้ต้องไปแก้หมด เพราะฉะนั้นท่านต้องทำให้ได้โดยเร็ว ให้เวลามานานเต็มทีหลาย 10 ปีแล้ว การศึกษาไทยนี้ ดีก็มี ไม่ดีก็มี ทำอย่างไรเราจะดีทั้งหมดได้ อยากให้ทำทุกมิติ การใช้จ่ายงบประมาณของรัฐท่านทราบดี ว่าใช้จ่ายงบประมาณมากที่สุด มากกว่าทุกกระทรวงแต่การศึกษาเป็นอย่างไร ผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร ผลการประเมินเป็นอย่างไร เด็กไทยเป็นอย่างไรท่านทราบดี ไปแก้มา

ประวัติ ศาสตร์ชาติไทย ประเทศไทย เด็กไทยวันนี้ไมทราบว่าบางคนนะ ถามว่ามีกี่จังหวัดตอบไม่ได้ ผมไม่เข้าใจ มี 76+1 กรุงเทพมหานครไม่รู้ไม่เข้าใจและมีที่ท่องเที่ยวที่ไหนต่างประเทศไปโน้นไปนี่ ถามว่าเมืองไทยมีมรดกโลกไหม ไม่ทราบ แล้วมันเป็นคนไทยได้อย่างไร แล้วใครบกพร่อง เวลาไปสอบสัมภาษณ์ ไปต่างประเทศหรือไปเรียนต่างประเทศ เขาบอกให้นักศึกษาต่างประเทศเขียนประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของแต่ละชาติ พี่ไทยเขียนไม่ได้ เพราะไม่รู้ ไม่รู้จะเขียนยังไงประเทศไทยเขียน 3 บรรทัด เพราะไม่รู้เลยไม่เคยสนใจ นั้นเป็นความบกพร่องของกระทรวงศึกษาธิการ ท่านต้องให้เขารู้ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของเราเป็นไปเป็นมาที่ไหน ถ้าเราไม่รู้ตัวเราว่ามาจากไหน เราจะรู้ว่าเราจะทำอะไร ทำอะไรให้ประเทศไทยดินแดนผืนนี้ที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างมาแล้ว ท่านต้องรู้บรรพบุรุษของท่านหรือพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ทำอะไรมาบ้าง ความเป็นมาที่ยาวนานตั้งหลายร้อยปีตั้ง 4 ยุค 4 สมัย มีการต่อสู้รบรากันมากมาย เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นการต่อสู่เพื่อรักษาผืนแผ่นดินไทย กับรอบ ๆ บ้านอะไรก็แล้วแต่เป็นประวัติศาสตร์ ไม่ใช่นำมาทะเลาะกัน ต้องเรียนรู้บอกว่าถ้าเรียนไปแล้ว เดี๋ยวจะขัดแย้งก็สอนให้เขาไม่ขัดแย้งสิ สอนว่าอย่าให้เกิดขึ้นอีก สอนว่าต้องเป็นมิตรกันอย่างไร แต่ต้องรู้ต่างชาติเขาก็สอนกัน วันหน้าผมติดตามสิว่าเราไปเขียนประวัติศาสตร์ต่างประเทศจะเขียนได้หรือไม่ เด็กไทย อาย อายเขานะ บางประเทศเขาเพิ่งเกิดมาในไม่กี่ปี ไม่กี่สิบปีเขาเขียนเป็นหน้า ๆ ผมได้รับรายงานมาคนไทยเขียนไม่ได้เลย มีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นพันปีอยู่แล้ว ฉะนั้นถ้าท่านรวบรวมความรู้เหล่านี้ได้ที่ท่านเคยเรียก สปช. ของท่านสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ผมเห็นหนังสือพวกนี้เขียนเรื่องประวัติศาสตร์ชาติไทยเขียน 3 บรรทัด สิ่งที่พระมหากษัตริย์ทำ 2 บรรทัด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเป็นผู้ที่กู้ชาติไทยเมื่อวันนี้พุทธศักราช (พ.ศ.) นี้จบ 2 บรรทัด สมัยเด็ก ๆ ผมท่องทุกคนท่องหมด ท่านมาอย่างไรเล็กจนโต ทรงต่อสู้อะไรอย่างไร เราก็ภูมิใจ เราดีใจ วันนี้ก็เลย พันกันไปหมดพันกันไปทั่วหมด เมื่อสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ทรงทำสงครามเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินไทย วันนี้พระมหากษัตริย์ขอเราก็ต่อสู้ทำสงครามกับความยากจน สมัยก่อนท่านไปพัฒนาที่ดิน ที่ทำกิน ทั้งน้ำ ทั้งพืช ทั้งปลา ทั้งอะไรต่าง ๆ เพื่อให้มีที่ทำกินเพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาตินั้นไงคือการทำสงครามของ สถาบันพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ความยากจนไม่ใช่ว่าทำสงครามกับประชาชน ไม่ใช่ไปหาว่าใครทำ

การเขียนเรียงความ การร่างหนังสือ การสรุปความย่อความ ทำไม่เป็น เขียนหนังสือไม่เป็น วันหลังผมจะให้ตรวจสอบ เรียกมาตรวจสักทีที่ว่าเก่ง ๆ จะเขียนเรียงความได้ทันผมหรือไม่ เขียนหนังสือทันผมหรือไม่ ก็ไม่ใช่ผมเก่งแต่ผมฝึกการเรียนรู้ด้วยตัวเอง เขียนหนังสือให้เร็ว อ่านหนังสือให้เร็วจะได้เก็บบรรจุข้อมูลอะไรได้มากหัวสมองก็มีมากมาย สมองมีไว้ใช้ไม่ได้มีไว้เก็บ มีส่วนหน้า ส่วนซ้าย ส่วนขวา หน้าหลังมีการบังคับควบคุมแต่ละอย่าง มีความสลับซับซ้อน ถ้าไม่ใช้ก็จะเล็กลงไปเรื่อย ๆ ไม่มีประโยชน์ หัวโตซะเปล่าไม่มีสมอง สมองมีไม่ได้ใช้อีก เพราะฉะนั้น ต้องสอนให้เขาต้องเตรียมการให้เขา มีข้อมูลให้เขาอย่าย่อมากนัก ความรู้ประวัติศาสตร์ พระมหากษัตริย์ 2 บรรทัด มันจะไปเกิดความภาคภูมิใจได้อย่างไร รู้ความเป็นมาของตัวเองได้อย่างไร ต้องแก้ไขนะครับ การคิดเลขในใจเหมือนกัน ไม่มีเท่าที่ทราบไม่มีนะ มันทำให้รู้จักการคิดเร็ว ไม่ได้จะเอาคิดเลขไปใช้อย่างไรไปใช้ไม่ได้ใช้หรอก ฝึกสมองให้ทำงานได้คล่องตัวได้มากขึ้น ถ้าท่านไม่หัดคิดก็จะคิดไม่เป็น พอคิดสั้น ๆ คิดยาว ๆ คิดไม่ได้ปวดหัว คิดสั้น ๆ พอแล้วจบ การทำแผนงานโครงการทำสั้น ๆ ดีกว่าของเก่ามีปัญหาแก้ไม่ได้ ทำเรื่องใหม่ดีกว่า ไอ้เรื่องเก่าก็ไม่ได้แก้ เรื่องใหม่ก็ทำไม่เสร็จก็เป็นอยู่แบบนี้ ท่านต้องเริ่มตั้งแต่เด็ก ๆ ให้เขาคิดให้เป็น คิดขบวนการคิด มีวิสัยทัศน์และกำหนดว่าจะทำอย่างไรได้ รู้จักคำว่า ทำ Road Map ได้ไหม วางอนาคตตัวเองได้ไหม วิเคราะห์ตัวเองได้ไหม ว่าเป็นเด็กแล้วโตขึ้นจะเป็นอะไร อยากเห็นประเทศชาติเป็นอะไร เราต้องวางยุทธศาสตร์ชาติให้ได้ก่อนเด็กต้องรู้ ถ้าเด็กไม่รู้เขาก็ไม่รู้ว่าจะทำอะไรต่อจากนั้น เขาเพียงเดี๋ยวเรียนหนังสือจบ หาเงินหารายได้ เลี้ยงครอบครัวมีลูกมีเต้า ตาย มีแค่นั้น คนจนก็พยายามจะรวยอะไรที่ถูกก็ทำ ไม่ถูกมีเงินก็ทำถูกนี่จิตสำนึกมันไม่เกิด ท่านต้องทำให้ได้ ตั้งแต่เด็กจนโต

วันนี้เห็นมีเรื่องการรับจ้างทำเอกสารวิจัย ผมเห็นในสื่อไม่รู้จริงหรือไม่จริง ในเว็บไซต์ก็มีการโฆษณาทำการบ้าน การทำการบ้านเด็กเล็กก็มี ทำเอกสารวิจัยก็มี เอกสารวิจัย 3,000 บาท ทำการบ้านตามระดับไม่แพงมากนั้น ราคา 200 เกิดขึ้นได้อย่างไรในประเทศไทย แล้วเด็กจะรู้เรื่องไหม เด็กก็มี ใครมีสตางค์ก็ไปจ้างเขา ผมไม่ได้หมายความทั้งหมดนะ มีกิจกรรมอย่างนี้ได้อย่างไร กิจการขายในโซเชียลมีเดียได้อย่างไร ใครควบคุม ต้องไม่มี ถ้ามีอีกหน่อยก็ไม่ต้องทำเองจ้างเขาหมด ใครมีสตางค์ก็จ้างแล้วก็จบมา โรงเรียน มหาวิทยาลัย วันนี้มีมหาวิทยาลัยในระบบกับนอกระบบไม่เท่ากัน คุณ ลูกจ้าง พนักงานไม่เท่ากัน ข้าราชการไม่เหมือนกัน ผลตอบแทนไม่เท่ากันก็มันมี แล้วใครไปคิดมาในระบบนอกระบบ ถ้านอกระบบออกไปแล้วรัฐก็ไม่ต้องดูแลมากนัก ท่านต้องหาทางดูแลให้ได้พัฒนาให้คนมาเรียนรู้และดูแลตัวเอง วันนี้ท่านบอกว่ารัฐต้องดูแลทั้งหมดทั้งในระบบและนอกระบบ แบบนี้จะไปอย่างไรผมก็นึกไม่ออก ไปทบทวนใหม่ในระบบนอกระบบ และนอกระบบเหมือนกันมีเยอะไปหมด ตอนแรกมีเยอะมากผลิตนักศึกษาดีครับดี เป็นสิ่งที่ทำให้คนจบปริญญาแต่ถามว่าเขาทำงานแค่ไหน มีงานทำไหม ตอนนี้ 53% ตกงานทั้งหมด จบมาท่านต้องไปเรียนวิชาชีพ ไปดูว่าผลิตตอนปีเท่าไร มีงานไหม ผมเห็นเทคโนโลยีวิทยาลัยต่าง ๆ เขามีงานทำเลย บริษัทเขาไปรอรับได้เลย จบมามีงานทำแน่นอนคนก็ไปเรียนกันมากมาย เราไม่ได้ส่งเสริมเรื่องพวกนี้ ไม่ได้สร้างความเข้าใจไม่ให้ข้อมูล เด็กก็ไปเรียนแต่ปริญญาหมดอย่างนี้ไม่ได้ ถ้าไปเรียนวิชาชีพอาจจะไม่ได้ปริญญาไปหาว่าทำอย่างไรเมื่อเขาจบแล้ว ไปทำงานสามารถเรียนเพิ่มเติมได้ปริญญาอีก ทำไมไม่ไปคิดให้เป็นระบบ ให้เขาไปคิดเองทำไม เราวางแผนไว้ ให้เขากลับมาอย่างไรจะไปต่อตรงไหน บางมหาวิทยาลัยบอกอะไรจ่ายครบจบแน่ เป็นไปได้อย่างไร แบบนี้ก็เละเทะไปหมด รัฐบาลต้องดูแลรัฐบาลเป็นทุกอย่างเลย

การบริหารจัดการระบบไอทีเพื่อการศึกษา

คือการใช้ระบบที่ทันสมัย การใช้ระบบคมนาคม นอกจากการเสริมอุปกรณ์ให้แล้ว ต้องคุ้มค่า เตรียมบุคลากรที่มีความรู้ ทั้งเทคนิค ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และระบบเครือข่ายให้รู้เรื่องจริง ๆ ไปควบคุมก็เสียอีก พอเสียก็เลิก ก็เป็นแบบนี้มาโดยตลอด ต้องเตรียมให้พร้อมและให้ความสำคัญในการพิจารณาเนื้อหา สื่อการสอน ควบคู่กับการพัฒนาครู มากกว่าปีหน้าขออุปกรณ์มาใหม่ให้ดีขึ้น เร็วขึ้นบางอย่างอุปกรณ์ไปหน้าแล้ว เจ้าหน้าที่ ครู ตามไม่ทันเลย จะเอาของใหม่ตลอด ทำของเก่าให้ได้ รักษาให้ได้ พัฒนาไปให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เหมาะสมกับกำลังเงิน เหมาะสมกับเด็กนักเรียน เอาแค่นี้ก่อนได้ไหม ซื้อใหม่ตลอดไม่ไหวหรอกปีนี้กี่พันล้านไม่รู้ที่ไปเตรียมทำเรื่องนี้ เรื่อง IT เพราะฉะนั้นต้องเหมาะสมกับเด็กในหลายช่วง ตั้งแต่เด็กเลยต้องเรียนรู้คอมพิวเตอร์ตั้งแต่เด็ก จะรู้ได้อย่างไร ก็ได้ประโยชน์แต่คุ้มค่าหรือไม่ ถ้าเรามีเงินมากมาย ตกลง แจกได้น่าจะให้เขาได้ แต่วันนี้ผมว่ายังไม่ได้ประโยชน์ ได้แต่ได้น้อยเกินไป

การบูรณาการให้การศึกษาทางไกล ระบบการสอนจากดีวีดี ระบบ e-learning ไปดูว่าคืออะไร ทุกคนสามารถเรียนรู้ด้วยตัวเองได้ มีระบบวัดผลผ่านไม่ผ่าน ผ่านกี่คนอย่างน้อย อย่างน้อยทุกคนก็มีโอกาสเข้ามาศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองในสิ่งที่เพิ่มเติม ในสิ่งที่เป็นพื้นฐานอันนี้ก็ไปดำเนินการด้วย การจัดครู บุคลากรรับผิดชอบระบบ IT ประจำโรงเรียน พูดไปแล้วต้องให้เหมาะสมเป็นการเฉพาะ และรู้จริงของไม่เสีย ไม่พังอีก โรงเรียนที่อยู่ห่างไกลซึ่งจะกำหนดมาตรฐานทำได้ยาก เพราะไกลครูก็น้อยยากลำบาก ระบบ IT จะช่วยได้บ้างในการพัฒนาและส่งเสริม

การจัดทำ Smart Classroom เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ให้กระทรวงศึกษาธิการไปพิจารณา ก็ต้องพิจารณาเรื่องเนื้อหา การเรียน การสื่อ การสอนเป็นลำดับแรก โดยท่านไปประยุกต์มา เนื้อหาหรือสื่อการสอนในโครงการศึกษาทางไกล ผ่านดาวเทียม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่หัวหินมีอยู่แล้วนำมาประยุกต์สิครับ ท่านบอกอันนี้ตรงนี้ใช้ไม่ได้ ไม่ตรงกับตรงนั้น เขาเรียกว่าประยุกต์ ถ้าเกิดนี้ไม่เหมาะเริ่มไม่ได้เหมือนคนจัดเสื้อตัวเดียวทั้งหมด ทั้งอ้วน ทั้งผอม ใส่ไม่ได้ ไม่ได้ 10 คนใส่เสื้อตัวเดียวกันไม่ได้ ท่านต้องนำมาประยุกต์ เพราะฉะนั้นไปปรับปรุงให้เหมาะสม บางคนบอกไม่ยอมรับ ไม่ใช่แบบนี้ไม่ได้ ไม่เข้าใจกันคนละพื้นที่ แบบนี้ก็ไม่ต้องทำอะไรเลยดีกว่า เพราะฉะนั้นท่านต้องพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ให้หน่วยงานรับผิดชอบด้าน IT สามารถนำระบบ IT มาสนับสนุนการศึกษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และต้องมีการลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เกี่ยวพันทั้งสิ้น

ศูนย์ดำรงธรรม ของกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการ ให้เร่งรัดดำเนินการให้ทัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการแก้ปัญหาภาคเกษตร การเกษตร ราคาพืชผล มาตรการป้องกัน ช่วยเหลือ แก้ไขความเดือดร้อน โดยเร่งดำเนินการในพื้นที่ ทำให้ได้โดยเร็ว สร้างความเข้าใจ ถ่ายทอด นโยบาย แนวทาง คสช. ให้เขารับทราบ คสช.หรือรัฐบาลต่อไปให้ทราบว่า รัฐบาลกำลังทำอะไรอยู่ ถ้าเขาไม่รู้ เขาก็ร้องเรียน เขาก็ดิ้นรน น่าสงสารเขา แก้ให้เขาสร้างให้เขา อดทนเดี๋ยวจะเกิดนี้เกิดนั้น ทุกอย่างใช้เวลา กรุงโรมไม่ได้สร้างวันเดียว ประเทศไทยเหมือนกัน สร้างวันเดียวปีเดียวไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลาในการแก้เป็นระยะ ๆ ให้เขาทราบอย่างใกล้ชิดต่อเนื่องในทุกเรื่อง

เรื่องการสาธารณสุข ต้องดูว่าจะทำอย่างไร จะดูแลคนทุกเพศทุกวัยได้มากน้อย ตามสัดส่วน ตามขีดความสามารถ ท่านต้องหามาตรการว่าจะดูแลคนส่วนใหญ่ทุกวัยได้อย่างไร มากน้อย ตามสัดส่วน ตามกำลังขีดความสามารถ ประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ ทำอย่างไร คนรวยจะช่วยเสียสละให้คนรายได้น้อย รัฐไม่ต้องบังคับ พอบังคับก็ไม่ได้อีก เพราะฉะนั้นใครมีสตางค์สมัครมาเลย บอกว่าผมสละสิทธิ์ครับ ยอดเท่าไรกี่ล้านไม่รู้ 20 ล้าน 30 ล้าน อาจจะมีคนสละสิทธิ์ไม่ยอม ไม่ใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลรัฐ 30 บาท สัก 3 ล้าน 5 ล้านคน ก็นำเงินที่สละใน 5 ล้านมาใส่ให้คนที่ไม่มีมาก จำนวนก็จะมากขึ้นนี้ ต้องทำแบบนี้นะ ถ้าเราหาเงินมาก ๆ ขึ้น ไปใส่เข้าไปอีก ใส่ไปอีกแล้วเท่าไรถึงจะพอ แล้ววันนี้คนสูงวัยมีมากขึ้น ๆ สุขวิทยาอนามัยดีขึ้น คนก็อายุยืนและคนสูงอายุต้องมีเบี้ยสูงขึ้น คนจน Subsidize รายได้ Subsidize ผลิตผลทางการเกษตร การรักษาสุขาภิบาลก็ต้องมากขึ้น จะไปนำเงินมาจากที่ไหนผมก็ยังนึกไม่ออก นึกไม่ออกช่วยคิดหน่อยแล้วกัน ต้องช่วยกันเสียสละและขึ้นบัญชีเสียสละ ตัดยอดกันไป กระทรวงสาธารณสุขลองดูนะ ลองประกาศไป ถ้าทำก็ได้บุญนะครับคนรวยก็ได้บุญ ชาติหน้าก็รวยอีก ชาตินี้ชาติหน้าตามหลักศาสนาพุทธ ศาสนาอื่นเขาก็สอนไปแล้ว ถ้าเกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา เรียกร้องต่อสิทธิ์ไม่มีหน้าที่ ก็ไปไม่ได้ คนไทยต้องช่วยคนไทยด้วยกัน

ทุนการศึกษา วันนี้ก็ยังมีเหมือนเดิม ที่ลดเงินในงบประมาณไป เพราะไปนำเงินในกองทุนอื่นมาโปะเข้าไปอีก ทั้งของเก่าก็ยังไม่ได้คืน ของใหม่ก็ต้องให้ไป จำนวนคนกู้ก็มากขึ้น แล้วจะทำอย่างไรไม่ได้ไปลด ไม่ได้ไปตัด กองทุนอื่น ๆ ก็ต้องไปพิจารณาให้เหมาะสม ยังไม่ไปตัดอะไรสักอย่าง เพียงแต่ชะลอบางเรื่องที่มีปัญหาจากการตรวจสอบสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) บางกองทุนไม่ชัดเจน บางกองทุนไม่เรียบร้อย ก็ต้องไปแก้ไข อย่าไปปลุกระดมกันอีกเลย ว่าเราจะไปตัดตรงโน้นตัดตรงนี้ ประชาชนจะเดือดร้อน ที่ผ่านมาผมเห็นบางเรื่องประชาชนไม่ได้หรอก ไม่รู้ไปอยู่ไหน ยังไม่รู้เลยไปแก้กันมาไปสอบกันมา ผมเห็นบางเรื่องประชาชนไม่ได้ ไม่รู้ไปอยู่ไหน ยังไม่รู้เลยไปแก้กันมาไปสอบกัน

เรื่องทุนการศึกษาคนรวยอีก คนรวยมีสตางค์บางทีเป็นลูกข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อะไรก็แล้วแต่หรือกลาง ๆ มีเงินมากู้เงินอีก แล้วอย่างนี้คนจนจะเอาที่ไหนเหลือ เพราะมันใกล้ระบบอยู่แล้ว ก็ทำง่ายไม่ได้ต่อไปนี้อย่าให้เกิด

เรื่องพลังงาน รัฐวิสาหกิจ มีการปรับปรุงหลายอย่าง บางคนบอกไม่เห็นทำอะไรเลย ก็ตั้งคณะกรรมการกิจการนโยบายไป ตั้งซุปเปอร์บอร์ดไป กำหนดยุทธศาสตร์และแผนงาน แก้เรื่องบอร์ด แก้เรื่องระเบียบ แก้เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน รีบแก้ไป เร่งด่วน แต่ถ้าอยู่หลายมิติด้วยกัน ที่เกี่ยวพันเรื่องโครงสร้างราคา โครงสร้างการผลิต การจัดหาแหล่งพลังงาน พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน แต่ละเรื่องมีเป็น ร้อยแปดพันเรื่อง จากเรื่องเดียว ท่านจะลดราคาพลังงานเรื่องเดียว พันกันอีก 15 เรื่อง ในอีก 15 เรื่อง แตกไปอีกเป็น 100 เรื่อง แล้วท่านก็ใจร้อน จะให้ผมทำเร็ว ๆ แล้วจะทำได้ไหม ก็เถียงกันไปเถียงกันมา นี่ผมสั่งไปแล้ว ชี้แจงกันให้ได้ ถ้าไม่ได้มา Debate ด้วยกัน อยู่ที่เหตุผลใครดีกว่ากัน น่าเข้าใจกว่ากัน ถ้าไปเชื่อตามที่เขียนอยู่ตามเว็บไซต์ ตามโซเชียล ก็ตีกันตายกันทั้งนั้น ทุกคนต้องฟังเหตุผล และต้องเข้าใจกัน ด้วยเหตุด้วยผล อย่าไปทะเลาะเบาะแว้ง เป็นไปไม่ได้บางเรื่องไม่ใช่ข้อเท็จจริง นี่ผมก็โดนเล่นงานอยู่เหมือนกันหาว่าผมไปเกื้อประโยชน์ให้บริษัทโน้น บริษัทนี้ เขาเป็นญาติผมหรือไม่ ผมไมได้กับใครสักคนไม่รู้จัก ผมก็ซื้อน้ำมันแพงเหมือนท่านเวลาที่ใช้รถส่วนตัว ไม่ใช่โทษกันไปโทษกันมาไปหาทางแก้มา ใจเย็น ๆ เดี๋ยวต้องเข้าสภาปฏิรูปไปดูว่าจะทำอย่างไร จะหาจากที่ไหนจะทดแทนด้วยอะไร จะผลิต จำหน่ายอย่างไร ผลประโยชน์ตอบแทนรัฐอยู่ที่ไหน เอกชน ประชาชน จะผู้ถือหุ้นอย่างไร ถ้าอะไรเป็นของบริษัท ถ้าจะกลับเป็นของรัฐก็ต้องหาเงินไปซื้อหุ้นมาให้มากขึ้น ๆ จนกลับมาเป็นของรัฐไปดูใหม่ สิทธิประโยชน์คณะกรรมการก็ลดไปแล้ว บางอย่างต้องให้ความเป็นธรรมเขาด้วย คณะกรรมการไม่ใช่เขาทำอะไรได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เขาไม่ได้มองว่าเขาไปโกงหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นต์เพียงแต่ว่าไม่ได้มี 45 ปี ตรงโน้นตรงนี้ที่จะมีโอกาสที่จะรั่วไหลหรือไม่เข้าใจ ต้องไปอธิบายกันเองให้เข้าใจ ต้องเห็นใจว่าคณะกรรมการทุกกรรมการบอร์ดผมมีกฎหมายกว่า 20 ฉบับ แต่จะทำอย่างไรเหล่านั้นจะควบคุมให้มีประสิทธิภาพไปว่ามา ไปแก้ในกรอบปฏิรูปให้ชัดเจนขึ้น วันนี้แก้เร่งด่วนไปก่อนแล้ว

เรื่องพลังงาน เรื่องน้ำ เรื่องทั้งหมดฟังเวลาที่ผมพูด ปัญหาความไม่เข้าใจของประชาชน ความเดือดร้อนของประชาชน ทำให้ทุกอย่างถูกบิดเบือน ถูกคนนำไปใช้ประโยชน์ ต้องใช้เวลาและวิธีบริหารจัดการที่โปร่งใส และเป็นธรรม แยกให้ออกว่าอะไรเป็นของรัฐ เอกชน อะไรที่ผสมกัน เราจะเข้าไปถือหุ้นเพิ่มอย่างไร เราจะนำกลับมาเป็นของเราได้อย่างไร ไม่ใช่จะให้ คสช. ไปยึด การใช้อำนาจพิเศษไปยึดมา ไม่น่าจะได้ อย่าโยนภาระหลักนี้มาให้ คสช. เพราะเราทำหน้าที่ตามกฎหมายกฎหมายพิเศษทำเพื่อให้การแก้ไขปัญหานั้นได้โดยเร็วเท่านั้น เราไปบิดเบียดอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น งวดหน้าก็มีปัญหาอีก เพราะฉะนั้น เราก็เป็นห่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องความมั่นคงเรื่องพลังงาน จะต้องยั่งยืนสืบไป ในส่วนสถานการณ์ภายนอกยังคงความผันผวนตลอดเวลาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลทางด้านเศรษฐกิจสังคม จิตวิทยา การสู้รบ ความมั่นคงมีทั่วโลกอยู่ในขณะนี้

เรื่องพลังงาน เราไปดูแลทั้งหมด ทั้งพลังงาน ขนส่ง บริการ ที่ยังไม่มีประสิทธิภาพ ต้องได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ได้รับความพอใจจากประชาชน ผมพูดไปแล้วหลายเรื่องโรงสร้างยุทธศาสตร์ นโยบายรัฐ วิธีดำเนินการ ผลประกอบการ การฟื้นฟู การเตรียมการเรื่องการปรับราคา การลงทุนใหม่ ทุกอย่างไม่สามารถสั่งได้ในครั้งเดียว ผมพูดมาก็ยังเหนื่อยเลย ถ้าสั่งด้วย ทำด้วยคงเหนื่อยกว่านี้ คนนั่งฟังอาจจะเห็นว่าไม่มีอะไร ราคาน้ำมันไม่ลงสักที ถ้าคิดแค่เท่านี้คงไม่ต้องทำอะไรแล้ว ไปไม่ได้หมด ผลผูกพัน ต้องเริ่มแก้ไข ค่อย ๆ เริ่มแก้ไขไป ภาษีเหมือนกันตอนนี้ เมื่อไหร่จะปรับภาษีเดี๋ยวปรับมาอย่าบ่น ปรับมาต้องมีคนได้ คนเสียมาก คนเสียน้อย ผมบอกว่าให้เป็นธรรมกับคนที่มีรายได้น้อย ไปคิดมายังไม่เกิดอะไร ทั้งสิ้น เขาแค่คิดเป็นแค่ข้อมูลเสนอมา จะทำไม่ต้องโน้น ครม. โน้น สปช. โน้น สมช. (สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ) มาตีกันแล้ว มาเขียนในสื่อ ในอะไรต่าง ๆ มีวิพากษ์วิจารณ์ บางอย่างคุยอยู่ในห้องไปได้อย่างไรผมยังไม่ทราบเลย บางเรื่องเป็นเรื่องลับ บางเรื่องเป็นเรื่องที่ยังไม่ดำเนินการ บางเรื่องยังไม่สั่งการ เป็นเรื่องหารือ ออกไปแล้วว่าจะไปทำโน้นทำนี่ ไป ด่ากลับมาอีกว่า คสช. ไม่ทำอะไรไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจอีกกลายเป็น คสช. ไม่เข้าใจ ก็เหนื่อยใจเหมือนกัน บางคนบอก คสช. มีอำนาจล้นฟ้าทำไมไม่ทำ ยึดมาเลยเป็นของเราได้ทั้งหมด อำนาจพิเศษไปยึดมา ไปยึดท่อ ยึดทาง ยึดบริษัท ยึดมาเป็นของรัฐทั้งหมด ไปดูใหม่ว่าเป็นของใครอะไรอย่างไร ผมไม่ได้เข้าข้างใคร ไปเถียงให้จบก่อน ถ้าท่านเถียงกันไม่จบ ผมก็ทำไม่ได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นขอความร่วมมือ ความเข้าใจ อย่าเพิ่งไปวิพากษ์วิจารณ์เสียหาย

ในเรื่องการประชุม เสวนา วิพากษ์วิจารณ์หลายคณะ ผมไม่ได้ไปห้าม จนไม่สามารถกระดิกไม่ได้ แต่ท่านไปรวมสัมมนาในที่ลับหรือไปการประชุมทางการเมือง ประชุมแนวทางต่อต้าน คสช. ผมว่าไม่ถูก ท่านจะทำอะไรมาบอกผม ขออนุญาตมา ผมจะพิจารณาให้ บางคนแอบไปประชุมที่โน้นที่นี่ บอกว่ารอ คสช. ขัดขาตัวเองล้มไปก่อนแล้วค่อยมา ประชาชนเตรียมให้พร้อมไว้ ผมว่าไม่อยากจะไปคิดแทนท่าน บางคนเป็นอดีตข้าราชการ อดีตนักการเมือง อดีตนักวิชาการที่เคยมีปัญหาหลาย ๆ ด้านกฎหมายพวกนี้ก็พยายามที่จะยุ ผมว่าไม่รู้จะทำไปทำไม ซึ่งตัวเองก็มีคดีความมากมาย แต่ยังจะไปให้คนอื่นเขาเชื่ออีก ผมพูดแบบนี้ท่านไม่เชื่อก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร

ขอความร่วมมือจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) อบจ. (องค์การบริหารส่วนจังหวัด) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ท่านมีความสำคัญที่สุด ท่านใกล้ประชาชนที่สุด ผมพูดหลายครั้งแล้ว ช่วยกันนำพาประเทศชาติ ประชาชนอย่าไปรวมกลุ่มมาประท้วงอีก คสช. เรื่องนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย บัดนี้กำลังจะปฏิรูป แล้วใครไปบอกว่าจะไปยึดผมพูดมาหลายครั้งแล้ว ยังไม่เคยคิดเลย โน้นปฏิรูปไปว่ามา ตำรวจจะแก้อย่างไร โน้นปฏิรูปไปแก้มาโครงสร้าง จะให้ผมแก้โครงสร้างทั้งหมด โดยคำสั่ง คสช. ฉบับเดียว ผมทำไม่ได้ ผมก็แก้แต่ระเบียบบางอย่างให้ง่ายขึ้น ให้ทันสอดคล้องกับสถานการณ์ ผมมีแค่นั้น ท่านบอกอยากให้แก้แต่ท่านไม่ปฏิรูปจะทำได้หรือไม่ คสช. ไม่ทำแบบนั้น ไม่ทำให้ เราต้องพูดคุย พัฒนาตนเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อบต. อบจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พูดคุยพัฒนาตัวเองอย่างไร ทั้งความคิด ทั้งแนวทาง ทั้งการทำเพื่อ ประโยชน์ส่วนรวม ท่านต้องสอดคล้องกับภูมิภาค ไม่ใช่ว่าภูมิภาคจะไปยุบท้องถิ่น ท้องถิ่นจะยุบภูมิภาคและคงไม่ต้องมีอะไรแล้ว ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น เขาตั้งไว้สอดคล้องกันอยู่แล้ว บริหารไล่กันมาอยู่แล้ว ถ้าท้องถิ่นมาเล่นกับท้องถิ่นก่อนก็มีเงินท้องถิ่นไปแล้ว อบต. ต้องไปสร้างว่า 1 ปี ปีนี้ท่านจะสร้างอะไร ต้องการซ่อมโรงเรียน ต้องการซ่อมถนนกี่สาย ต่าง ๆ ถ้าท่านคำนวณว่าอะไรที่เป็นของเก่ายังสร้างไม่เสร็จก็ไปทำปีที่ 2 อะไรที่ต้องสร้างใหม่ทำใหม่ ท่านรู้ไปทำปีที่ 3 นี้คืองบประมาณที่ท่านมีอยู่ สถานพยาบาล ตลาดนัด ตลาดกลาง ท่านก็ไปคิดไปดูแลประชาชนให้มีที่ทำกิน ที่อยู่ที่กินเขา ท่านก็ใช้งบประมาณท่านที่มีอยู่ ไม่ใช่ไปทำอะไรที่ซ้ำซาก ทำอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์ผุดแล้ว ผุดอีก ซ่อมแล้ว ซ่อมอีกอยู่เท่านั้น และไม่มีอะไรใหม่ขึ้นเลยก็จะเน่าอยู่แบบเดิม ถ้าท่านทำแผนแบบนี้ได้ 1 ปี ใช้งบประมาณปีหน้าใช้อะไร ปีต่อไปใช้อะไร ท่านมีแผนระยะยาวว่าใน 5 ปี 10 ปี ในตำบลในหมู่บ้าน ท่านใช้เงินของท่านจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าท่านไม่พอภูมิภาคก็ของบประมาณส่วนกลางมาโปะเข้าไปอีก ในช่องที่ไม่เกิดหรือต้องการให้เกิดเร็ว ท่านต้องไปขอภูมิภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด ก็รู้กระทรวง ทบวง กรม เขาก็ไปช่วยกันนี่อันที่ 2 พออันที่ 3 สุดท้ายถ้าท่านไม่พออีกเดือดร้อน ก็งบกลางรัฐบาลเติมเข้าไปอีก เพราะฉะนั้น มี 3 งบด้วยกัน ท่านจะเอาแต่งบท่านอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะเช็คตรวจสอบถ่วงดุลกันได้อย่างไร

ผมไม่ได้มุ่งหวังจะไปแก้ไข อะไรทั้งนั้น ตอนนี้ ไปว่ามาปฏิรูป ท่านอยากจะเปลี่ยนอยากจะยุบ อยากจะเลิก ใครก็ไม่ว่า ผมก็ไม่เกี่ยวกับท่านรอผลปฏิรูปออกมาทำได้หรือไม่

การลดความขัดแย้ง ฝ่าย อบต. ต้องหยุดให้ได้ทุกอย่างในสภาปฏิรูป 11 เรื่อง คสช. ไม่เคยมีธง ทั้ง สนช. สปช. ไม่เคยมีธงให้ไปจะทำอะไรก็ทำ เราจะรับรักษาสภาพให้ได้ ขับเคลื่อนประเทศไปให้ได้ ท่านไปแก้ไขระยะยาวให้ได้ 1 ปี 4 ปี ของรัฐบาลต่อ ๆ ก็ว่ามา แผนพัฒนาเศรษฐกิจก็ 5 ปี 5 ปี แต่อีกเรื่องว่าจะเอากี่ปี เราต้องการให้ทุกส่วนใช้ความคิด สติปัญญาของคนไทย ร่วมแก้ไขปัญหาในทุกมิติ ใช้สมองทุกส่วนให้ได้โดยเร็ว เป็นความหวังของพวกเรา ท่านต้องช่วยเราตรงนี้

เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือปรับย้ายในกองทัพ ตำรวจ วิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอดเสียหาย และเราไม่ตรงไม่เห็นเขาพูดอะไร ขอโทษครับ ขอโทษค่ะ ไม่เห็นมีเรามีหลักการ จะถูกจะผิดจะดีไม่ดี เขาพิจารณากันหลายคนไม่ใช่ใครจะไปชี้ตรงโน้น ตรงนี้ได้ มีระเบียบวินัย ทหาร ตำรวจต้องมีวินัย เราไม่เคยไปแย่งชิงกัน แย่งชิงตำแหน่งผู้บัญชาการ (ผบ.) แย่งกันไม่ได้ถ้าแย่งต้องตาย ไม่แย่งต้องฟัง สั่งไปแล้วเซ็นต์ไปแล้ว ประชุมไปแล้วประชุมไปแล้ว อนุมัติไปแล้วก็จบแค่นั้น ปีหน้ามาต่อสู้กันด้วยเรื่องการทำงานใหม่ ทำงานให้ผู้บังคับบัญชาเห็น ให้นายเห็น เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องมีกติกาทั้งสิ้น อย่าไปเขียนตามความเห็นส่วนตัว เป็นตัวเองตั้งแบบนี้ แบบนี้พวกเราไม่มี ผมไม่เคยบอก ถ้าผมมีพวกป่านนี้ไม่ได้ ผมไม่ใช้คำว่าพวก ผมใช้คำว่าเป็นครอบครัว เราเป็นครอบครัวเดียวกัน ทหารคือครอบครัวทหาร ตำรวจคือครอบครัวตำรวจ ก็เป็นสังคมระหว่างครอบครัวทหารตำรวจก็ต้องมารู้จักต้องมาเจอกัน ทำงานด้วยกันไปได้ ฉะนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ฉะนั้นอย่าไปพูดมากเสียหาย ทุกอย่างมีระเบียบข้อบังคับกฎหมาย วินัยต่าง ๆ มากมาย

ขอบคุณนะครับ ก่อนจะถึงเวลานี้ผมเหนื่อยมาก พูดก็เหนื่อย ทำก็เหนื่อย ขอบคุณที่ทุกคนกรุณาฟังผม แต่จะเชื่อมั่นหรือไม่ ต้องคอยดูกันต่อไป แต่ขออย่ามาต่อต้านเรา อะไรทั้งสิ้นเราก็รู้ทั้งหมด แต่เรารู้ไม่ใช้ความรุนแรงอะไรกับท่าน ถ้าไปใช้กฎหมายมาก ๆ ก็น่าเบื่อท่านอาจจะไม่เบื่อแต่ผมเบื่อ เบื่อการใช้กฎหมายมากทำให้สังคมมีปัญหาหมด เป็นเรื่องของท่าน ต้องพิจาณา ใคร่ครวญในความเป็นจริง อย่ามองโลกด้านเดียว ฟังใครอย่างเดียว บางอย่างต้องใช้ทั้งรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ในการทำงาน ในการบริหารราชการ แต่ต้องใช้หลักธรรมาภิบาลในการแก้ไขปัญหาเดินหน้าประเทศไทยต่อไป

ขอความร่วมมือเรื่องการปฏิรูปนะครับ ผมไม่ต้องการบังคับใคร ผมชี้แจงเหตุผลความจำเป็นไปแล้ว หากทุกคนเป็นคนไทย ไม่ว่าจะกลุ่มใด พวกใด ควรจะเข้ามาสมัครเข้ามาทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ผมเรียนแล้วว่าจะไม่ไปก้าวก่าย ในขบวนการปฏิรูป ทั้งสิ้นถือว่าเป็นเรื่องของคนไทยทุกคนต้องช่วยกัน คงมีเท่านี้ที่คุยกับพวกเราใช้เวลานาน พอสมควร คนฟังก็เหนื่อย คนพูดก็เหนื่อย ผมอาจจะพูดเร็วไปบ้าง ช้าไปบ้าง ส่วนใหญ่จะเร็ว พยายามฟังให้ทันหน่อย ผมคิดทั้งหมดและทำให้เร็ว พูดอย่างเร็วยังไม่ทันใจ ท่านแต่บางคนไม่ฟังเลย ติอย่างเดียวก็สวนทางกันหมด


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ