ขณะเดียวกันนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ร้อยละ 44.0 เห็นว่ามีความเป็นได้มากถถึงมากที่สุดที่จะสามารถนำนโยบายในเรื่องดังกล่าวมาใช้ได้จริงในทางปฏิบัติภายในรัฐบาลชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์อีกร้อยละ 42.5 เห็นว่าเป็นไปได้น้อยถึงน้อยที่สุด
สำหรับข้อเสนอเพื่อลดข้อจำกัดในการตรวจสอบคุณสมบัติและพิสูจน์รายได้ของบุคคลผู้มีรายได้ต่ำ ได้แก่ 1.รัฐบาลควรหาวิธีดึงคนทำงานให้เข้ามาอยู่ในระบบแล้วสร้างฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับนายจ้าง ธนาคาร ภาคธุรกิจ และสรรพากร 2.ในทางปฏิบัติสามารถตรวจสอบได้ยาก ไม่มีผู้รับรองรายได้ ขาดฐานข้อมูลโดยเฉพาะเกษตรกรและผู้ทำงานรับจ้างอิสระ นอกจากนี้จะทำให้ต้นทุนในการตรวจสอบสูงโดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับงบประมาณที่โอนให้คนจน และ 3.การตรวจสอบควรอยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานท้องถิ่น หรืออาจมีทหารร่วมด้วยถ้าจำเป็น ต้องมีวิธีป้องกันการหลีกเหลี่ยงหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ รวมถึงต้องมีบทลงโทษที่ชัดเจนหากจงใจกระทำผิด
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 29 แห่ง จำนวน 66 คน เรื่อง "มาตรการเงินโอน แก้จน คนขยัน" ระหว่างวันที่ 15-25 สิงหาคมที่ผ่านมา