"เห็นด้วยก็ถือว่าเป็นความเห็นด้านหนึ่ง ทาง นปช.ไม่เห็นด้วยก็มีแถลงอีกด้านหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ไม่มีปัญหา ทุกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นได้ ไม่แตกแยก ผมจะทำหนังสือถึง คสช.ขออนุญาตแถลงข่าว จะใช้สิทธิแบบนายสุเทพ หวังว่าจะได้รับสิทธิเช่นเดียวกันกับที่นายสุเทพได้รับจาก คสช." นายจตุพร กล่าว
ส่วนกรณีที่มีสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมากขึ้นนั้น นายจตุพร กล่าวว่า เชื่อว่าขณะนี้ใน สปช.รวมไปถึงแม่น้ำ 5 สายไม่มั่นใจว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ ถ้าผ่านไปถึงประชาชนแล้วถูกคว่ำจะเกิดแรงกระทบมากกว่า สปช.คว่ำเอง จากเดิมที่ว่าเสียงค้านมีไม่ถึง 20 พอตอนนี้บอกสูสีแล้ว ตนเองมองว่ากลุ่มที่จะคว่ำใน สปช.นั้นมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่จะคว่ำโดยบริสุทธิ์ใจเมื่อดูเนื้อหา กับกลุ่มที่จะคว่ำเพื่อรักษาสถานะ
การแถลงข่าวของนายสุเทพถ้ามองทั่วไปก็คิดว่าเป็นการสนับสนุนร่างรัฐธรรมนูญธรรมดา แต่ถ้ามองให้ลึกอาจเป็นข้ออ้างให้ สปช.บางคน อ้างว่าเกรงจะทำให้เกิดความแตกแยกต่อไป แล้วหยิบยกมาใช้เป็นเหตุผลในการให้ สปช.คว่ำร่างเอง ซึ่งส่วนตัวนั้นต้องการให้ประชาชนเป็นผู้คว่ำเอง ให้ประชาชนตัดสิน หาก สปช.ไม่ผ่านร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็ไม่มีสิทธิออกเสียง