สำหรับโครการทุจริตคดีจำนำข้าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ 1. คดีทางการเมือง คือเรื่องถอดถอนซึ่งป.ป.ช. และ สนช. ทำเสร็จเสิ้นกระบวนการนั้นแล้ว 2. การส่งเรื่องฟ้องศาลอาญาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งดำเนินการแล้ว และ 3 การฟ้องทางแพ่ง เพื่อเรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับผิดชอบ
สำหรับในส่วนการฟ้องแพ่ง ทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้นิ่งนอนใจ แต่ต้องใช้หลักนิติธรรม ไม่ใช้อารมรณ์ ต้องใช้หลักกฎหมายดำเนินการ ซึ่งมีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สองฉบับคือ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับความผิดเกี่ยวข้องเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะต้องเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจงเพื่อป้องกันคข้อครหา และป้องกันไม่ให้เสียรูปคดีในอนาคต
นายวิษณุ กล่าวว่า ตามหลักกฎหมายแล้วขั้นตอนแรก จะต้องตั้งกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาสอบข้อเท็จจริงและส่งเรื่องต่อไปยังชุดที่สองที่ คือคณะกรรมการรับผิดทางแพ่ง โดยคดีนี้มีผู้เกี่ยวข้อง 2 กล่ม กลุ่มแรกมีน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ คนเดียว และ กลุ่มที่ 2 มีเจ้าหน้าที่กระทรวงพาณิชย์ 6 คน ส่วนเอกชนที่เกี่ยวข้องแยกฟ้องออกไปต่างหากไม่เกี่ยวข้องกัน ซึ่งทั้งสองชุดนี้เดิมต้องทำให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ก.ย.แต่มีการขอต่อเวลาออกไป เนื่องจากผู้ที่ต้องให้ถ้อยคำขอขยายเวลา หากเสร็จก็จะส่งต่อไปยังคณะกรรมการชุดที่ 2 เพื่อที่จะพิจารณาว่าจะฟ้องใครเป็นเงินเท่าไหร่
อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้น เมื่อกรรมการชุดที่สองพิจารณาเสร็จ ก็จะส่งเรื่องคืนไปยังนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะที่เซ็นตั้งกรรมการสอบ สมมติว่าหากเห็นชอบให้เรียกค่าสินไหมทดแทน ก็ระบุชื่อว่ามีใครบ้าง ทั้งอดีตนายกฯ และ เจ้าหน้าที่รัฐ 6 คน ซึ่งอายุความคดีนี้อยู่ที่ 2 ปี ครบ ก.พ.2560 แต่เชื่อว่าจะเสร็จสิ้นได้ภายในปลายปี 2558 หรือ อย่างช้าต้นปี 2559 ทั้งนี้ ถ้าพบว่ามีบุคคลดังกล่าวมีความผิด รัฐจะไม่ฟ้องแต่รัฐจะสั่งให้ชำระหนี้เหมือนคำสั่งยึดทรัพย์ ตรงนี้ ผู้ที่ทำผิดสามารถไปยื่นอุทธรณ์คำสั่งได้ ซึ่จะไม่กระทบอายุความ ส่วนเอกชนแยกออกไปฟ้องต่างหากแม้อายุความจะน้อยกว่าแค่ 1 ปี แต่ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสอบยกเว้นจะพบความผิดเชื่อมโยงกับสองกลุ่มก็ค่อยเรียกมาสอบเพิ่มเติมได้ ดังนั้นเชื่อว่าจะไม่กระทบอายุความเช่นกัน