เมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่ที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะทำให้อำนาจของนักการเมืองและพรรคการเมืองลดลง" ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.9 “เห็นด้วย" ขณะที่ร้อยละ 20.4 “ไม่เห็นด้วย" ส่วนร้อยละ 18.7 ไม่แน่ใจ
แต่ที่น่าสนใจคือเมื่อถามว่า “เห็นด้วยหรือไม่กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่อาจทำให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง" ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 52.1 ระบุว่า “ไม่เห็นด้วย" ขณะที่ร้อยละ 36.4 “เห็นด้วย" ที่เหลือร้อยละ 11.5
นอกจากนี้เมื่อถามว่า “รับได้หรือไม่ หาก สปช. ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จนทำให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไป" ส่วนใหญ่ร้อยละ 57.3 บอกว่า “รับได้ เพราะบ้านเมืองจะสงบ ไม่มีความขัดแย้ง" ขณะที่ร้อยละ 29.1 “รับไม่ได้เพราะอยากให้มีการเลือกตั้งตามโรดแมป" ที่เหลือร้อยละ 13.6 ไม่แน่ใจ
สำหรับปัจจัยที่ประชาชนใช้ประกอบการตัดสินใจลงประชามติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่คือ ฟังความคิดเห็นของนักวิชาการ (ร้อยละ 40.8) รองลงมาคือ ฟังความคิดเห็นของญาติ/ ครอบครัว (ร้อยละ 25.0) และฟังความคิดเห็นของนักการเมืองท้องถิ่น (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต.) (ร้อยละ 22.7)
สุดท้ายเมื่อถามว่า “หากถึงวันลงประชามติ จะโหวตเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้" ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.4 บอกว่า “เห็นด้วย" ขณะที่ร้อยละ 21.7 “ไม่เห็นด้วย" ส่วนร้อยละ 33.9 ยังไม่แน่ใจ
กรุงเทพโพลล์ ทำการเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปจำนวน 1,021 คน ในช่วงวันที่ 1-3 กันยายน 58