มาตรการที่ 1 การส่งเสริมความรู้และสนับสนุนปัจจัยการผลิตเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยกระทรวงเกษตรจะให้การอบรมอาชีพ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต การส่งเสริมการปลูกพืช ด้านกระทรวงพาณิชย์ จะจัดสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพเคลื่อนที่ไปจำหน่ายในราคาพิเศษให้กับประชาชน การสร้างรายได้เสริมและส่งเสริมเกษตรกรด้านการตลาด สินค้าเกษตร/ผลิตภัณฑ์ชุมชน กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา จะส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีเกษตรเพื่อกระจายรายได้ไปสู่ภาคการเกษตร
มาตรการที่ 2 การชะลอหรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่เกษตรกรมีภาระหนี้กับสถาบันการเงิน เช่น กระทรวงเกษตรฯ จะลดหรือยกเว้นการเก็บค่าเช่าที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน การผ่อนผันการชำระค่าเช่าที่ดิน การชดเชยดอกเบี้ยให้แก่กลุ่มเกษตรกรและสมาชิกสหกรณ์ ขณะที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ขยายระยะเวลาชำระหนี้เดิม และอำนวยการสินเชื่อใหม่เพื่อการลงทุนารเกษตร
มาตรการที่ 3 การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร,
มาตรการที่ 4 การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน,
มาตรการที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ,
มาตรการที่ 6 การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน โดยกระทรวงเกษตรฯขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ การปฏิบัติการฝนหลวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจะพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพืรอการเกษตร,
มาตรการที่ 7 การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
และมาตรการที่ 8 การสนับสนุนอื่นๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือเกษครกรผู้ประสบภัยพิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการฯ พ.ศ.2556, ธ.ก.ส.จัดทำแผนสินเชื่อสนับสนุนเศรษฐกิจชุมชน, กระทรวงวิทยาศาสตร์คาดการณ์สถานการณ์และสถานภาพน้ำ