เนื่องจากตามพ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำว่า นับแต่วันที่ หน่วยงานของรัฐ “รู้” ถึงการละเมิด และ “รู้” ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ก็คือ วันที่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว. คลัง ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ในโครงการรับจำนำข้าว ได้วินิจฉัย ว่า “มีผู้กระทำผิด หรือไม่ เท่าใด” จึงต้องเริ่มนับอายุความ 2 ปี
ดังนั้น เมื่อ พล.อ.ประยุทธ และ รมว. คลัง ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า มีเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำผิด หรือไม่ เท่าใด “ การเริ่มนับอายุความ 2 ปี จึงยังไม่เริ่มนับ เมื่ออายุความยังไม่เริ่มนับ อายุความคดีแพ่งจึงยังไม่ขาดอายุความ”
ทั้งนี้ คดีนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ เพิ่งจะได้ให้ถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรไปเมื่อวันที่ 2 ก.ย. 58 ที่ผ่านมา ซึ่งในการให้ถ้อยคำเป็นหนังสือนั้นได้อ้างพยานบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ แต่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กลับไม่ไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เสียก่อน
ซึ่งในเรื่องนี้ ตาม ข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้องให้โอกาสแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม
ดังนั้น คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้องให้โอกาสแก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม โดยให้มีการไต่สวนพยานบุคคล ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ฯ ในฐานะผู้เกี่ยวข้องได้อ้างไว้แล้วนั้น ให้เสร็จสิ้น ครบถ้วน ก่อนสรุปสำนวน
การที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ไม่ได้ให้โอกาสแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม ซึ่งในเรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีแนวคำพิพากษาไว้แล้ว ว่าเป็นการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ยนรวิชญ์ กล่าวว่า ขณะนี้ทีมทนายความ กำลังรวบรวมพยานหลักฐาน หากเห็นว่าเกิดความเสียหาย แก่นางสาวยิ่งลักษณ์ จะได้ดำเนินการตามกฎหมายทั้ง ทางอาญา และทางแพ่งกับผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ในเรื่องอายุความคดีแพ่ง (จำนำข้าว) ว่า ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 10 วรรคสอง กำหนด ให้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ มีกำหนดอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่หน่วยงานของรัฐรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน คำว่า นับแต่วันที่ หน่วยงานของรัฐ “รู้" ถึงการละเมิด และ “รู้" ตัวเจ้าหน้าที่ ผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน ก็คือ วันที่ พลเอกประยุทธ และ รมว. คลัง ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ในโครงการรับจำนำข้าว ได้วินิจฉัย ว่า “มีผู้กระทำผิด หรือไม่ เท่าใด" จึงต้องเริ่มนับอายุความ 2 ปี
ดังนั้น เมื่อ พลเอกประยุทธ และ รมว. คลัง ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า มีเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำผิด หรือไม่ เท่าใด “ การเริ่มนับอายุความ 2 ปี จึงยังไม่เริ่มนับ เมื่ออายุความยังไม่เริ่มนับ อายุความคดีแพ่งจึงยังไม่ขาดอายุความ"
คดีนี้นางสาวยิ่งลักษณ์ฯ เพิ่งจะได้ให้ถ้อยคำเป็นลายลักษณ์อักษรไปเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา ซึ่งในการให้ถ้อยคำเป็นหนังสือนั้นได้อ้างพยานบุคคล ที่เกี่ยวข้อง ในโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญ แต่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด กลับไม่ไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงให้ครบถ้วน เสียก่อน ซึ่งในเรื่องนี้ ตาม ข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ระบุไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้องให้โอกาสแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม
ดังนั้น คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ต้องให้โอกาสแก่ นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม โดยให้มีการไต่สวนพยานบุคคล ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ในฐานะผู้เกี่ยวข้องได้อ้างไว้แล้วนั้น ให้เสร็จสิ้น ครบถ้วน ก่อนสรุปสำนวน
การที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ไม่ได้ให้โอกาสแก่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ชี้แจงข้อเท็จจริง และโต้แย้ง แสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอ และเป็นธรรม ซึ่งในเรื่องนี้ศาลปกครองสูงสุดได้เคยมีแนวคำพิพากษาไว้แล้ว ว่าเป็นการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย