สำหรับ กรธ.ทั้ง 20 คน ประกอบด้วย 1.นางกีระณา สุมาวงศ์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและสมาชิกวุฒิสภา 2.นางจุรี วิจิตรวาทการ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) 3.นายชาติชาย ณ เชียงใหม่ อดีตสมาชิก สปช. 4.นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 5.นายธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 6.นายเธียรชัย ณ นคร อาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 7.นายนรชิต สิงหเสนี อดีตปแลัดกระทรวงการต่างประเทศ 8.พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม, สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 9.นายปกรณ์ นิลประพันธ์ กรรมการร่างกฎหมายประจำสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 10.นายประพันธ์ นัยโกวิท อดีตกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)
11.นายภัทระ คำพิทักษ์ อดีตนายกสมมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 12.นายภุมรัตน ทักษาดิพงษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ 13.พล.ต.วิระ โรจนวาศ อดีตผู้อำนวยการสำนักพระธรรมนูญทหารบก 14.นายศุภชัย ยาวะประภาษ อดีตสมาชิก สปช. 15.นายสุพจน์ ไข่มุกด์ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 16.นายอมร วาณิชวิวัฒน์ อดีตสมาชิก สปช. 17.นายอภิชาต สุขัคคานนท์ อดีตประธาน กกต. 18.นายอุดม รัฐอมฤต ศาสตราจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 19.นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ 20.พล.อ.อัฏฐพร เจริญพานิช อดีตเจ้ากรมพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม
นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนการแต่งตั้งสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) จำนวน 200 คนนั้น ที่ประชุม คสช.ได้พิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้วเช่นกัน โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้ลงนามในคำสั่งและเตรียมประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเลือกจากสมาชิก สปช.เดิม 61 คน ข้าราชการเกษียณอายุราชการ 25 คน ข้าราชการที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่ 23 คน ตำรวจ ทหารทั้งที่เกษียณแล้วและยังไม่เกษียณ 29 คน นักการเมือง 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 19 คน และอื่นๆ อีก 13 คน
"กรธ.ทั้งหมด ไม่มีอดีตกรรมาธิการร่างรับธรรมนูญชุดก่อนมามีส่วนร่วมแม้แต่คนเดียว ส่วน สนช.มีเพียงแค่ 1 คนเท่านั้น คือ พล.อ.นิวัติ ศรีเพ็ญ เพื่อประสานในเรื่องของการออกกฎหมายลูกต่อไป"
นอกจากนี้ ในที่ประชุมหัวหน้า คสช.ได้ย้ำเกี่ยวกับโรดแมพประเทศ 6-4-6-4 โดยขอให้รักษากรอบเวลานี้ เนื่องจากได้แจ้งไว้ต่อที่ประชุมสหประชาชาติ (UN) แต่หากมีความเป็นไปได้ก็ขอให้ดำเนินการให้กระชับกว่านี้ อีกทั้งยังกำชับในเรื่องของการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน เพื่อให้มีความหลากหลายและกว้างขวาง