"เชื่อมั่นว่าสปช.ส่วนใหญ่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 58 แต่ที่ไม่ให้ผ่านเพราะอาจเห็นว่าสถานการณ์บ้านเมืองยังไม่ปกติพอที่นำไปลงประชามติ โดยเฉพาะเห็นชอบกับหมวดปฏิรูปที่ทางคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะของ สปช. จนได้บัญญัติลงไปในร่างรัฐธรรมนูญ 4 มาตรา ที่มีเป้าหมายทิศทางและสาระการปฏิรูปครบถ้วน อีกทั้งได้ปรับแก้ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นมาในสองประเด็นคือ การกำหนดเวลาปฏิรูปที่เร่งรัดในบางด้าน อาจนำไปสู่ความขัดแย้งได้ และการมีหน่วยงานใหม่เกิดขึ้นมาก เกรงว่าจะเป็นภาระงบประมาณกับรัฐบาลหน้าที่จะมารับช่วงต่อ นอกจากนี้ยังได้จัดทำบันทึกเจตนารมณ์อธิบายความใน 4 มาตราที่บัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญ จนชัดเจน ตลอดจนจัดทำร่างพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปฏิรูปประเทศจนแล้วเสร็จ ทำให้สามารถตอบคำถามของประชาชนกลุ่มต่างๆได้จนมั่นใจว่ามีกลไก และเครื่องมือเพียงพอในการปฏิรูปประเทศอย่างแน่นอน
นพ.ชูชัย กล่าวย้ำว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูปนี้ ได้กำหนดให้เกิดความรับผิดชอบต่อการปฏิรูป แตกต่างจากรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา โดยมีมาตรา ที่กำหนดว่า" ..บทบัญญัติในภาคนี้ก่อให้เกิดความรับผิดชอบแก่รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐทุกหน่วยงาน และประชาชน ที่ต้องจัดให้มีการปฏิรูปฯตามหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญนี้และตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการนั้นฯ..."ร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังร่าง ต้องนำไปลงประชามติ ดังนั้นการสนองตอบเจตจำนงของประชาชนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง..." นายแพทย์ชูชัย กล่าวทิ้งท้าย