พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ"คืนความสุขให้คนในชาติ"เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยระบุว่าการทำ
งานของกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ล้วนมี
ความตั้งใจดี ทั้งในส่วนของแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเร่งด่วน หรือดำเนินการระยะสั้น หรือ ระยะยาว ที่นำไปสู่การพัฒนาและปฏิรูป
ประเทศ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของการบริหารราชการแผ่นดินที่เหมาะสม ที่เรียกว่าธรรมาภิบาล ซึ่งจะช่วยสร่างความยั่งยืนในอนาคต
"ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการวางรากฐานไปแล้ว คือ การปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น ซึ่งผมคิด
ว่าเป็นเรื่องของปลายเหตุ เรื่องทุจริต ต้องไปดูว่าต้นเหตุอยู่ตรงไหน แล้วจะทำอย่างไร เพราะเกี่ยวข้องทั้งสิ้น ทั้งภาครัฐ ภาค
เอกชน ภาคประชาชน ประชาสังคมทั้งหมด ถ้าเรามุ่งเน้นแก้คอร์รัปชั่น เราก็ไม่ได้แก้ตรงสาเหตุ หรือต้นเหตุแห่งปัญหา มันเกี่ยวพัน
กันหลายส่วนด้วยกัน ถ้าเราร่วมมือกันในช่วงนี้ แล้วตกลงกันได้ว่าเราจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งในการเปลี่ยนผ่านเรื่องเหล่านี้ ให้เกิด
ความยั่งยืนขึ้นในอนาคต ในการที่เราจะมีรัฐบาลต่อไป ก็จะทำให้ประเทศเรามีความก้าวหน้า ไม่วนเวียนกลับไปสู่ความขัดแย้งเดิม
ๆ หรือปัญหาเดิม ๆ หรือการเจริญเติบโตที่ไม่เท่าเทียมกัน"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า กรธ.และสปท. ได้ร่วมกันเขียนกติกาในการบริหารประเทศในระยะต่อไป ซึ่งขณะนี้ก็อยู่ใน
กระบวนขั้นตอนการร่างและนำเสนอ ก็อยากให้ประชาชนลองรับฟัง วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียต่างๆ ซึ่งในเวลานี้ที่เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน มี
ปัญหามากมายที่ทุกคนต้องรับรู้โดยทั่วกัน และจะต้องนำไปสู่การปฏิรูปให้ได้ เพื่อนำประเทศชาติให้ปลอดภัย เพราะฉะนั้นการนำเสนอ
กฎเกณฑ์ต่างๆ นั้น ทางรัฐบาลเอง หรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ก็พร้อมจะรับฟังว่าจะทำอะไรได้บ้าง และประชาชนจะ
ยอมรับได้หรือไม่ เพราะว่าถ้ากฎเกณฑ์ที่ร่างมานั้นไม่มีอะไรที่จะทำให้ประเทศปลอดภัย ก็จะทำให้ประเทศนั้นกลับมาเป็นแบบเดิม
ความขัดแย้ง ปัญหาการเจริญเติบโต ความยากจน ก็ทำให้ปัญหาไม่มีวันสิ้นสุด
ดั้งนั้น ทุกฝ่ายต้องควรช่วยกันทบทวนเพื่อร่วมกันดูว่าจะต้องแก้ปัญหาอะไรบ้าง และจะต้องมีกฎเกณฑ์อย่างไรที่จะเหมาะสมกับ
สถานการณ์ ที่ต้องการในอนาคต เมื่อพร้อมเต็มที่แล้ว ก็ค่อยๆปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความเป็นไปในห้วงเวลานั้นๆ โดยการดำเนินการ
ทั้งหมดนั้นมีความมุ่งหมายก็เพื่อประชาชนทั้งสิ้น ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่ยังมีสิ่งที่น่ากังวลจากการสร้างการรับรู้ การเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร การพูดคุยกับประชาชนเป็นสิ่งสำคัญ และการที่อาจจะมีคนไม่หวังดี มาพูดบิดเบือนทำให้ความเข้าใจเหล่านั้นผิด ซึ่งเป็นปัญหา
สำคัญของรัฐบาลที่ต้องเร่งแก้ไข