นายอมร วานิชวิวัฒน์ โฆษกคณะกรรมการ
ร่างรัฐธรรมนูญ(กรธ.) แถลงว่า ที่ประชุม กรธ.กำหนดหลักการสำคัญเพื่อไม่ให้
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(
ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา(
ส.ว.) ใช้สถานะหรือตำแหน่งไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ซึ่งเป็นหลักการเดิมที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้วางเอาไว้ แต่หลักการนี้จะยังคงให้
ส.ส.สามารถดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีได้ เพราะถือว่าการดำรงตำแหน่ง ไม่ได้เป็นการใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงแต่อย่างใด
สำหรับนิยามของการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการแทรกแซงนั้นจะครอบคลุมไปถึงการไม่ให้ ส.ส.หรือ ส.ว.เข้าไปก้าวก่ายเกี่ยวกับการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการ ซึ่งในร่างรัฐธรรมนูญจะบัญญัติข้อห้ามและบทกำหนดโทษให้ชัดเจนต่อไป
โฆษก กรธ. กล่าวว่า ขณะที่การพิจารณาเรื่องกระบวนการได้มาซึ่ง ส.ว.นั้นยังไม่มีข้อสรุปอย่างเป็นการ แต่มีความเห็นว่าจะมาจากกลุ่มสังคมจำนวน 20 กลุ่ม อย่างไรก็ตามไม่ได้กำหนดว่าใน 20 กลุ่ม จะมีกลุ่มสังคมประเภทไหนบ้าง เพราะกลุ่มสังคมบางกลุ่มมีขอบเขตที่ใกล้เคียงกัน จึงต้องมากำหนดลักษณะและขอบเขตให้ชัด
อินโฟเควสท์ โดย รฐฦ/ธนวัฏ/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--