ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กกต.ไม่ค่อยกล้าบอกกับประชาชนว่าผู้สมัครแต่ละคนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร ขณะที่การขอเอกสารประวัติอาชญากรจากเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือกรมบังคับคดีก็ล่าช้า ทำให้ประชาชนไม่ได้รู้ข้อมูลผู้สมัครครบถ้วน จึงเป็นจุดอ่อนมาก โดย ทางกกต.ได้นำแนวทางดังกล่าวของกรธ.ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง ส.ว.ข้ามกลุ่ม หรือการเปิดประวัติอาชญากรรม กลับไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ ก่อนจะนำกลับมาหารือกับ กรธ.อีกครั้งหนึ่ง
นายชาติชาย กล่าวว่า ล่าสุดคณะอนุกรรมการรับฟังและสรุปความคิดเห็นได้จัดกลุ่มโดยข้อสรุปของผู้ที่เสนอความเห็นประกอบร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 1.คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) คณะรัฐมนตรี (ครม.) สภาขับเคลื่อการปฏิรูปประเทศ (สปท.) และ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) 2.หน่วยงานของรัฐ กระทรวง ทบวงกรม องค์กรอิสระต่างๆ และองค์กรอื่นๆ 3.พรรคการเมืองต่างๆ และ 4.ประชาชนทั่วไป ทั้งนี้ กรธ.จะนำความเห็นของทั้ง 4 กลุ่ม มาเรียงว่าความเห็นและความต้องการที่เสนอเข้ามาตรงกับมาตราใดในร่างบ้าง