การแก้ไขปัญหามีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรม 5 ด้าน ได้แก่ 1) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.และกฎหมายลูก เป็นหลักในการบังคับใช้ รวมทั้งให้ความรู้ประชาชนผ่าน 28 ศูนย์ และออกคู่มือการทำประมงอย่างถูกต้อง
2) การแก้ไขเรื่องระบบควบคุมติดตาม ได้แก่ (1) วางระบบตรวจสอบมาตรฐาน (MCS) ควบคุม ติดตาม เฝ้าระวังเรือในทะเลทั้งระบบ โดยให้เรือติดตั้ง VMS เริ่มจากเรือที่มีขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไปก่อน ปัจจุบันติดไปแล้ว 93.7% (2) จัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับ โดยวางระบบ E-License พร้อมใช้งาน 30 มี.ค.59 และอบรม จนท.ประจำศูนย์ และผู้สังเกตการณ์บนเรือ พร้อมปฏิบัติงาน ม.ค.59
3) การแก้ปัญหาเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย มีชุดบูรณาการพิเศษเพื่อตรวจและบังคับใช้กฎหมายโดยเน้นเรือขนาด 60 ตันกรอสขึ้นไปทั้งในและนอกน่านน้ำ และ ครม.ได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงห้ามลูกจ้างอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในโรงงาน แปรรูปสัตว์น้ำเบื้องต้นและสถานที่ประกอบกิจการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อคุ้มครองแรงงานเด็กและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ม และผ่าน ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้การพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์มีความรวดเร็วขึ้น
4) ความร่วมมือระหว่างประเทศ ดำเนินงาน 2 เรื่องหลักคือ แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านที่ต้องการเข้ามาทำงานในไทย เช่น กัมพูชา เวียดนาม เมียนมา และความร่วมมือกับประเทศหมู่เกาะเพื่อพัฒนาการทำประมง เช่น ฟิจิ ปาปัวนิวกินี โซโลมอน เป็นต้น
5) การช่วยเหลือชาวประมงและแรงงานประมง สำหรับชาวประมงที่ต้องเปลี่ยนอาชีพหรือออกจากระบบ ได้ช่วยเหลือชาวประมงโดยตรงและรับซื้อเรือที่ต้องการเลิกกิจการ พร้อมทั้งช่วยเหลือชาวประมงพื้นบ้านด้วยการออกประกาศแบ่งเขตการทำประมงพื้นบ้านและประมงพาณิชย์
“ท่านนายกฯ เน้นย้ำว่า ทุกหน่วยงานได้ผนึกกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาประมงอย่างเต็มที่ แต่ผลการประเมินของ EU อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาล และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร รัฐบาลยืนยันว่าจะยังคงเดินหน้าต่อสู้กับการทำประมงผิดกฎหมายให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ดูแลรักษาทรัพยากรทางทะเล และส่งเสริมการทำประมงอย่างยั่งยืนเพื่อลูกหลานในอนาคต"พล.ต.สรรเสริญ กล่าส