ทั้งนี้ กรธ.ได้ทำการทบทวนในหมวดรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา โดยกำหนดให้ กกต.มีอำนาจกำหนดวันเลือกตั้ง และเลื่อนวันเลือกตั้งได้ พร้อมกันนี้การจัดทำพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องกำหนดวันเลือกตั้งเพื่อให้การทำงานของ กกต.มีความคล่องตัว เพราะหากมีเหตุจำเป็นต้องเลื่อนเลือกตั้งจะได้ไม่ต้องตราพระราชกฤษฎีกาใหม่
สำหรับในวันที่ 29 ม.ค. นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.จะแถลงเนื้อหาร่างแรกรัฐธรรมนูญ ในเวลา 14.00 น. จากนั้นวันที่ 3 ก.พ.58 เวลา 13.00 น. กรธ.จะทำการประชุมร่วมกับสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) และสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.) เพื่อชี้แจงเนื้อหา ทำความเข้าใจ โดยไม่มีการลงมติ และวันที่ 5 ก.พ.58 เวลา 09.00-12.00 น. กรธ.จะพบปะกับตัวแทนสภาองค์กรชุมชนที่รัฐสภา ส่วนการหารือชี้แจงกับพรรคการเมืองนั้น ส่วนตัวมองว่า ไม่จำเป็น เพราะปกติแล้ว หากพรรคการเมืองมีข้อเสนอแนะอะไรก็จะเข้ามาหารือกับ กรธ.