พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาควสมสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ ศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่า ปัญหาสำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ผมพอสรุปได้ดังนี้ การสร้างความขัดแย้ง การกระทำความผิด ละเมิด ไม่เคารพกฎหมาย การบิดเบือนข้อเท็จจริง การกล่าวอ้างหลักการประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน โดยดึงเอามาประเด็นเดียวกัน โดยมีผลประโยชน์ส่วนตนแอบแฝง ไม่จริงใจ ไม่ตระหนักถึงประโยชน์ส่วนรวม ยังมีอยู่
การแก้ปัญหาประเทศในทุกมิติ เป็นการแก้ปัญหา ที่เน้นการใช้จ่ายงบประมาณในมาตรการระยะสั้น และชั่วคราว ซึ่งเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า การบังคับใช้กฎหมายทำไม่ได้มากนัก มีการอ้างสิทธิมนุษยชนโดย NGO บางกลุ่มที่ทำงานหวังผลด้านเดียว ไม่มองในแง่ประเทศชาติ ว่าจะเดินหน้าไปอย่างไร (มีการค้านทุกเรื่อง) รัฐบาล ข้าราชการ ก็จำเป็นต้องทำอย่างโปร่งใส และให้ประชาชนพึงพอใจด้วยความรู้ความเข้าใจ ปัญหาเรื่องพลังงาน การใช้ที่ดิน การพัฒนา – การแก้ไขกฎหมายให้ทันสมัย เพื่อจะรองรับอนาคต โดยไม่ให้ความสำคัญกับ “การป้องกัน" แต่กลับไปเน้น “การลงโทษ"
เรื่องการพัฒนาด้านการเกษตร การบริหารจัดการน้ำให้พอใช้ โดยใช้ Agri-map สำหรับบริหารจัดการเกษตรไทย โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเกษตรและด้านการพาณิชย์ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา จำเป็นต้องคำนึงถึงสมดุลของทรัพยากรการผลิต (ดิน น้ำ พืช) ผลผลิต อุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งปัจจัยการผลิต ซึ่งจะทำให้สามารถบริหารจัดการสินค้าเกษตรสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและสามารถคาดการณ์ในอนาคตได้อย่างครบวงจร
การแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน ถนน รถไฟ รถไฟฟ้า หรืออื่น ๆ โดยอาจจะอ้างว่าห้ามทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นอย่างเดียว ไม่ฟังเหตุผล เราก็จะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ไม่ได้ เช่น กรณีปัญหาน้ำท่วมที่ขาดการระบายน้ำ มีการก่อสร้างขวางเส้นทางน้ำอะไรเหล่านี้ ติดขัดบ้านเรือนประชาชน เราจำเป็นต้องมีการพัฒนาความเชื่อมโยงทางกายภาพ เราจึงมีการพิจารณาแก้ปัญหา และการพิทักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล โดยใช้ประโยชน์อย่างประหยัดละคุ้มค่า การแก้ปัญหาความยากจน เศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำ หลายฝ่าย รวมทั้งประชาชน อาจจะยังไม่เข้าใจในระบบเศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจขนาดใหญ่ในยุคใหม่ ที่ดีเพียงพอ ยังคงเอาหลักการใหญ่ พัฒนาองค์รวม มาตีกับเศรษฐกิจฐานราก “ผู้มีรายได้น้อย" กับคนรวย กับทุนนิยม เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งจริง ๆ แล้ว เป็นงานด้านเศรษฐกิจของโลกเสรี ที่เป็นประชาธิปไตย ก็ต้องเป็นอย่างนี้ทุกประเทศ สำคัญที่เราจะเชื่อมโยง เกื้อกูลอย่างไร หลายฝ่ายอาจจะมาโจมตีเป็นส่วน ๆ ก็ไปไม่ได้ ที่จะกลับมาที่เดิม ย้ำเท้าอยู่กับที่ พัฒนาอะไรไม่ได้เลย ใช้งบประมาณช่วย “ผู้มีรายได้น้อย" เกษตรกร อาชีพอิสระ ฯลฯ ไปทีละปัญหา ทีละปี ๆ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ใช้งบประมาณจำนวนมาก ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ใช้งบประมาณในการสร้างมูลค่า ความเข้มแข็งเพิ่มเติม ใช้เป็นมาตรการเพียงแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ประชาชนก็ไม่เข้มแข็ง ประเทศก็ไม่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน
ทุกปัญหาเหล่านี้ เราต้องร่วมมือกันว่า อะไรคือสาเหตุ รัฐ ประชาชน เอกชน เป็นอย่างไร เข้มแข็งเพียงพอหรือไม่ เอา 3 อย่างมาขัดแย้งกัน โดยสื่อ นักวิชาการ “บางคน บางกลุ่ม" ที่มีจิตเจตนาแอบแฝง เลือกข้าง หรืออาจะมองแต่เพียงประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน โดยไม่สนใจว่าประเทศจะเป็นอย่างไร มีการพูดโดยไม่รับผิดชอบ ผู้ที่รับผิดชอบ เดือดร้อน ก็คือ รัฐบาล ประชาชน ประเทศชาติ อาจจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเองเหล่านี้บ้าง ซึ่งอาจจะกล่าวหาว่ารัฐบาลไม่เปิดโอกาส รัฐบาลผมเองนั้นเปิดโอกาสตลอดเวลา ให้คำแนะนำหรือการวิพากษ์วิจารณ์ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่สร้างความขัดแย้งอย่างนั้น ผมก็ยอมรับไม่ได้ เพราะสถานการณ์ต้องการความสงบเรียบร้อย ในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งเราก็ยังคงต้องดูแลอยู่บ้าง เพราะเรามีประสบการณ์กันมาแล้ว