ป.ป.ช.จัดทำข้อเสนอแนะรัฐบาล-หน่วยงานวางมาตรการป้องกันทุจริตจนท.รับสินบนคนต่างด้าว

ข่าวการเมือง Thursday July 20, 2017 16:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) และโฆษก สำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.อาศัยอำนาจตามมาตรา 19 (11) แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เห็นชอบให้มีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระบวนการอนุญาตให้คนต่างด้าวพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการชั่ว คราว

สำหรับในส่วนข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล ควรกำหนดนโยบายเพื่อให้มีการดำเนินการบูรณาการจัดทำฐานข้อมูลคนต่างด้าวที่ พำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยทั้งระบบ โดยมอบหมายให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง จัดทำระบบฐานข้อมูลคนต่างด้าวในเชิงการบูรณาการร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการ การควบคุม ตรวจสอบ คนต่างด้าวที่ จะเดินทางเข้ามาและพำนักเพื่อการใด ๆ ในประเทศไทย รวมทั้งให้มีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดำเนินการจัดทำระบบเชื่อม โยงฐานข้อมูล

ภาครัฐควรสั่งการให้มีการปรับปรุงการเชื่อมโยงฐานข้อมูลบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าราชอาณาจักร (Blacklist) ระหว่างกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กับ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้การตรวจสอบ ข้อมูลคนต่างด้าวที่ขอรับการพิจารณาอนุญาตเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย เป็นไปด้วยความรวดเร็วและสามารถตรวจสอบข้อมูล ได้ทันที พร้อมทั้งให้มีการจัดตั้งศูนย์ตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรไทย โดยมอบหมายให้สำนัก งานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการตรวจสอบและติดตามคนต่างด้าวที่พำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็น การชั่วคราว และฐานข้อมูลคนต่างด้าวที่พำนักอยู่เกินกำหนดในแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมตรวจสอบ คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาพำนักในราชอาณาจักรไทย

ภาครัฐคววรทบทวนนโยบายการพิจารณาให้สิทธิแก่คนต่างด้าวในกลุ่มประเทศซึ่งได้รับสิทธิในการตรวจลงตราเพื่อการ ท่องเที่ยว ณ ช่องทางด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival) และการให้สิทธิแก่คนต่างด้าวในกลุ่มประเทศที่ได้รับการยกเว้น การตรวจลงตรา โดยกำหนดเป็นหลักการให้มีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาทบทวนนโยบายดังกล่าว อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหามิให้คนต่างด้าวในกลุ่มประเทศที่ได้รับสิทธิ เดินทางเข้ามาและอาจกระทำ พฤติการณ์อันมิชอบด้วยกฎหมายภายในราชอาณาจักรไทย

นอกจากนี้ เห็นควรสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำบัตรประจำตัวคนต่างด้าว ในกลุ่มคนต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถระบุประเภทการเข้ามาพำนักในราชอาณาจักร ได้ เช่น กลุ่มคนต่างชาติที่เข้ามาพำนักเพื่อการศึกษาในประเทศไทย กลุ่มคนต่างชาติที่เข้ามาพำนักเพื่อการศึกษาต่อพระพุทธศาสนาใน ประเทศไทย กลุ่มคนต่างชาติที่แต่งงานกับคนสัญชาติไทย กลุ่มคนต่างชาติที่เข้ามาเพื่อการใช้ชีวิตในบั้นปลาย กลุ่มคนต่างชาติที่เข้ามา ทำงานในประเทศไทย เป็นต้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนัก งานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาและวางแผนแนวทางในการดำเนินการเกี่ยว กับการออกบัตรประจำตัวคนต่างด้าว

อีกทั้งให้มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2559 เรื่อง การ ขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรไทยสำหรับกลุ่มพำนักระยะยาว (Long Stay Visa) โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้มีผู้ทรงคุณวุฒิ และนักวิชาการที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ร่วมเป็นคณะกรรมการติดตามและประเมินผล โดยกำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงาน ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

พร้อมทั้งกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันจัดทำแผนแม่บทและแผนการประเมินผลร่วมกัน ทั้งนี้ ในการเขียนแผน แม่บท เห็นควรให้นำข้อเสนอแนะมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการอนุญาตให้คนต่างด้าวพำนักอยู่ในราชอาณาจักรไทยเป็นการ ชั่วคราว ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ไปกำหนดไว้ในแผนแม่บทดังกล่าวด้วย โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็น หน่วยงานหลักร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน กระทรวง ศึกษาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำแผนแม่บทดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ ภายหลังจากได้มีการบังคับใช้แผนแม่บทดังกล่าวแล้วนั้น ให้มีการ รายงานผลการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลต่อรัฐบาลเพื่อทราบเป็นระยะเวลาทุก 6 เดือน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ