จากที่รัฐบาลได้มีการหารือกับคณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และพรรคการเมือง เพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยมีการวางกรอบเวลาการเลือกตั้งในช่วง 24 ก.พ. - 5 พ.ค. 62 ส่งผลให้การกำหนดวันเลือกตั้งในปี 2562 เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อเป็นการสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น1,136 คน ระหว่างวันที่ 26-30 มิถุนายน 2561 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนคิดอย่างไร? กับ กระแสข่าวการกำหนดวันเลือกตั้งในปี 2562 (วันที่ 24 ก.พ.-5 พ.ค.62)
อันดับ 1 เห็นด้วย เป็นข่าวดี อยากให้มีการเลือกตั้ง 54.17%
อันดับ 2 เป็นเพียงการคาดคะเน ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ยังไม่แน่ใจ 27.08%
อันดับ 3 คาดว่าน่าจะเป็นเรื่องจริง เพราะรัฐบาลเป็นผู้ให้ข่าว 24.03%
อันดับ 4 รอให้นายกฯ ออกมาแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ 22.50%
อันดับ 5 น่าจะเป็นผลดีต่อประเทศ ต่างชาติจับตามองสถานการณ์ในไทย 13.89%
2. ประชาชนมีความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 2562 มากน้อยเพียงใด?
อันดับ 1 ไม่ค่อยเชื่อมั่นว่าจะมีเลือกตั้ง 36.88% เพราะ บ้านเมืองยังมีปัญหา ยังมีความวุ่นวาย มีข้อมูลหลายกระแส ยังไม่แน่ใจ ยังไม่รู้ข้อมูลข้อเท็จจริง ฯลฯ
อันดับ 2 ค่อนข้างเชื่อมั่นว่าจะมีเลือกตั้ง 25.09% เพราะ หลายฝ่ายกดดัน กระแสสังคมอยากให้มีการเลือกตั้ง มีกระแสข่าวกำหนดวันเลือกตั้งออกมาอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
อันดับ 3 ไม่เชื่อมั่นเลย 20.86% เพราะ ที่ผ่านมามีการกำหนดวันและมีการเลื่อน รัฐบาลมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินใจ สถานการณ์บ้านเมืองไม่แน่นอน ต้องรอประกาศที่ชัดเจนจาก กกต. ฯลฯ
อันดับ 4 เชื่อมั่นว่าจะมีเลือกตั้งแน่นอน 17.17%
เพราะ เป็นไปตามระยะเวลาที่รัฐบาลกำหนดไว้ มีการแก้ไขกฎหมายและเตรียมพร้อมเพื่อจัดการเลือกตั้ง หลายพรรคเริ่มมีการเคลื่อนไหวเตรียมผู้สมัคร ฯลฯ
3. ทำอย่างไร? จึงจะทำให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้งในปี 2562 อย่างแน่นอน
อันดับ 1 นายกฯ ออกมาประกาศอย่างเป็นทางการ ระบุวัน เวลา ที่แน่นอน 57.54%
อันดับ 2 รัฐธรรมนูญเสร็จเรียบร้อย ปลดล็อคพรรคการเมือง 36.14%
อันดับ 3 กกต. ออกมาประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 25.28%
อันดับ 4 ดำเนินการตามโรดแมป ไม่เลื่อน 19.94%
อันดับ 5 คสช. เป็นรัฐบาลรักษาการ เตรียมพร้อมรอการเลือกตั้ง 17.50%
4. "ผลดี" ที่จะมีการเลือกตั้งในปี 2562 คือ
อันดับ 1 เป็นประชาธิปไตย ประชาชนได้ใช้สิทธิ มีส่วนร่วมทางการเมือง 43.15%
อันดับ 2 ต่างชาติเชื่อมั่น มีการค้าการลงทุน เศรษฐกิจดีขึ้น 37.23%
อันดับ 3 บ้านเมืองพัฒนา ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ 30.78%
อันดับ 4 มีนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้ง มีฝ่ายค้านคอยตรวจสอบ 22.04%
อันดับ 5 สถานการณ์ทางการเมืองดีขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 11.96%
5. "ผลเสีย" ถ้าไม่มีการเลือกตั้งในปี 2562 คือ
อันดับ 1 เศรษฐกิจแย่ลงกว่าเดิม ต่างชาติไม่เชื่อมั่น ไม่มาลงทุน 51.52%
อันดับ 2 เกิดการชุมนุม เคลื่อนไหว บ้านเมืองไม่สงบ 29.41%
อันดับ 3 ประชาชนไม่เชื่อถือ ไม่เชื่อมั่น ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล 19.07%
อันดับ 4 การเมืองไม่เข้มแข็ง ไม่เป็นประชาธิปไตย ขาดการตรวจสอบ คานอำนาจ 16.58%
อันดับ 5 พรรคการเมือง นักการเมืองถูกลดบทบาท ไม่สามารถทำหน้าที่ได้ 16.04%
6. ทำอย่างไร? การเลือกตั้งในปี 2562 จึงจะเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และไม่วุ่นวาย
อันดับ 1 ทุกคนทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือ เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน 42.66%
อันดับ 2 จัดระเบียบการเลือกตั้ง กฎระเบียบเคร่งครัด อยู่ในกติกา เคารพกฎหมาย 38.32%
อันดับ 3 รัฐบาลมีการหารือพูดคุยกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มีข้อตกลงร่วมกัน 34.10%
อันดับ 4 มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนที่ชัดเจน 22.83%
อันดับ 5 สื่อนำเสนอข่าวเป็นจริง ไม่บิดเบือน ไม่สร้างกระแส 9.78%
7. ถ้ามีการเลือกตั้งแล้ว ประชาชนคิดว่าการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 ดีขึ้น 52.34% เพราะ การเมืองมีเสถียรภาพ เป็นประชาธิปไตย ได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เศรษฐกิจดีขึ้น ต่างชาติเชื่อมั่น การบริหารประเทศคล่องตัว มีการตรวจสอบ คานอำนาจ บ้านเมืองพัฒนา ฯลฯ
อันดับ 2 เหมือนเดิม 42.06% เพราะ การเมืองไทยเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองหน้าเก่า ยังคงทะเลาะเบาะแว้ง แบ่งฝักแบ่งฝ่ายเหมือนเดิม ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 5.60% เพราะ บ้านเมืองยังคงมีปัญหา แก้ไขได้ยาก อาจเกิดสถานการณ์ความวุ่นวาย มีผู้ที่เสียประโยชน์ ฯลฯ