การเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในต้นปีหน้า ปี 2562 ขณะที่ทุกพรรคการเมืองต่างมุ่งหวังชัยชนะในการเลือกตั้ง เป็นพรรคที่สามารถครองใจประชาชน เนื่องจากประชาชนคือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครและเลือกพรรค"ไปเป็นส.ส." เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,073 คน ระหว่างวันที่ 10-13 ตุลาคม 2561 สรุปผลได้ ดังนี้
1. ประชาชนจะเลือกผู้สมัครแบบใด? ไปเป็น ส.ส.
อันดับ 1 เป็นคนดี ประวัติดี การศึกษาดี ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม 58.74%
อันดับ 2 ขยัน ทำงานเก่ง มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ทางการเมือง 33.33%
อันดับ 3 เป็นผู้นำ มีวิสัยทัศน์ เป็นคนรุ่นใหม่ ทันสมัย มีแนวคิดใหม่ๆ 26.07%
อันดับ 4 เป็นกันเอง เข้าถึงประชาชน พูดจาดี สุภาพ จริงใจ ไม่สร้างภาพ 23.50%
อันดับ 5 มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จัก มีผลงาน เป็นที่ยอมรับ 17.86%
2. พรรคการเมืองแบบใด? ที่จะทำให้ตัดสินใจเลือกผู้สมัครพรรคนั้นๆ เป็น ส.ส.
อันดับ 1 มีนโยบายดี ถูกใจประชาชน ทำได้จริง เน้นแก้ปัญหาเศรษฐกิจ 53.83%
อันดับ 2 เป็นพรรคที่เข้มแข็ง มั่นคง มีอุดมการณ์ 35.71%
อันดับ 3 หัวหน้าพรรคมีภาพลักษณ์ดี เป็นผู้นำ เป็นที่ยอมรับ 19.36%
อันดับ 4 มีการทำงานเป็นทีม ระบบการบริหารจัดการภายในพรรคดี เข้าถึงประชาชน 14.39%
อันดับ 5 มีการคัดเลือกว่าที่ผู้สมัครอย่างเหมาะสม และสนับสนุนอย่างเต็มที่ 11.70%
3. นโยบายหาเสียงเรื่องอะไร? ที่จะทำให้ถูกใจและเลือก ไปเป็น ส.ส.
อันดับ 1 ดูแลช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน แก้ปัญหาหนี้สิน ความยากจน 47.93%
อันดับ 2 เน้นพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว /สร้างรายได้เข้าประเทศ 45.85%
อันดับ 3 พูดจริงทำจริง ทำตามสัญญา พัฒนาจังหวัด ท้องถิ่นให้เจริญ 33.92%
อันดับ 4 พัฒนาระบบขนส่งมวลชน การคมนาคม การศึกษา พลังงานและสิ่งแวดล้อม 28.01%
อันดับ 5 ส่งเสริมประชาธิปไตย สร้างความเข้มแข็งทางการเมือง บ้านเมืองสงบเรียบร้อย 17.22%
4. ประชาชนมีความวิตกกังวลเรื่องอะไร? ในการเลือกตั้งต้นปีหน้า (ปี 2562)
อันดับ 1 การทะเลาะเบาะแว้ง การเคลื่อนไหวทางการเมือง บ้านเมืองไม่สงบ 46.26%
อันดับ 2 ความไม่พร้อมของการจัดเลือกตั้ง อาจต้องเลื่อนเลือกตั้งออกไปอีก 38.50%
อันดับ 3 การทุจริต โกงเลือกตั้ง ซื้อเสียง ได้คนไม่ดีเข้ามาทำงาน 26.52%
อันดับ 4 การออกไปใช้สิทธิ การรับรู้ข่าวสารเลือกตั้งของประชาชน 24.12%
อันดับ 5 การใช้งบประมาณในการจัดการเลือกตั้งจำนวนมาก ไม่คุ้มค่า 14.53%