"ทั้งหมดเป็นอำนาจโดยแท้ของ กกต.ที่จะวินิจฉัยเช่นใด ซึ่งหากพรรคการเมืองเสียหายโดยตรง หรือหากมีว่าที่ ส.ส.แล้วไม่ ได้เป็น ส.ส.ก็สามารถอาศัยช่องทางตามกฎหมายฟ้องร้องกกต.ได้" นายปิยบุตรกล่าว
พร้อมระบุว่า ถ้าเป็นตามสูตร กกต. พรรคอนาคตใหม่จะเสียที่นั่ง ส.ส.ไปประมาณ 7-8 ที่นั่ง หรือคิดเป็นคะแนนดิบ 6 แสน คะแนน ขณะเดียวกันพรรคอื่นว่าที่ส.ส.ก็หายไปเช่นกัน เช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคเสรีรวมไทย หากรวมคะแนนดิบ ของทุกพรรคแล้วจะหายไปเกือบ 1 ล้านคะแนน ส่วนพรรคเล็กที่ได้แค่ 3-6 หมื่นคะแนนจะได้ ส.ส. นอกจากนี้พรรคฝ่ายประชาธิปไตย รวมเสียงได้เกิน 251 เสียง
ทั้งนี้ พรรคอนาคตใหม่ได้ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้ กกต.คำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย โดยระบุว่า ตามที่มีรายงานข่าวว่า พ.ต.อ.จรุงวิทย์ ภุมมา เลขาธิการ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ยืนยันว่า สูตรการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อมีเพียงสูตรเดียว ได้แก่ สูตรที่กรรมการร่างรัฐ ธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้คิดและเป็นผู้เสนอ ซึ่งเป็นสูตรที่มีพรรคการเมืองจำนวนมากถึง 27 พรรค ได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีราย ชื่อนั้น พรรคอนาคตใหม่ในฐานะพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน และได้รับผลกระทบโดยตรงจากสูตรการคำนวณที่ขัดต่อ รัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงขอยืนยันบนหลักการดังนี้
1. พรรคอนาคตใหม่ยืนยันว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งจะต้องใช้อำนาจโดยไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ โดยการคำนวณหาจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยกานเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ต้องอยู่ภายใต้หลักการที่กำหนดไว้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 91 โดยเคร่งครัด มีแต่หลักการที่ถูกต้องเท่านั้นที่จะ เป็นเครื่องป้องกันการทำหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้งทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
รัฐธรรมนูญ มาตรา 91 กำหนดหลักการที่สำคัญไว้ดังนี้
(ก) การกำหนดนิยามของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
(ข) การกำหนดห้ามมิให้พรรคการเมืองใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีได้
(ก) จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้นั้น ปรากฏอยู่ในมาตรา 91 (1) และ (2)
(1) นำคะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคการเมืองทุกพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ได้รับจากการเลือกตั้งแบบแบ่ง เขตเลือกตั้งหารด้วยห้าร้อยอันเป็นจำนวนสมำชิกทั้งหมดของสภาผู้แทนราษฎร
[ตามข้อมูลข้อ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ณ วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2562 มีพรรคที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 74 พรรค โดยคะแนนรวม 74 พรรคการเมืองที่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ มีจำนวนเท่ากับ 35,528,749 คน: 35,528,749 หารด้วย 500 เท่ากับ 71,057.4980]
(2) นำผลลัพธ์ตาม (1) ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้งสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งทุกเขต จำนวนที่ได้รับให้ถือเป็นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการเมืองนั้นจะพึงมีได้
[นำผลลัพท์ตาม (1) หรือเท่ากับ 71,057.4980 ไปหารจำนวนคะแนนรวมทั้งประเทศของพรรคการเมืองแต่ละพรรคจำนวน ที่ได้ให้ถือเป็นจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนที่จะพึงมีได้ โดยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ของทั้ง 74 พรรคการเมือง คร่าวๆ มีดังนี้]
ลำดับ พรรค คะแนนรวมทั้งประเทศที่พรรคได้รับ ส.ส.พึงมีได้ 1 เพื่อไทย 7,920,630 111.4679 2 พลังประชารัฐ 8,433,137 118.6805 3 อนาคตใหม่ 6,265,950 88.1814 4 ประชาธิปัตย์ 3,947,726 55.5568 5 ภูมิใจไทย 3,732,883 52.5333 6 เสรีรวมไทย 826,530 11.6318 7 ชาติไทยพัฒนา 782,031 11.0056 8 เศรษฐกิจใหม่ 485,664 6.8348 9 ประชาชาติ 485,436 6.8316 10 เพื่อชาติ 419,393 5.9022 11 รวมพลังประชาชาติไทย 416,324 5.8590 12 ชาติพัฒนา 252,044 3.5470 13 พลังท้องถิ่นไท 213,129 2.9994 14 รักษ์ผืนป่าแห่งประเทศไทย 136,597 1.9223 15 พลังปวงชนไทย 81,733 1.1502 16 พลังชาติไทย 73,871 1.0396 17 ประชาภิวัฒน์ 69,417 0.9769 18 พลังไทยรักไทย 60,840 0.8562 19 ไทยศรีวิไลย์ 60,421 0.8503 20 ประชานิยม 56,617 0.7968 21 ครูไทยเพื่อประชาชน 56,339 0.7929 22 ประชาธรรมไทย 47,848 0.6734 23 ประชาชนปฏิรูป 45,508 0.6404 24 พลเมืองไทย 44,766 0.6300 25 ประชาธิปไตยใหม่ 39,792 0.5600 26 พลังธรรมใหม่ 35,533 0.5001
(ข) การกำหนดห้ามมิให้พรรคการเมืองใดมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีได้ เนื่องจากพรรคเพื่อไทยได้รับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบเขตสูงกว่ำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคเพื่อไทยพึงมีได้ มาตรา 91 (4) จึงกำหนดให้ พรรคเพื่อไทยไม่มีสิทธิได้รับการจัดสรรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และให้นำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อทั้ง หมด ไปจัดสรรให้แก่พรรคการเมืองที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งต่ำกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พรรคการ เมืองนั้นจะพึงมีได้ตามอัตราส่วน แต่ต้องไม่มีผลให้พรรคการเมืองใดดังกล่าวมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ด้วยเหตุนี้ พรรคการเมืองทุกพรรคจะไม่สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกินกว่าจำนวนที่จะพึงมีตามรัฐธรรมนูญได้ เว้นแต่ใน กรณีของพรรคเพื่อไทยที่เป็นข้อยกเว้นตามมาตรา 91(4) เท่านั้น ทั้งนี้ไม่ว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง จะคำนวณต่อด้วยวิธีการใดก็ตาม พรรคที่มีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จะพึงมีได้ต่ำกว่าจำนวนเต็ม 1 จะไม่สามารถมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อได้เลย
ทั้งนี้ หลักการที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญมาตรา 91 ได้ถูกนำมาบรรจุลงในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือก ตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ที่เป็นรายละเอียดวิธีการคำนวณหาจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ ด้วยเช่นเดียวกัน
2. ตามหลักการข้างต้น จึงถือได้ว่าการคิดคำนวณสูตรสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อที่มีพรรคการเมืองจำนวนมาก ถึง 27 พรรคได้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ นอกจกกนี้ยังเป็นสูตรที่ทำให้จำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคอนาคตใหม่ได้รับมีจำนวนน้อยกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 91 มาก ถึง 8 - 9 คน อันเป็นการตัดเสียงของประชาชนประมาณ 568,520 - 639,585 คน ออกไป แล้วนำจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ บัญชีรายชื่อที่พรรคอนาคตใหม่และพรรคการเมืองอื่นพึงได้รับไปกระจายให้แก่พรรคการเมืองหลายพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้ง น้อยกว่า 71,057.4980 เสียง ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่จะได้รับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 91
3. ด้วยศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยกรณีคำร้องของผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 231 (1) ว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 มีปัญหา เกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 91 หรือไม่
พรรคอนาคตใหม่เห็นว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้ แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเช่นนี้ ก็หาได้กระทบกระเทือนต่อการวินิจฉัยตีความบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 91 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง พ.ศ.2561 อันเป็นที่มาของการใช้การตี ความให้ได้มาซึ่งสูตรการคำนวณสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อไม่ เนื่องจาก
(1) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 224 (6) บัญญัติว่า "ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่และอำนาจ (6) หน้าที่และอำนาจอื่นตามรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย" และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มาตรา 22 บัญญัติว่า "นอกจากหน้าที่และอำนาจที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว ให้คณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้ด้วย (1) หน้าที่และอำนาจที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้และกฎหมายอื่น" เห็นได้ว่า เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร มาตรา 91 ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณไว้แล้ว และกำหนดให้รายละเอียดเป็นไปตามที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 คณะกรรมการการเลือกตั้งจึงมีหน้าที่ใช้อำนาจให้เป็นไปตำมรัฐธรรมนูญ ยิ่งไปกว่านั้น บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญก่อตั้งขึ้นจากอำนาจที่ได้รับมอบมาจากรัฐธรรมนูญ (Pouvoir Constitue) คณะกรรมการ การเลือกตั้งจะนำบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตีความในทาง ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 128 หาได้ไม่
(2) กาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ. ศ. 2561 มาตรา 128 นั้น เป็นการตรวจสอบแบบนามธรรม (abstract control) ศาลรัฐธรรมนูญหาได้ตรวจสอบการนำสูตรการ คำนวณมาวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญไม่ มิได้เป็นการตรวจสอบแบบรูปธรรม (concrete control) แต่อย่างใด คณะกรรมการการ เลือกตั้งจึงไม่อาจอ้างคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญมาให้ความชอบธรรมแก่สูตรการคำนวณสูตรหนึ่งสูตรใดได้
(3) คณะกรรมการการเลือกตั้งต้องใช้และตีความพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 128 กับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 91 ให้สอดคล้องกันและเป็นเอกภาพทั้งระบบกฎหมาย คณะกรรมการการเลือกตั้งไม่อาจตีความพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว ในทางที่ไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้