ส่วนจะมีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เสนอให้ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) นั้น นายไพบูลย์ กล่าวว่า สามารถเสนอต่อคณะอนุ กมธ.ได้เลย โดยการประชุม กมธ.ฯ ที่ผ่านมามีการเสนอแนวคิดนี้เช่นกัน ทั้งนี้ กมธ.ฯ สามารถตั้งอนุ กมธ.ได้ 3 คณะ ซึ่งตั้งไปแล้ว 2 คณะ คือ อนุ กมธ.ประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และอนุ กมธ.ศึกษาวิเคราะห์บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น และเชื่อว่าที่ประชุม กมธ.ฯ จะมีมติให้ตั้งอนุ กมธ.ตามที่ตนเองเสนอ
ด้านนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์ และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2560 กล่าวถึงแนวทางการรับฟังความคิดเห็นนิสิตนักศึกษาว่า มีกรรมาธิการหลายคนมาหารือ โดยจะนำเรื่องเข้าสู่การหารือใน กมธ.ฯ วันนี้ โดยผู้ที่จะดูแลเรื่องนี้คืออนุกรรมาธิการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่มีนายวัฒนา เมืองสุข เป็นประธาน ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการรับฟังความเห็นอยู่แล้ว
นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า เบื้องต้น กมธ.ได้ประสานไปยังอธิการบดีหลายมหาวิทยาลัย เพื่อเตรียมลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น แต่ติดปัญหาเรื่องการชุมนุมเยอะๆ ไม่ได้ จึงยังไม่ได้เตรียมกำหนดการไว้ ขณะนี้นักศึกษามีการชุมนุมแฟลชม็อบกัน และวันนึงจะเติบโตมาเป็นผู้ใหญ่จึงควรรับฟังความเห็นของนักศึกษาด้วย
ส่วนการรับฟังความเห็นในต่างจังหวัดนั้น นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ยังไม่ได้ยกเลิก แต่ต้องเลื่อนออกไปเพราะต้องระวังเรื่องการควบคุมไวรัสโควิด-19 ด้วยง เบื้องต้นจึงใช้พื้นที่ทาง Social Media และเว็บไซต์ของ กมธ.ฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ส่วนปัญหาและอุปสรรคจะทำให้ต้องต่ออายุการทำงานของ กมธ.ฯ หรือไม่ นายพีรพันธุ์ กล่าวว่า ไม่สามารถต่อเวลาได้ เนื่องจากปิดสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว และเท่าที่ประเมินจากงานก็คิดว่าไม่ต้องต่ออายุ ซึ่งหลังจากนี้ กมธ.ฯ จะประชุมกันทุกวันพฤหัสและวันศุกร์ ควบคู่ไปกับการทำงานของคณะอนุ กมธ.รับฟังความเห็นประชาชน และคณะอนุ กมธ.พิจารณาเนื้อหารายประเด็น ซึ่งคืบหน้าไปกว่าร้อยละ 50 แล้ว