ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชนเกี่ยวกับทีมเศรษฐกิจของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหม่ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเมื่อถามถึงที่มาของหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ (รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ) ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.33 ระบุว่า ควรมาจากคนนอกพรรคการเมือง เพราะ ต้องการคนมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยตรง มีความซื่อสัตย์ โปร่งใส และไม่หวังผลประโยชน์ รองลงมา ร้อยละ 23.45 ระบุว่า ควรมาจากนักการเมือง เพราะมาจากการเลือกตั้ง มีประสบการณ์ในการทำงาน สามารถดูแลและบริหารได้ตรงจุด และเข้าถึงประชาชนจะรับรู้ปัญหาของประชาชนค่อนข้างดี และร้อยละ 21.22 ระบุว่า มาจากนักการเมืองหรือนอกพรรคการเมืองก็ได้ ขึ้นอยู่กับนายกฯ เพราะ มั่นใจในตัวนายกฯ ว่าจะเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้
เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ (รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ) ควรมาจากคนนอกพรรคการเมือง เกี่ยวกับบุคคลที่เหมาะสม มาดำรงตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 58.48 ระบุว่า คนนอกพรรคการเมือง คนไหนก็ได้ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 8.91 ระบุว่า นายปรีดี ดาวฉาย (นายกสมาคมธนาคารไทย) และนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 4 ร้อยละ 4.89 ระบุว่า นายบุญทักษ์ หวังเจริญ (อดีตผู้บริหารธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)) อันดับ 5 ร้อยละ 4.74 ระบุว่า นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร (อดีต รมช.คมนาคม และอดีตผู้บริหาร ปตท.) อันดับ 6 ร้อยละ 4.17 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ อันดับ 7 ร้อยละ 3.74 ระบุว่า ศาสตราจารย์พิเศษ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ (เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) และอันดับ 8 ร้อยละ 6.16 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นางเอมอร ศรีวัฒนประภา นายวสันต์ โพธิพิมพานนท์ นายธนินท์ เจียรวนนท์ นายกานต์ ตระกูลฮุน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ นายบัณฑูร ล่ำซำ
ส่วนผู้ที่ระบุว่า หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ (รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ) ควรมาจากนักการเมือง เกี่ยวกับบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 63.39 ระบุว่า นักการเมืองคนไหนก็ได้ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 17.97 ระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อันดับ 3 ร้อยละ 3.39 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ อันดับ 4 ร้อยละ 3.05 ระบุว่า นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ และนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 6 ร้อยละ 2.37 ระบุว่า นายอนุชา นาคาศัย อันดับ 7 ร้อยละ 2.03 ระบุว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น และอันดับ 8 ร้อยละ 4.75 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นายสันติ พร้อมพัฒน์ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ด้านที่มาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.59 ระบุว่า ควรมาจากคนนอกพรรคการเมือง เพราะ ต้องการคนมีประสบการณ์ตรง มีวิสัยทัศน์ มีความรอบคอบในการตัดสินใจ เหมาะสมกับตำแหน่ง รัฐมนตรีกระทรวงการคลังมากกว่านักการเมือง รองลงมา ร้อยละ 25.52 ระบุว่า ควรมาจากนักการเมือง เพราะ รู้เรื่องดีเกี่ยวกับเรื่องงบประมาณแผ่นดิน สามารถจัดสรรงบต่าง ๆ ได้ดี และง่ายต่อการประสานงาน ร้อยละ 21.86 ระบุว่า มาจากนักการเมืองหรือนอกพรรคการเมืองก็ได้ ขึ้นอยู่กับนายกฯ และร้อยละ 1.03 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ควรมาจากคนนอกพรรคการเมือง เกี่ยวกับบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 58.55 ระบุว่า คนนอกพรรคการเมือง คนไหนก็ได้ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 13.87 ระบุว่า นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 7.55 ระบุว่า นายปรีดี ดาวฉาย (นายกสมาคมธนาคารไทย) อันดับ 4 ร้อยละ 4.16 ระบุว่า นายบุญทักษ์ หวังเจริญ (อดีตผู้บริหารธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)) อันดับ 5 ร้อยละ 3.70 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ อันดับ 6 ร้อยละ 3.39 ระบุว่า ศาสตราจารย์พิเศษ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ (เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) อันดับ 7 ร้อยละ 3.08 ระบุว่า นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร (อดีต รมช.คมนาคม และอดีตผู้บริหาร ปตท.) และอันดับ 8 ร้อยละ 5.70 ระบุว่า นายกานต์ ตระกูลฮุน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล
ส่วนผู้ที่ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ควรมาจากนักการเมือง เกี่ยวกับบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 63.24 ระบุว่า นักการเมืองคนไหนก็ได้ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 12.77 ระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อันดับ 3 ร้อยละ 4.67 ระบุว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ และนายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 6 ร้อยละ 3.12 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ อันดับ 7 ร้อยละ 2.18 ระบุว่า นายอนุชา นาคาศัย และอันดับ 8 ร้อยละ 4.68 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นายสันติ พร้อมพัฒน์ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายกรณ์ จาติกวณิช
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงที่มาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่ ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 48.17 ระบุว่า ควรมาจากคนนอกพรรคการเมือง เพราะ ต้องการคนมีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ทางด้านพลังงานในประเทศไทย และไม่หวังผลประโยชน์ รองลงมา ร้อยละ 27.11 ระบุว่า ควรมาจากนักการเมือง เพราะ การลงพื้นที่พบประชาชนบ่อย ๆ ทำให้ รู้ถึงปัญหา น่าจะแก้ปัญหาทางด้านพลังงานได้ดี ร้อยละ 24.09 ระบุว่า มาจากนักการเมืองหรือนอกพรรคการเมืองก็ได้ ขึ้นอยู่กับนายกฯ และ ร้อยละ 0.63 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ เมื่อถามผู้ที่ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ควรมาจากคนนอกพรรคการเมือง เกี่ยวกับบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 58.58 ระบุว่า คนนอกพรรคการเมือง คนไหนก็ได้ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 16.17 ระบุว่า นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร (อดีต รมช.คมนาคม และอดีตผู้บริหาร ปตท.) อันดับ 3 ร้อยละ 6.27 ระบุว่า นายกานต์ ตระกูลฮุน (อดีตผู้บริหารปูนซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี) อันดับ 4 ร้อยละ 4.62 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่ทราบ อันดับ 5 ร้อยละ 4.46 ระบุว่า นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ (อดีตผู้บริหารพีทีทีจีซี ในเครือ ปตท.) อันดับ 6 ร้อยละ 3.30 ระบุว่า ศาสตราจารย์พิเศษ นายทศพร ศิริสัมพันธ์ (เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) อันดับ 7 ร้อยละ 2.81 ระบุว่า นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล (อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย) และอันดับ 8 ร้อยละ 3.79 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ นายปรีดี ดาวฉาย นายบุญทักษ์ หวังเจริญ นางสาวรสนา โตสิตระกูล
ส่วนผู้ที่ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ควรมาจากนักการเมือง เกี่ยวกับบุคคลที่เหมาะสมมาดำรงตำแหน่ง พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 62.46 ระบุว่า นักการเมืองคนไหนก็ได้ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 14.66 ระบุว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ อันดับ 3 ร้อยละ 6.16 ระบุว่า นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ อันดับ 4 ร้อยละ 3.52 ระบุว่า นายสันติ พร้อมพัฒน์ และไม่ตอบ/ไม่ทราบ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 6 ร้อยละ 2.93 ระบุว่า นายสุชาติ ชมกลิ่น อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ และอันดับ 8 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ นายอนุชา นาคาศัย
นิด้าโพล ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 23 กรกฎาคม 2563 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,258 หน่วยตัวอย่าง