รายงานข่าว แจ้งว่า ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 65 วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท วาระแรกด้วยคะแนน 269 ต่อ 201 เสียง วงเงิน 3.1 ล้านล้านบาท พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาฯ จำนวน 72 คน และเห็นชอบแปรญัตติภายใน 30 วัน
ภายหลังที่ประชุมฯ เสร็จสิ้นการอภิปรายต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 วัน นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำหน้าที่ประธานการประชุมได้ให้สมาชิกแสดงตนเพื่อตรวจสอบองค์ประชุมก่อนลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายฯ หรือไม่ ซึ่งมีจำนวนผู้ลงมติทั้งหมด 472 เสียง เห็นด้วย 269 เสียง ไม่เห็นด้วย 201 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง
รายงานข่าว แจ้งว่า ผู้ที่ลงมติเห็นด้วยนั้นเป็นเสี่ยงของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ครบถ้วนแบบไม่แตกแถว โดยมี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลที่ไม่ได้ลงมติ ได้แก่ นายสุชาติ ตันเจริญ ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ ซึ่งเป็นรองประธานสภาฯ คนที่หนึ่ง, น.ส.ศุภมาส อิศรภักดี ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย, นายวราวุธ ศิลปอาชา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายชวน หลีกภัย ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นประธานสภาฯ งดออกเสียง
ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ได้แก่ พรรคพลังท้องถิ่นไท พรรครวมพลังประชาชาติไทย พรรคชาติพัฒนา พรรครักษ์ผืนป่าประเทศไทย พรรคครูไทยเพื่อประชาชน, พรรคไทรักธรรม พรรคประชาธรรมไทย พรรคประชาธิปไตยใหม่ พรรคประชาภิวัฒน์ พรรคพลเมืองไทย พรรคพลังชาติไทย พรรคพลังธรรมใหม่ พรรคพลังไทยรักไทย ลงมติเห็นด้วยครบถ้วนเต็มจำนวนเช่นกัน
ขณะที่พรรคฝ่ายค้านที่ส่วนใหญ่ลงมติไม่เห็นด้วย ได้แก่ พรรคเพื่อไทยที่มีจำนวน ส.ส.ทั้งสิ้น 134 คน พบว่า มี 129 คน ลงมติไม่เห็นด้วย แต่มี ส.ส.จำนวน 5 คน ได้แก่ นายจักรพรรดิ ไชยสาสน์ ส.ส.อุดรธานี, นายไชยวัฒนา ติณรัตน์ ส.ส.มหาสารคาม, น.ส.พรพิมล ธรรมสาร ส.ส.ปทุมธานี, นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ ส.ส.กทม.และ นายวันชัย เจริญนนทสิทธิ์ ส.ส.นนทบุรี ที่ไม่ปรากฎการออกเสียงลงคะแนน
ขณะที่พรรคก้าวไกล ที่มี ส.ส.ทั้งสิ้น 53 คน พบว่า ลงมติไม่เห็นด้วยจำนวน 48 คน ยกเว้น ส.ส. 4 คน ได้แก่ นายขวัญเลิศ พานิชมาท ส.ส.ชลบุรี, นายคารม พลพรกลาง ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายพีรเดช คำสมุทร ส.ส.เชียงราย และนายเอกภพ เพียรพิเศษ ส.ส.เชียงราย ที่ลงมติเห็นด้วย ส่วน น.ส.ญาณธิชา บัวเผื่อน ส.ส.จันทบุรี พรรคก้าวไกล ที่ไม่ปรากฎการลงคะแนน
พรรคเสรีรวมไทยมี 10 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย, พรรคเพื่อชาติมี 5 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย, พรรคประชาชาติมี 7 เสียง พบว่ามี 6 เสียงลงมติไม่เห็นด้วย ยกเว้น นายอนุมัติ ซูสารอ ส.ส.ปัตตานี พรรคประชาชาติ ที่ไม่ปรากฎการลงคะแนน
พรรคเศรษฐกิจใหม่ที่ก่อนหน้าที่ประกาศร่วมพรรครัฐบาล ยกเว้น นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ แต่การออกเสียงพบว่า ลงมติไม่เห็นด้วย 2 เสียง คือ นายนิยม วิวรรธนดิฐกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และนายมิ่งขวัญ ขณะที่ 4 เสียง ลงมติเห็นด้วย ได้แก่ นายภาสกร เงินเจริญกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ, นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ , นางมารศรี ขจรเรืองโรจน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ นายสุภดิช อากาศฤกษ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ
สำหรับบุคคลที่งดออกเสียงอีก 1 เสียงนอกจากนายชวน คือ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย
รายงานข่าว แจ้งว่า รายชื่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 จำนวน 72 คน แบ่งตามสัดส่วน ดังนี้ สัดส่วน ครม. 18 คน ได้แก่ 1.นายอาคม เติมวิทยาไพศิษฐ์ รมว.คลัง 2.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง 3.นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รมช.แรงงาน 4. นายเสมอกัน เที่ยงธรรม 5.นายเดชาภิวัฒน์ ณ สงขลา ผอ.สำนักงบประมาณ 6.พล.ท.วัลลภ นาคประสิทธิ์ 7.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ 8.นายวราเทพ รัตนากร 9.นายประสิทธิ์ มะหะหมัด 10.นายวิเชียร ชวลิต 11.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร 12.นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ 13.นายนพดล พลเสน 14.นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ 15.นายปกรณ์ มุ่งเจริญพร 16.นายจุติ ไกรฤกษ์ 17.นายพิสิฐ ลี้อาธรรม 18.นางนันทนา สงฆ์ประชา
สัดส่วนพรรคเพื่อไทย 15 คน ได้แก่ 1. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง 2.นายไชยา พรหมา 3.ยุทธพงศ์ จรัสเสถียร 4. นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน 5. น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ 6.นายอุบลศักดิ์ บัวหลวงงาม 7.นายบุญแก้ว สมวงศ์ 8.นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล 9.นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ 10.นายคงเดช ไชยศิวามงคล 11.นายเกรียง กัลป์ตินันท์ 12.นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล 13.นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด 14. นายอภิชาติ ตีรสวัสดิชัย 15.นายศรัณย์วุฒิ ศรัณย์เกตุ
สัดส่วนพรรคพลังประชารัฐ 13 คน ได้แก่ 1.นายวิรัช รัตนเศรษฐ 2.นายเอกราช ช่างเหลา 3.น.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ 4.นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ 5.นายยงยุทธ สุวรรณบุตร 6.นายสรวุฒิ เนื่องจำนงค์ 7.นายสุชาติ อุสาหะ 8.นายสัมพันธ์ มะยูโซ๊ะ 9.นายสายัณห์ ยุติธรรม 10.นายไผ่ ลิกค์ 11.นางทัศนียา รัตนเศรษฐ 12.นายนิโรธ สุนทรเลขา 13.นายจักรัตน์ พั้วช่วย
สัดส่วนพรรคภูมิใจไทย 7 คน ได้แก่ 1.นายชาดา ไทยเศรษฐ์ 2.นางนาที รัชกิจประการ 3.นายคงกฤษ ฉัตรมาลีรัตน์ 4.นายมณฑล โพธิ์คาย 5.นายอดิพงษ์ ฐิติพิทยา 6.นายภราดร ปริศนานันทกุล 7.น.ส.มัลลิกา จิรพัฒนกุล
สัดส่วนพรรคก้าวไกล 6 คน ได้แก่ 1.น.ส.วรรณวิภา ไม้สน 2.น.ส.วรรณวลี ตะล่อมสิน 3.น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล 4.นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง 5.นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล 6.นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ 6 คน ได้แก่ 1.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู 2.นางผ่องศรี ธาราภูมิ 3. น.ส.รังสิมา รอดรัศมี 4.นายสาคร เกี่ยวข้อง 5.นายชัยชนะ เดชเดโช 6.นายเดชอิศม์ ขาวทอง
สัดส่วนพรรคชาติไทยพัฒนา 1 คน ได้แก่ นายอนุรักษ์ จุรีมาศ
สัดส่วนพรรคเสรีรวมไทย 1 คน ได้แก่ นายวัชรา ณ วังขนาย
สัดส่วนพรรคประชาชาติ 1 คน ได้แก่ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง
สัดส่วนพรรคเศรษฐกิจใหม่ จำนวน 1 คน ได้แก่ นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์
สัดส่วนพรรครวมพลังประชาชาติไทย จำนวน 1 คน ได้แก่ นายสุพล จุลใส
สัดส่วนเพื่อชาติ 1 คน ได้แก่ นางลินดา เชิดชัย
สัดส่วนพรรคพลังท้องถิ่นไทย 1 คน ได้แก่ นายโกวิท พวงงาม
โดยร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้กำหนดการแปรญัติภายใน 30 วัน และจะได้มีการประชุม กมธ. นัดแรกเพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ ใน กมธ. และกำหนดกรอบการทำงาน ในวันที่ 4 มิ.ย.นี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมงบประมาณ (สถ.) ชั้น 4 โขนกลาง อาคารรัฐสภา
รายงานข่าว แจ้งว่า สำหรับรายชื่อ กมธ.ในส่วนของพรรคพลังประชารัฐนั้นส่วนใหญ่จะเป็น ส.ส.ในเครือข่ายของ นายวิรัช รัตนเศรษฐ และ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรฯ ซึ่งในสัดส่วน ครม.มากันครบทีมคือ นางนฤมล รมช.แรงงาน นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.คลัง รวมถึง นายเรืองไกร ที่เพิ่งสมัครเข้ามาเป็นสมาขิกพรรค พปชร.ล่าสุดด้วย ทั้งนี้สิ่งที่ต้องจับตาคือการพิจารณาปรับลดงบประมาณด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงบโควิด-19 ที่ถูกตัดออกไปเป็นจำนวนมากจาก ส.ส.พรรคภูมิใจไทย อาทิ นายชาดา ส.ส.อุทัยธานี และ นายภราดร ส.ส.อ่างทอง นอกจากนี้ยังต้องจับตาดูงบประมาณการจัดซื้ออาวุธของกระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะ "เรือดำน้ำ" ที่เลื่อนมาแล้ว 2 ครั้ง