นายสุขุม นวลสกุล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ในฐานะนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ เปิดเผยว่า ผลการลงมติรับหลัก การร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจำนวน 13 ฉบับของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวาระแรกเมื่อคืนนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของคะแนน เสียงของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) หากเรื่องใดไม่ได้รับการสนับสนุนจาก ส.ว.ก็จะไม่ผ่านการลงมติของรัฐสภา
"อย่างน้อยก็ทำให้เห็นถึงความสำคัญของเสียง ส.ว.ถ้าไม่เอาด้วยก็ไม่ผ่าน ถึงแม้คะแนนปอปปูลาร์โหวตจะเกินกึ่งหนึ่ง (367 เสียง) แต่คะแนนของ ส.ว.ไม่ถึง 1 ใน 3 (84 เสียง) ตามที่กฎหมายกำหนดไว้" นายสุขุม กล่าว
ในการอภิปรายร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะเห็นว่า ส.ว.ไม่ได้เห็นด้วยกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ที่เป็นแกนนำ พรรคร่วมรัฐบาล โดยคัดค้านในประเด็นที่เสนอแก้ไขมาตรา 144 และมาตรา 185 ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต ซึ่งสอดคล้อง การความเห็นของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ที่ส่งสัญญาณไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้
"การอภิปรายครั้งนี้ถือว่าพลิกล็อกที่ ส.ว.ไม่ได้เห็นด้วยกับร่างฯ ของพรรคพลังประชารัฐ และแสดงให้เห็นว่าไม่ใช่อุปสรรค ต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเลือกที่จะสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญบางฉบับ แต่เป็นฉบับที่ไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปิดสวิทซ์ ส.ว." นาย สุขุม กล่าว
ถึงแม้การเสนอญัตติร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายฉบับจะตกไป เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมร่วมรัฐสภา แต่ ก็คงจะมีการเสนอญัตติกลับเข้ามาให้พิจารณากันใหม่ เพราะการแก้ไขเพียงบางมาตราจะไม่ทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดความสมบูรณ์ ดัง นั้นจึงต้องมีการแก้ไขในมาตราอื่นที่เชื่อมโยงกันด้วย ซึ่งถือเป็นความพยายามที่จะผลักดันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้ได้ โดยมีเป้าหมาย สำคัญอยู่ที่การเสนอจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้เข้ามาดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ
"ความพยายามผลักดันให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญคงมีเรื่อยๆ ด้วยการเสนอญัตติเข้ามาใหม่ จนกว่าจะมีกฎหมายประชามติออก มาบังคับใช้ ซึ่งเป็นการปลดล็อกให้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับด้วยการเสนอตั้ง ส.ส.ร. แต่จะเป็นไปได้หรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผล การทำประชามติที่ออกมา ไม่ใช่แค่การอ้างเสียงสนับสนุนจากประชาชนอย่างเลื่อนลอย" นายสุขุม กล่าว
ผลการลงมติรับหลักการร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
เนื้อหา ผู้เสนอ เห็นชอบ (ส.ส./ส.ว.) ไม่เห็นชอบ งดออกเสียง 1.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 3 แก้ไขมาตรา พลังประชารัฐ 334 (334/0) 199 75 29, 41, 45, 83, 85, 86, 90, 91, 92, 94, 144, 185 และ 270 2.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 25, 29, 29/1, เพื่อไทย 399 (393/6) 136 171 34, 45, 47, 49/1 และ 129 3.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83, 85, 86, เพื่อไทย 376 (340/36) 89 241 90, 91, 92 และยกเลิกมาตรา 93, 94 4.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 159 และ เพื่อไทย 455 (440/15) 101 150 ยกเลิกมาตรา 272 5.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 6, ยกเลิก เพื่อไทย 327 (326/1) 150 229 มาตรา 65, แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 142, 162 และยกเลิกมาตรา 270, 271, 275, 279 6.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 65 ภูมิใจไทย 454 (419/35) 86 166 7.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมหมวด 5 ภูมิใจไทย 476 (421/55) 78 152 แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 55/1 8.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 29, 43, 46 ประชาธิปัตย์ 469 (421/48) 75 162 และ 72 9.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 256 ประชาธิปัตย์ 415 (400/15) 102 189 10.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 236, 237 ประชาธิปัตย์ 431 (398/33) 97 178 11.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 159 และ ประชาธิปัตย์ 461 (440/21) 96 149 ยกเลิกมาตรา 272 12.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 76/1, ประชาธิปัตย์ 457 (407/50) 82 167 76/2, 249, 250, 251, 252, 253, 254 และเพิ่มมาตรา 250/1 13.ร่างฯ แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 83 และ 91 ประชาธิปัตย์ 552 (342/210) 24 130