นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) ในฐานะผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร กล่าว ว่า ภาพรวมในการรับสมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) วันแรกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีผู้มายื่นใบสมัครทั้งสิ้น 20 คน เป็นชาย 14 คน หญิง 6 คน ผู้สมัครอายุมากที่สุด 72 ปี อายุน้อยที่สุด 43 ปี ประกอบด้วย
เบอร์ 1 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ลงสมัครในนามพรรคก้าว ไกล
เบอร์ 2 พันโทหญิง ฐิฎา รังสิตพล มานิตกุล อดีต ส.ส.ลงสมัครในนามอิสระ
เบอร์ 3 นายสกลธี ภัททิยกุล อดีตรองผู้ว่าฯ กทม. ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 4 นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อดีตอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
ลงสมัครในนามพรรคประชาธิปัตย์
เบอร์ 5 นายวีระชัย เหล่าเรืองวัฒนะ อดีตนักวิชาการ ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 6 พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กทม. ลงสมัครในนามอิสระ กลุ่มรักษ์กรุงเทพ เบอร์ 7 นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.สรรหา ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 8 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม รัฐบาลทักษิณ ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 9 นางสาววัชรี วรรณศรี อดีตผู้บริหารธุรกิจ ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 10 นายศุภชัย ตันติคมน์ อดีตที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 11 นาวาอากาศตรี ศิธา ทิวารี อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐบาลทักษิณ ลงสมัครในนาม
พรรคไทยสร้างไทย
เบอร์ 12 นายประยูร ครองยศ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กทม.
ลงสมัครในนามอิสระ
เบอร์ 13 นายพิศาล กิตติเยาวมาลย์ ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 14 นายธเนตร วงษา นักธุรกิจ ลงสมัครในนามอิสระ
เบอร์ 15 พลอากาศตรี ทูตปรีชา เลิศสันทัดวาที ลงสมัครในนามอิสระ
เบอร์ 16 นางสาวศศิกานต์ วัฒนจันทร์ อดีตผู้บริหารธุรกิจ ลงสมัครในนามกลุ่มใส่ใจ เบอร์ 17 นายอุเทน ชาติภิญโญ อดีตหัวหน้าพรรคคนไทย ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 18 นางสาวสุมนา พันธุ์ไพโรจน์ อดีตหัวหน้าฝ่ายพัฒนาชุมชนฯ สำนักงานเขตบางกอกใหญ่
ลงสมัครในนามอิสระ
เบอร์ 19 นายไกรเดช บุนนาค นักธุรกิจ ลงสมัครในนามอิสระ เบอร์ 20 นางอมรพรรณ อุ่นสุวรรณ ลงสมัครในนนามอิสระ
ส่วนผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ในวันแรกมีจำนวน 343 ราย โดยเขตที่มีผู้สมัครมากสุด 9 ราย ได้แก่ ธนบุรี, จอมทอง และ วังทองหลาง ส่วนเขตที่มีผู้สมัครน้อยสุด 5 ราย ได้แก่ ดุสิต และป้อมปราบศัตรูพ่าย
ทั้งนี้ จะมีการรับสมัครต่อเนื่องไปโดยไม่เว้นวันหยุดราชการจนถึงวันที่ 4 เม.ย.65 เวลา 16.00 น.
นายสำราญ ตันพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ได้เน้นย้ำให้ผู้สมัครฯ รีบ ดำเนินการแจ้งช่องทางการหาเสียงเลือกตั้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่ามีช่องทางใดบ้างและมีค่าใช้จ่ายเท่าไร แจ้งรายชื่อและจำนวนผู้ช่วย หาเสียง พาหนะที่ใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง สถานที่หรือเวทีหาเสียงเลือกตั้ง เพื่อใช้ในการคำนวณงบประมาณในการหาเสียงเลือกตั้ง โดยให้ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร ณ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร B ภายใน 90 วัน นับจากวันที่ ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วันที่ 25 มีนาคม 2565 เพื่อให้เป็นไปตาม ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้ายการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ. ศ. 2563 ทั้งนี้วงเงินในการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครต้องไม่เกิน 49 ล้านบาท ส่วนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร 0.8 -1.2 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และประชากร ผู้สมัครที่กระทำผิดจะถูกเพิกถอนสิทธิในการเลือกตั้ง 5 ปี
ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร ได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดสถานที่ปิดประกาศและติด แผ่นป้ายเกี่ยวกับเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยกำหนดจำนวน หลักเกณฑ์ และสถานที่ปิด ประกาศ รวมทั้งสถานที่ห้ามปิดประกาศไว้อย่างชัดเจน อาทิ สถานที่ปิดประกาศ ได้แก่ บริเวณป้ายปิดประกาศของสำนักงานเขต โรงเรียน สังกัดกรุงเทพมหานคร และหน่วยงานในสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยให้ผู้สมัครปิดประกาศได้สถานที่ละ 1 แผ่น เท่านั้น และต้องแจ้งขอปิด ประกาศต่อหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายของสถานที่นั้น ๆ
ส่วนสถานที่ห้ามปิดประกาศ ได้แก่ ผิวการจราจร เกาะกลางถนน สะพานลอยคนข้ามและสะพานลอยรถข้าม รวมทั้งส่วน ประกอบของสะพาน รั้วและแผงเหล็กริมถนน ป้ายจราจรและสัญญาณไฟจราจร ป้ายประกาศของทางราชการ รั้วหรือกำแพงหรือผนังอาคาร ของทางราชการ ต้นไม้และเสาไฟฟ้าบริเวณเกาะกลางถนน เป็นต้น รวมถึงการปิดประกาศตามระเบียบของการไฟฟ้านครหลวง โดยขอให้ ผู้สมัครศึกษารายละเอียด และปฏิบัติตามข้อกำหนดของประกาศอย่างเคร่งครัด