นิด้าโพล เผยผลสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/2565 โดยบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้พบว่า
- อันดับ 1 ร้อยละ 24.16 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้
- อันดับ 2 ร้อยละ 21.60 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานในอดีตของตระกูลชินวัตร
- อันดับ 3 ร้อยละ 10.56 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะต้องการเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ชื่นชอบอุดมการณ์ทางการเมือง และชื่นชอบนโยบายของพรรคก้าวไกล
- อันดับ 4 ร้อยละ 10.12 ระบุว่าเป็น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ นโยบายสามารถช่วยเหลือประชาชนได้จริง และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง
- อันดับ 5 ร้อยละ 9.12 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะชื่นชอบผลงานในอดีต มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่อสัตย์สุจริต ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ
- อันดับ 6 ร้อยละ 6.28 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจริงทำจริง มีความน่าเชื่อถือ มีความซื่อสัตย์สุจริต และเชื่อมั่นในการทำงาน
- อันดับ 7 ร้อยละ 2.56 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
- อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายพรรคภูมิใจไทย
- อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะเป็นคนที่พูดจริงทำจริงและมีความน่าเชื่อถือ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
- อันดับ 10 ร้อยละ 2.16 ระบุว่าเป็น นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เพราะมีความรู้ความสามารถ ตั้งใจในการทำงาน ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบแนวคิดและทัศนคติในการทำงาน
- อันดับ 11 ร้อยละ 2.12 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนา) เพราะมีความรู้ ความสามารถเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา
- อันดับ 12 ร้อยละ 1.92 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (พรรคสร้างอนาคตไทย) เพราะมีความรู้ความสามารถเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ เป็นคนที่พูดจริงทำจริงและมีความน่าเชื่อถือ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เชื่อมั่นในการทำงาน
- อันดับ 13 ร้อยละ 1.68 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 3.12 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนา) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ (พรรคประชาธิปัตย์) นายศิรสิทธิ์ เลิศด้วยลาภ (พรรคเพื่อไทย) และ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร (พรรคก้าวไกล)
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/65 เดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊ง) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และนายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนา) มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ผู้ที่ระบุว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และนายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะสนับสนุนในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.44 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย, อันดับ 2 ร้อยละ 24.00 ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย, อันดับ 3 ร้อยละ 13.56 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล, อันดับ 4 ร้อยละ 7.56 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์, อันดับ 5 ร้อยละ 5.56 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ, อันดับ 6 ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย, อันดับ 7 ร้อยละ 2.56 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย, อันดับ 8 ร้อยละ 2.44 ระบุ ไม่ตอบ/ไม่สนใจ, อันดับ 9 ร้อยละ 2.32 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย, อันดับ 10 ร้อยละ 1.00 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนา และร้อยละ 3.52 ระบุอื่นๆ ได้แก่ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคประชาชาติ พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) และพรรคไทยศรีวิไลย์
เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/65 เดือนมิถุนายน 2565 พบว่า ผู้ที่ระบุว่า พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล และพรรคพลังประชารัฐ มีสัดส่วนลดลง ในขณะผู้ที่ระบุว่า ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย ผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคชาติพัฒนา มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง คะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 3/2565 ระหว่างวันที่ 15-21 กันยายน 2565 โดยเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์