สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชี้แจงไทม์ไลน์ในการดำเนินการเตรียมความพร้อมการเลือกตั้งส.ส.ที่จะครบ อายุของสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ 23 มี.ค.นี้ หรือในกรณีที่หากจะมีการยุบสภาฯ ก่อนครบวาระ
*การดำเนินการก่อนกม.ลูกมีผลบังคับใช้
โดยการเตรียมความพร้อมในช่วงก่อนที่พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกส.ส. มีผลบังคับใช้ สำนักงานกกต. ได้ มอบหมายให้สำนักงานกกต.ประจำจังหวัดทุกจังหวัด และกรุงเทพมหานคร จัดเตรียมข้อมูลและพื้นที่ พร้อมทั้งจัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือก ตั้งอย่างน้อยจังหวัดละ 3 รูปแบบ เพื่อใช้ในการรับฟังความคิดเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัด เป็นเวลา 30 วัน โดยจัดเตรียมข้อมูลที่ถือตามจำนวนราษฎรที่ประกาศปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้งไว้ให้พร้อมดำเนินการได้ทันทีเมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ กกต. ยังไม่สามารถดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งได้ เนื่องจาก พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกส.ส.(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ.2566 ยังไม่มีผลบังคับใช้ เพราะการแบ่งเขตเลือกตั้งจะชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อกกต.มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้อำนาจในการ ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น
*การดำเนินการหลังกม.ลูกมีผลบังคับใช้ (29 ม.ค.)
เมื่อวันที่ 30 ม.ค.66 ซึ่งเป็นวันถัดจากพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มีผลบังคับใช้ กกต.ได้เห็นชอบ ร่างระเบียบ/ประกาศที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง จำนวน 5 ฉบับ คือ
1) ร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ....
2) ร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือตั้งและเขตเลือกตั้งของ แต่ละจังหวัด สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาแทนราษฎรเป็นการทั่วไปครั้งแรก ภายหลังประกาศใช้รัฐชรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไข เพิ่มติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ. 2564
3) ร่างประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง การจัดตั้งสาขาพรรคการเมืองและการแต่งตั้งตัวแทนพรรคการเมือง ประจำจังหวัด พ.ศ.....
4) ร่างระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าตัวยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ....
5) ร่างประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดประชุมสมาชิกพรรคการเมือง เพื่อรับฟังความคิด เห็นการสรรหาผู้สมัศรรับเสือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ....
โดยร่างประกาศ ตามข้อ (1) และ (2) ไต้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
นอกจากนี้ เมื่อระเบียบ/ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เกี่ยวข้อง ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใชับังคับ แล้ว สำนักงานกกต.ได้ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนดทันที ซึ่งต้องดำเนินการให้ครบ ทุกขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด แต่จะเร่งรัดระยะเวลาสำเนินการในแต่ละขั้นตอนให้น้อยลงหรือรวดเร็วขึ้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้
- ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำรูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่าง
- ปิดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตลือกตั้งเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากพรรคการเมืองและประชาชนในจังหวัดเป็นเวลา 30 วัน
- สำนักงาน กกต.ประจำจังหวัดทุกจังหวัดและกรุงเทพหานคร รวบรวมความเห็นของพรรคการเมืองและประชาชนเพื่อจัดทำ
- กกต.ประชุมเพื่อพิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 77 จังหวัด 364 เขตเลือกตั้ง
- ส่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ทั้งนี้ เมื่อประกาศเขตลือกตั้งแล้วพรรกการเมืองจะได้นำไปใช้ในการดำเนินการสรรหา ผู้สมัครรับเลือกตั้งต่อไป
ในส่วนการนับจำนวนราษฎรเพื่อนำมาใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง กกต.ชี้แจงว่า ตามรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้ใช้จำนวนราษฎร ทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนปีที่มีการเลือกตั้ง
ซึ่งสำนักทะเบียนกลางได้มีประกาศจำนวนราษฎรทั้งประเทศตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 และได้นำประกาศดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนั้นการแบ่งเขตแลือกตั้งของสำนักงาน กกต.จึงเป็นไปตามรัฐ ธรรมนูญฯ แล้ว
กรอบระยะเวลาการแบ่งเขตเลือกตั้งส.ส. (รวม 29 วัน) -วันที่ 31 ม.ค.66 - มีประกาศกกต. เรื่องการแบ่งเขตเลือกตั้งส.ส. พ.ศ.2566 - มีประกาศกกต.เรื่องจำนวนสมาชิกแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และเขตเลือกตั้งของแต่ละจังหวัด -วันที่ 1-3 ก.พ.66 - ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งอย่างน้อย 3 รูปแบบ -วันที่ 4-13 ก.พ.66 - ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดปิดประกาศรูปแบบการแบ่งเขตการเลือกตั้ง เพื่อรับฟัง ความเห็นพรรคการเมืองและประชาชน -วันที่ 14-16 ก.พ.66 - ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดสรุปความเห็นพรรคการเมืองและประชาชน และเสนอ รูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้งพร้อมข้อเสนอแนะให้ กกต. -วันที่ 20-28 ก.พ.66 - กกต.พิจารณารูปแบบการแบ่งเขตเลือกตั้ง