สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เผยแพร่รายละเอียดนโยบายหาเสียงของ 70 พรรคการเมืองที่ได้ชี้แจงตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 57 เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ถึงแนวทางการใช้งบประมาณรายจ่ายในการพัฒนาประเทศ หากพรรคการเมืองนั้นได้รับเลือกตั้งมาเป็นรัฐบาล
โดยพรรคเพื่อไทย (พท.) ใช้งบมากสุดกว่า 3 ล้านล้านบาท กับ 70 โครงการ ซึ่งมาจากการบริหารจัดการงบประมาณประจำปี เงินกู้ และเงินนอกงบประมาณ ได้แก่ โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล ใช้งบ 5.6 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากการบริหารงบประมาณประจำปีและภาษี ประกอบด้วย ประมาณการรายได้ 2.6 แสนล้านบาท, ภาษีที่ได้จากผลคูณต่อเศรษฐกิจจากนโยบาย 1 แสนล้านบาท, การบริหารจัดการงบประมาณ 1.1 แสนล้านบาท และการบริหารจัดการงบสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 9 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมีโครงการบริหารจัดการน้ำ ใช้งบ 5 แสนล้านบาท, โครงการสวัสดิการผู้สูงอายุ 3 แสนล้านบาท, โครงการเงินสมทบคนสร้างตัว 9 หมื่นล้านบาท, โครงการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงทั่วประเทศ ใช้งบปีละ 8 หมื่นล้านบาท, โครงการค่าโดยสารรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ใช้งบ 4 หมื่นล้านบาท+ปีละ 8 พันล้านบาท, โครงการเชื่อมโยงรถไฟขนส่งสินค้าจากลาวสู่ท่าเรือแหลมฉบังและสนามบินสุวรรณภูมิ ใช้งบปีละ 4.5 หมื่นล้านบาท, โครงการเงินเดือนปริญญาตรี 2.5 หมื่นบาท ใช้งบ 4 หมื่นล้านบาท, โครงการส่งเสริมและสนับสนุนเอสเอ็มอี ใช้งบ 3 หมื่นล้านบาท, โครงการ One Tablet per Child with free internet ใช้งบ 2.9 หมื่นล้านบาท, โครงการยกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค ใช้งบ 2 หมื่นล้านบาท, โครงการพักหนี้เกษตรกร 3 ปี ใช้งบ 8 พันล้านบาท เป็นต้น
ขณะที่พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ใช้งบราว 1 ล้านล้านบาท ซึ่งมาจากการบริหารจัดการงบประมาณประจำปี ได้แก่ โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ 495,658 ล้านบาท, โครงการแม่-บุตร-ธิดาประชารัฐ ใช้งบ 174,216 ล้านบาท, โครงการบัตรประชารัฐ ใช้งบ 128,392 ล้านบาท, โครงการกองทุนประชารัฐ 1 แสนล้านบาท, โครงการเรียนฟรีถึงปริญญาตรี ใช้งบ 5.2 หมื่นล้านบาท, โครงการบริหารจัดการน้ำ ใช้งบปีละ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งใช้วิธีการบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ
ส่วนพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ใช้งบกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งมาจากงบประมาณประจำปี ได้แก่ โครงการลดต้นทุนเกษตรกร ใช้งบปีละ 6 พันล้านบาท, โครงการเพิ่มเงินสมทบของภาครัฐให้แรงงานในระบบประกันสังคมมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท/เดือน ใช้งบปีละ 2.9 หมื่นล้านบาท, โครงการ 1 อำเภอ 100 ทุนการศึกษา ใช้งบปีละ 1 พันล้านบาท, โครงการกองทุนฉุกเฉินประชาชน ใช้งบ 3 หมื่นล้านบาท
โครงการบัตรสวัสดิการพลัส ใช้งบปีละ 7.1 หมื่นล้านบาท, โครงการคนละครึ่งภาค 2 ใช้งบ 4 หมื่นล้านบาท, โครงการเที่ยวด้วยกันเมืองรองภาค 2 ใช้งบปีละ 1.8 หมื่นล้านบาท, โครงการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ ใช้งบปีละ 4 หมื่นล้านบาท, โครงการช่วยเหลือดูเด็กแรกเกิด ใช้งบปีละ 4 พันล้านบาท, โครงการกองทุนพ่อ-แม่เลี้ยงเดี่ยว ใช้งบปีละ 1 พันล้านบาท, โครงการค่าตอบแทน อปพร.ใช้งบปีละ 1 หมื่นล้านบาท
พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ใช้แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณประจำปี ได้แก่ โครงการกองทุนประกันชีวิตผู้สูงอายุ ใช้งบ 3.7 หมื่นล้านบาท, โครงการน้ำสะอาด ใช้งบ 6.87 พันล้านบาท, โครงการภาษีบ้านเกิดเมืองนอน 1.01 แสนล้านบาท, โครงการเพิ่มค่าตอบแทน อสม.และ อสส.ใช้งบปีละ 2 พันล้านบาท, โครงการเงินกู้ฉุกเฉิน (ปรับวิธีการบริหารงบ), โครงการส่งเสริมการใช้กัญชากัญชงเพื่อการแพทย์ (ไม่ใช้งบ), โครงการปุ๋ยดีราคาถูก ใช้งบ 1 หมื่นล้านบาท, โครงการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจภาคใต้ ใช้งบ 1.7 ล้านล้านบาท
พรรคชาติพัฒนากล้า (ชพก.) ใช้แนวทางการบริหารจัดการงบประมาณประจำปีและการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน ได้แก่ โครงการมอเตอร์เวย์ทั่วไป ใช้งบ 2.5 แสนล้านบาท, โครงการกองทุนซอฟท์พาวเวอร์ 1 หมื่นล้านบาท, โครงการทุนธุรกิจสร้างสรรค์ ใช้งบปีละ 2.5 พันล้านบาท, โครงการรื้อโครงสร้างพลังงาน ใช้งบ 1 แสนล้านบาท, โครงการเด็กไทย 3 ภาษา ใช้งบปีละ 3 หมื่นล้านบาท, โครงการราชการ 1 คำขอ ใช้งบ 1 พันล้านบาท, โครงการปรับปรุงบ้านเพื่อผุ้สูงอายุและคนพิการ ใช้งบปีละ 1.25 หมื่นล้านบาท, โครงการสูงวัยไฟแรง ใช้งบปีละ 3 หมื่นล้านบาท, โครงการเศรษฐกิจเฉดสี ใช้งบ 8.1 หมื่นล้านบาท, โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคอีสาน, โครงการโคราชเมืองคมนาคม ใช้งบ 1.7 หมื่นล้านบาท, โครงการโคราชเมืองอาหาร ใช้งบ 2 พันล้านบาท, โครงการโคราชเมืองท่องเที่ยวอินเตอร์ ใช้งบ 2 พันล้านบาท, โครงการโคราชเมืองน้ำไม่ท่วมไม่แล้ง ใช้งบ 2.3 หมื่นล้านบาท
โครงการเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด 6.72 หมื่นล้านบาท, โครงการการศึกษาระดับโลกเท่าเทียมทั่วไป ใช้งบ 1 พันล้านบาท, โครงการราชการ-งบประมาณโปร่งใส ใช้งบ 500 ล้านบาท, โครงการรัฐช่วยค่าขนส่ง ใช้งบปีละ 2.5 พันล้านบาท, โครงการกองทุน รพสต. ใช้งบปีละ 2.4 หมื่นล้านบาท, โครงการ Food security hub ใช้งบ 500 ล้านบาท, โครงการ Preventive medicine ใช้งบปีละ 5 พันล้านบาท, โครงการพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก ใช้งบปีละ 1.2 หมื่นล้านบาท, โครงการสะพานข้ามสุราษฎร์ฯ-สมุย ใช้งบ 1.7 หมื่นล้านบาท, โครงการหมอประจำครอบครัว ใช้งบ 800 ล้านบาท
พรรคก้าวไกล (ก.ก.) นำเสนอโครงการที่สอดคล้องกับวิธีการบริหารจัดการงบประมาณประจำปี รวมกับรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บรายได้รูปแบบใหม่และปรับปรุงระบบภาษีปีละ 6.5 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการสวัสดิการสูงอายุ 5 แสนล้านบาท, โครงการเพิ่มงบจังหวัดจัดการตนเอง ใช้งบ 2 แสนล้านบาท, โครงการสวัสดิการทุกช่วงวัย 9.85 หมื่นล้านบาท, โครงการสวัสดิการทำงาน 5.6 หมื่นล้านบาท, โครงการปลดหนี้เกษตรกร ใช้งบ 5.25 หมื่นล้านบาท, โครงการสวัสดิการเกิด ใช้งบ 5 หมื่นล้านบาท
โครงการสวัสดิการเติบโต ใช้งบ 4.46 หมื่นล้านบาท, โครงการส่งเสริมเอสเอ็มอี 4.4 หมื่นล้านบาท, โครงการฟื้นฟูผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล ใช้งบ 3.33 หมื่นล้านบาท, โครงการเรียนฟรี ใช้งบ 3.3 หมื่นล้านบาท, โครงการลดต้นทุนเกษตรกร ใช้งบ 3 หมื่นล้านบาท, โครงการสร้างงานสร้างรายได้ ใช้งบ 2.5 หมื่นล้านบาท, โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 1.7 หมื่นล้านบาท, โครงการปฏิรูปกองทัพ ใช้งบ 1.2 หมื่นล้านบาท, โครงการคมนาคมเพื่อทุกคน ใช้งบ 1 หมื่นล้านบาท
พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ใช้งบ 6.85 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินนอกงบประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ได้แก่ โครงการส่งเสริมสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอี ใช้งบ 3 แสนล้านบาท, โครงการธนาคารหมู่บ้านและชุมชน ใช้งบ 1.6 แสนล้านบาท, โครงการอุดหนุนชาวนาครัวเรือนละ 3 หมื่นบาท ใช้งบ 9.7 หมื่นล้านบาท, โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร ใช้งบ 7 หมื่นล้านบาท, โครงการต่อยอดเกษตรแปลงใหญ่ ใช้งบ 3 หมื่นล้านบาท, โครงการนมโรงเรียน 2.07 หมื่นล้านบาท