นโยบายปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ จะเกิดขึ้นได้จริงหรือ !? หลังเห็นตัวเลขที่รัฐบาลเพื่อไทยประกาศออกมาว่าเฟสแรกปรับเป็น 400 บาทภายในปี 67 และเฟสถัดไปปรับเป็น 600 บาทภายในปี 70 ชาวเน็ตก็ถกกันสนั่น ทั้งการปรับเรทนี้เหมาะสมมั้ย แรงงานไทยได้ประโยชน์จริงหรือเปล่า ผู้ประกอบการล่ะจะอยู่ยังไง ที่สำคัญถ้าค่าแรงปรับขึ้น ข้าวของก็จะแพงขึ้นตามไปด้วยใช่มั้ย !?
*"รัฐมนตรีแต่ละคนที่เข้ามา มีแต่นักธุรกิจ"
อีกหนึ่งประโยคจากตัวแทนฝั่งลูกจ้างที่เปิดเผยกับ "อินโฟเควสท์" ที่มีมุมมองว่าการปรับขึ้นค่าแรงไม่สำคัญว่าปรับขึ้นกี่บาท แต่อยู่ที่ว่ากระทรวงพาณิชย์ สามารถควบคุมราคาสินค้าไม่ให้พุ่งกว่านี้ได้มั้ย เพราะถ้าเกิดไม่ได้ปรับขึ้นทุกคน คนที่รายได้เท่าเดิมก็อยู่ยาก ต้องลำบากจ่ายเงินซื้อของที่แพงขึ้นไปอีก และแท้ที่จริงแล้ว เมื่อนักการเมืองหาเสียงว่าจะขึ้นค่าแรงเท่านั้นเท่านี้ เขาไม่สามารถทำได้ตามที่หาเสียงไว้ เพราะการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นอำนาจของคณะกรรมการค่าจ้าง ไม่มีเรื่องการเมืองมาแทรกแซงได้ !?
*"การที่จะจ้างแรงงานให้แพง สามารถจ้างได้ แต่คุณมี Skill หรือเปล่า"
ตัวแทนฝั่งนายจ้าง คิดเห็นว่าการปรับค่าแรงแบบนี้เป็นการปรับกระชาก ต้องไม่ลืมคิดถึงธุรกิจของคนตัวเล็กอย่าง SME ที่เจ็บหนักจากโควิด กำลังจะพ้นอาการโคม่า ก็ต้องเจอกับต้นทุนตัวใหม่อย่างค่าแรงที่เพิ่มขึ้น เพราะการปรับค่าแรงขั้นต่ำไม่ได้ปรับแค่คนแรกเข้าเท่านั้น คนเก่าที่อยู่ก่อนก็ควรต้องปรับขึ้นด้วย แต่ถึงอย่างนั้นฝั่งนายจ้างก็เห็นด้วยกับการปรับขึ้นค่าแรงทุกปีอย่างเหมาะสมให้ทันกับค่าครองชีพ แต่ฝั่งของลูกจ้างเองก็ต้องอัพสกิล พัฒนาทักษะเช่นกัน เพราะเจ้าของธุรกิจทุกคนก็ยินดีที่จะจ่ายให้กับแรงงานที่ทำให้ธุรกิจของเขาเติบโต !!
""Talk Time" วันนี้จะพาไปทอล์คกับนายอภิชิต ประสพรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ นายพิจิตร ดีสุ่ย รองประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ที่แต่ละฝ่ายได้วิเคราะห์นโยบายนี้ไว้อย่างเจาะลึกว่าใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ พร้อมข้อเสนอแนะถึงรัฐบาลว่าถ้านโยบายนี้เกิดขึ้นจริงประเทศไทยจะต้องเจอกับอะไร !?
https://youtu.be/BTRrFDLycjI