นายกรัฐมนตรี เสนอให้แกนนำ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย (นปช.) ไม่นำเรื่อง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีออกจากการเจรจา เพื่อนำบ้านเมืองกลับเข้าสู่ความสงบเรียบร้อย ขณะนี้ แกนนำ นปช.ยังไม่เปิดเจรจากับรัฐบาล จากที่พยายามเรียกร้องให้ยุบสภา ทำให้ไม่แน่ใจว่า การยุบสภาจะเป็นคำตอบสุดท้าย
"ปัญหาก็คือว่า กลัวอะไร ที่ทำให้คนเสื้อแดงหรือแกนนำ ไม่มาคุย ผมก็ตอบได้อย่างเดียว เท่าที่จับสัญญาณได้ คือคุณทักษิณ เป็นอุปสรรคต่อการพุดคุยในขณะนี้ คำถามคือตกลง แกนนำเสื้อแดงจะเอาประเด็นประชาธิปไตยเป็นตัวตั้งหรือจะเอาคุณทักษิณเป็นตัวตั้ง ถ้าเอาประชาธิปไตยเป็นตัวตั้ง มาคุยกัน ถ้าเอาคุณทักษิณเป็นตัวตั้งนั่นก็หมายถึง การเรียกร้องไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวผ่านรายการ"เรื่องเล่าเสาร์-อาทิตย์"
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเองไม่ได้เป็นฝ่ายปฏิเสธการพูดคุย และการพูดคุยเริ่มจากแกนนำนปช. แต่เห็นว่ามีแนวโน้มว่าคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนอาสาจะเข้ามาเป็นตัวกลางในการเจรจา แต่พ.ต.ท.ทักษิณ ประกาศทันทีไม่ยอมรับกรรมการสิทธิมนุษยชน จึงเกิดคำถามว่าการตัดสินใจเป็นของแกนนำ หรือ พ.ต.ท.ทักษิณ
ทั้งนี้ หากตนเองจะเจรจาเพื่อประโนชน์ส่วนรวม การยบุสภา เพื่อให้ประชาธิปไตย จะมีการเลือกตั้งอย่างไร จะต้องไม่มีการก่อกวนรุนแรง เพราะฉะนั้นพูดคุยกันได้ แต่ถ้าไปคุยไม่ยอมรับคำพิพากษาของศาล ไม่ใช่เรื่องผม การกระทำของพ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเขาไม่มีสิทธิอะไรไปยกประโยชน์ให้พ.ต.ท.ทักษิณ
การชุมนุมก็ชุมนุมได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และบางเรื่องไม่ใช่ประเด็น เช่นเรื่องอำมาตย์ เรื่องไพร่ ซึ่งเป็นการสร้างความชัดแย้งกันมากขึ้นในสังคม ซึ่งไปอ้างชนชั้น แต่ความเหลื่อมล่ำทางเศรษฐกิจมีอยุ่ แน่นอน ยกตัวอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณกับผู้ชุมนุม แต่มีประโยชน์อะไรให้คนเกลียดชังกัน
แต่การเอาความเหลื่อมล้ำของคนเพื่อมายุยง และเอาคลิปเสียงตัดต่อของตนเองซึ่งตนฟ้องศาลแล้วแต่ไม่หยุดใช้ เพียงเพื่อสร้างให้คนเกลียดชัง มาชุมนุมอันนี้คือการสร้างความแตกแยก แต่ถ้าวิพากษ์วิจารณ์การบริหารไม่โปร่งใส ผมยินดี แต่ถ้าสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องมาทำให้คนเกลียดชังกัน แตกแยกกัน ถือว่าเป็นการทำลายความสามัคคีของคนไทยด้วยกัน
"ผมอาจเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ไม่ปฏิเสธที่อยู่ไม่ได้ครบเทอม การเรียกร้องให้ยุบสภา ผมก็ยินดีที่จะมีการพูดคุยซึ่งบอกตั้งแต่ปีที่แล้วเพียงแต่ปีที่แล้วภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี แต่ปีนี้ผ่อนคลาย เศรษฐกิจแข็งแรงพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องที่พร้อมจะคุย แต่ล่าสุด คุณทักษิณ ส่งสัญญาณ ไม่ยอมรับ การพูดคุยกัน แต่ถ้าผุ้ชุมนุมบอกว่าให้ยุบสภาแล้วค่อยมาคุย ผมบอกยุบสภาก้ไม่ต้องคุยแล้ว ผมไม่มีเวลาคุยแล้วผมต้องหาเสียง" นายกรัฐมนตรี กล่าว
อย่างไรก็ตาม ถ้าฝ่ายหนึ่งตั้งใจคุยด้วยกัน ไม่เอากรรมการสิทธิฯก็ได้ มีองค์กรที่อยากมาให้พูดคุย แต่ระหว่างการพูดคุย การชุมนุมต้องเป็นไปตามกติกาของรัฐธรรมนูญ
การเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาก็ต้องมาพูดคุยกัน ทั้งเรื่องรัฐธรรมนูญ คือหากยุบสภาแล้วการชุมนุมยังหยุดหรือไม่ ก็ไม่แน่ใจ จะรู้อย่างไรจะไม่มีกลุ่มอื่นต่อต้านไม่เห็นด้วยการเจรจา ฉะนั้น ก็ต้องหาทางออกที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ เพราะต้องพูดคุยให้แน่ใจว่ายุบสภาใช่คือคำตอบสุดท้าย
ทั้งนี้ การชุมนุมยือเยื้อของนปช. ไม่ใช่เป็นเรื่องรัฐบาล แต่ทางนปช.เองไม่มาเจรจา ถ้าไม่มาคุย การชุมนุมก็คงยังมีต่อไปเรื่อยๆ ซึ่งก็ไม่อยากให้บรรยากาศเป็นอย่างนี้ ซึงต้องยอมรับสถานการณ์อย่างนี้จะกระทบกับสถานะของรัฐบาลแต่นายกรัฐมนตรียืนยันพร้อมพูดคุยกับกลุ่มนปช.