นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวเกี่ยวกับแผนการปรองดองและการนิรโทษกรรมให้กับกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งฝ่ายหนึ่งมองว่ารัฐบาลจะปล่อยให้คนที่ใช้ความรุนแรง ก่อการร้าย สร้างความเสียหาย ซึ่งต้องทำความเข้ากันอยู่ตลอดว่าแผนปรองดองไม่ได้หมายความว่าไปละเว้นในการดำเนินการทางกฎหมายกับคนเหล่านี้ แต่อีกด้านหนึ่งมองว่าหากรัฐบาลจะทำการปรองดองแต่ยังมีการจับกุม ดังน้นจึงต้องแยกแยะเรื่องนี้ให้ชีดเจน และงเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกัน
ส่วนการที่ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มอบหมายให้กรมสอบสวยคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ศึกษากฎหมายนิรโทษกรรม เป็นการศึกษาทางเทคนิคกฎหมาย ถ้าไม่มีความจำเป็นก็ไม่จำเป็นต้งออกกฎหมาย เพราะนโยบายของรัฐบาลเห็นชัดว่ากรณีที่ผู้ที่มาชุมนุม แม้ว่าจะผิดพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่รัฐบาลไม่ได้ดำเนินการใดๆ
ขณะที่การดำเนินการกับผู้ที่เคยอยู่ดีเอสไอ ที่ร่วมวางแผนกับกลุ่ม นปช. ตามที่ อธิบดีดีเอสไอ ระบุไว้นั้น ยืนยันว่าหากใครมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดไ จะต้องมีการดำเนินการทุกคน และได้มีการสอบถามอธิบดีดีเอสไอถึงปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ซึ่งรัฐบาลพร้อมจะแก้ไข ไม่ให้มีข้อกังวล
นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่พรรคการเมืองใหม่ ออกมาตำหนิกรณีที่รัฐบาลพยายามตั้งนายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธานตรวจข้อเท็จจริงว่าเป็นการซื้อเวลาและสร้างภาพพจน์ ยืนยันว่าไม่มีอย่างแน่นอน เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น และเกิดความสูญเสีย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาข้อเท็จจริง เพราะมีประชาชนทั้งในประเทศและประชาคมต่างประเทศ ต้องการเห็นการชำระสะสาง เอาข้อเท็จจริงออกมาพิสูจน์ ดังนั้นจึงมีความเป็นที่ต้องตั้งคณะกรรมการ แม้จะตั้งยาก เพราะมีคนที่มีมุมมองที่ต่างกัน มีอารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรงมาก
"ผมถึงได้บอกว่าต้องขอบคุณอาจารย์คณิต ที่ท่านมารับงานนี้ และเราต้องให้อิสระท่าน ขณะนี้ต้องเปิดโอกาสให้ท่าน ไปจัดทีมที่จะมาทำงาน แล้วพิสูจน์ด้วยการทำงาน ว่าจะได้รับการยอมรับนับถือหรือไม่อย่างไร ไม่ง่ายหรอกครับทุกคนก็อยากให้เร็วอยู่แล้ว แต่ขณะนี้ผมคิดว่าท่านก็เดินหน้าไปได้ดี ถ้าเราไม่ตั้งไม่มีการทำอะไรอย่างนี้เลย ก็มีการกล่าวหาอีกว่าไม่โปร่งใส และเมื่อรัฐบาลยืนยันตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการต่างๆต้องตรวจสอบได้ เราก็ต้องทำอย่างนี้ ซึ่งเป็นแนวทางสากล และเราก็พยายามทำให้ดีที่สุด เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า จะให้คณะทำงานสอบข้อเท็จจริงทำงานอย่างอิสระ บนพื้นฐานของความปรองดองและความจริง เพื่อให้หลักธรรมาภิบาลเกิดขึ้น ซึ่งนายคณิต พยายามที่จะดึงทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม แต่การทำงานต้องใช้เวลา