นายอนุสรณ์ พรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงาน เศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ปี 2552 - 2553 ทั้งยางพารา และปาล์มน้ำมัน ราคาพุ่งทะยานจากปี 2552 - 2553 อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งยางแผ่นดิบชั้น 3 และน้ำยางสดมี ราคาพุ่งสูงขึ้นราคาเกิน 100 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่ปาล์มน้ำมันทะลายน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม ก็มีราคาสูงขึ้นเกิน 5.00 บาทต่อกิโลกรัมเช่นเดียวกัน
สำหรับยางแผ่นดิบชั้น 3 ในปี 2552 เดือนมกราคม ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 46.93 บาท เดือนสิงหาคม ราคาเฉลี่ยสูง ขึ้นอยู่ที่ 63.11 บาท และเดือนธันวาคมพุ่งทะยานสูงขึ้นต่อไปอีกเฉลี่ยอยู่ที่ 83.32 บาท โดยเมื่อย่างเข้าสู่ต้นปี 2553 ใน เดือนมกราคม ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ก็ยังพุ่งสูงขึ้นต่อไปอีกเฉลี่ยอยู่ที่ 92.55 บาท จนราคาพุ่งสูงเกิน 100 บาท นับเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคมที่มีราคาเฉลี่ย 100.93 บาท และพุ่งขึ้นสูงสุดในเดือนเมษายน ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 113.44 บาท ต่อจากนั้นในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนราคามีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวเฉลี่ยอยู่ที่ 106.91 บาท และ 109.17 บาท ตามลำดับ ซึ่งขณะนี้มี่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 102.11 บาท ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา
ส่วนน้ำยางสดก็เช่นเดียวกันในปี 2552 พบว่า ในเดือนมกราคมมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 49.36 บาท เดือนสิงหาคม เพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ย 59.90 บาท และเดือนธันวาคมพุ่งทะยานสูงขึ้นอยู่ที่ 78.16 บาท และเมื่อย่างเข้าสู่ปี 2553 เดือน มกราคมราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 90.08 บาท และราคาทะยานเกิน 100 บาท ตั้งแต่เดือนมีนาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 101.06 บาท เดือนเมษายนเฉลี่ยอยู่ที่ 101.68 บาท และพฤษภาคมเฉลี่ยอยู่ที่ 102.67 บาท ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาได้ ทะยานพุ่งสูงสุดในเดือนมิถุนายนเฉลี่ยอยู่ที่ 104.41 บาท และเมื่อถึงเดือนกันยายน ราคาเฉลี่ยคงอยู่ที่ 101.50 บาท โดยมีต้นทุนการผลิตของยางแผ่นดิบแห้งเพียง 42.83 บาทเท่านั้น
ทางด้านปาล์มน้ำมันทะลายน้ำหนักเกิน 15 กิโลกรัม ในปี 2552 พบว่า เดือนมกราคมมีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 3.53 บาท เดือนมิถุนายนราคาปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.28 บาท และเดือนธันวาคมราคาปรับตัวสูงขึ้นไปอีกเฉลี่ยอยู่ที่ 4.48 บาท เมื่อย่างเข้าสู่ปี 2553 ในเดือนมกราคมราคาเฉลี่ยปรับตัวลดลงเล็กน้อยอยู่ที่ 3.92 บาท จนกระทั่งถึงเดือนมิถุนายน ได้ปรับตัวสูงขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 4.22 บาท และเมื่อเข้าสู่ปลายปีในเดือนกันยายนราคาเฉลี่ยก็พุ่งทะยานสูงสุดอยู่ที่ 5.04 บาท
ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรมีผลผลิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลรักษาเป็น อย่างดี ด้วยการกำจัดวัชพืชอย่างสม่ำเสมอ ใส่ปุ๋ยตามระยะและปริมาณความต้องการ รวมทั้งการป้องกันและกำจัดโรค แมลง และสัตว์ศัตรูพืช ตลอดจนการกรีดยางพาราและการเก็บเกี่ยวโดยต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์เป็นผู้ฝึกสอนและถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกร เป็นต้น