ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้มีมติเห็นชอบมาตรการของกระทรวงการคลังเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2553 เพิ่มเติมจากมาตรการฯ ที่เสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ต.ค.53 ประกอบด้วยมาตรการด้านการเงินและการคลัง ดังนี้
โดยมาตรการด้านการเงินนั้น แบ่งเป็นความช่วยเหลือจาก 8 ธนาคาร ประกอบด้วย 1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แบ่งเป็น 1.1.1 มาตรการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต โดย ธ.ก.ส. ผ่อนผันเงื่อนไข ดังนี้
(1) อัตราดอกเบี้ย
- ปีที่ 1 - 3 คิดดอกเบี้ยอัตรา MRR-2 โดยใน 3 เดือนแรกของปีแรกคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0
- ปีที่ 4 - 5 คิดอัตรา MRR-1
- ตั้งแต่ปีที่ 6 ขึ้นไป คิดดอกเบี้ยอัตรา MRR
(2) ลดหย่อนหลักเกณฑ์การกู้เงินโดยใช้ที่ดินจำนอง หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างจำนองเป็นหลักประกันให้ลูกค้าได้ไม่เกินร้อยละ 80 ของราคาประเมินที่ดิน หรือราคาประเมินที่ดินและราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างรวมกัน
1.1.2 มาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อฟื้นฟูจากปัญหาอุทกภัย เพื่อเป็นการช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถปรับปรุงพัฒนาและซ่อมแซมแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาอุทกภัย ธ.ก.ส. จึงได้ผ่อนปรนเงื่อนไขการให สินเชื่อเป็นกรณีพิเศษ โดยคิดดอกเบี้ยที่อัตรา MLR-2.25
2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยภายหลังที่สถานการณ์น้ำท่วมได้ลดระดับลงแล้ว แบ่งเป็น
กรณีลูกหนี้เดิม
(1) กรณีที่หลักประกันได้รับความเสียหาย
ลดอัตราดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศธนาคาร และให้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 1 ปี
(2) กรณีที่ได้รับผลกระทบเรื่องรายได้ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 1 เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศธนาคาร
(3) กรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0.01 ตลอดระยะเวลากู้ที่เหลืออยู่
(4) กรณีอาคารเสียหายทั้งหลังจนไม่สามารถอยู่อาศัยได้ภาระหนี้ตามยอดหนี้คงเหลือในส่วนของอาคาร
กรณีกู้เพิ่มหรือกู้ใหม่เพื่อปลูกสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิม / ซ่อมแซมอาคารที่ได้รับความเสียหาย ถ้าอาคารได้รับความเสียหาย : อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 5 ปี หลังจากนั้นกรณีรายย่อย MRR -0.5 ต่อปี กรณีสวัสดิการ MRR-1.00 ต่อปี
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(ธพว.) ธพว. ได้จัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยในปี 2553 ประกอบดัวย
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในปี 2553 วงเงิน 5,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ สิ้นสุดวันรับคำขอกู้ 30 เมษายน 2554
คุณสมบัติผู้กู้ จะต้องเป็นผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เป็นบุคคลธรรมดา (ไม่จำกัดอายุ) หรือนิติบุคคล ที่มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และมีสถานประกอบการตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และโคลนถล่มในปี 2553 ตามประกาศของทางราชการ และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์อุทกภัยฯ ไม่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ขายทอดตลาดทรัพย์ ล้มละลาย ยกเว้นคดีลหุโทษ
ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์การกู้ เพื่อใช้ปรับปรุง ซ่อมแซม ฟื้นฟูกิจการ และเป็นเงินทุนหมุนเวียน โดยจะให้วงเงินสินเชื่อต่อราย ไม่เกิน 1,000,000 บาท ตามความจำเป็นของกิจการ เป็นสินเชื่อเงินกู้ยืมแบบมีระยะเวลา (Term Loan) ระยะเวลากู้ยืมสูงสุดไม่เกิน 6 ปี ระยะเวลาปลอดชำระคืนเงินต้น (Grace Period) 2 ปี อัตราดอกเบี้ยจะคิดดอกเบี้ยจากผู้กู้ในอัตราคงที่ร้อยละ 3 ต่อปี ตลอดอายุสัญญากู้ โดยเรียกเก็บดอกเบี้ยจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ในอัตราคงที่ร้อยละ 2 ต่อปีตลอดอายุสัญญา ซึ่ง ธพว. จะได้หารือ สสว. ต่อไป
ส่วนเรื่องค่าธรรมเนียมนั้น จะยกเว้นค่าธรรมเนียมวิเคราะห์โครงการ ยกเว้นค่าธรรมเนียมจัดทำสัญญาเงินกู้ และยกเว้นค่าธรรมเนียมชำระคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนด (Prepayment Fee)
ในด้านของหลักประกัน จะไม่มีหลักประกัน (Clear Loan) ส่วนเงื่อนไขอื่นนั้น กรณีเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกัน หรือกิจการที่มีผลประโยชน์ เกี่ยวข้องกัน ถ้าเป็นกิจการที่เข้าหลักเกณฑ์ข งโครงการ แยกการดำเนินธุรกิจ และ/หรือ สถานประกอบการได้อย่างชัดเจน อนุโลมให้สามารถเข้าโครงการได้ โดยสามารถกู้สูงสุดกิจการละไม่เกินวงเงินสูงสุดตามหลักเกณฑ์ของโครงการได้
นอกจากนี้ จะยกเว้นการตรวจสอบประวัติทางการเงิน (Credit Bureau) และไม่ต้องตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องของผู้กู้ ขณะที่การเบิกจ่ายเงินกู้ให้เบิกจ่ายครั้งเดียวทั้งจำนวนที่ได้รับการอนุมัติ
4. ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) มีมาตรการช่วยเหลือดังนี้
4.1 เพิ่มประเภทสินเชื่อ ได้แก่ สินเชื่อวงเงินเบิกถอนเงินสดและสินเชื่อวงเงินทุนระยะยาว
4.2 พิจารณาให้วงเงินสินเชื่อตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง หรือตามความจำเป็นโดยไม่จำกัดวงเงิน
4.3 กรณีลูกค้าเก่าขอเพิ่มวงเงินสินเชื่อ หรือลูกค้าใหม่ขอวงเงินสินเชื่อ
- ปลอดชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 3 เดือน
- ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 7 ปี สำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์ และสินเชื่อวงเงินทุนระยะยาว
- ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 30 ปี สำหรับสินเชื่อเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และสถานประกอบการ
- หลักประกันเป็นหลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกันโดยให้วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 100% ของราคาประเมินหลักประกัน
- อัตรากำไรแยกตามประเภทสินเชื่อ ประเภทลูกค้าเก่า/ใหม่และผลกระทบที่ได้รับทางตรง/อ้อม ได้แก่
(1) สินเชื่อเพื่อก่อสร้าง ซ่อมแซม/ต่อเติม ที่อยู่อาศัย และ/หรือ สถานประกอบธุรกิจ
เดือนที่ 1-3 เริ่มต้นที่ 1.0% ถึง 2.75% ถ้าเดือนที่ 4-24 เริ่มต้นที่ SPRL - 2.50% ถึง SPRL - 1.50% ถ้าปีที่ 3 เป็นต้นไป SPRL -1.50% ถึง SPRL - 0.50%
(2) สินเชื่อวงเงินทุนระยะยาว
ปีที่ 1 เริ่มต้นที่ SPRL — 1.75% ถึง SPRL - 0.25%, ปีที่ 2 เริ่มต้นที่ SPRL - 1.25% ถึง SPRL, ปีที่ 3 เป็นต้นไป SPRL
(3) สินเชื่อวงเงินทุนหมุนเวียน และวงเงินเบิกถอนเงินสด
ปีที่ 1 เริ่มต้นที่ SPRR - 1.75% ถึง SPRR - 0.25% ปีถัดไปให้พิจารณาตามความเหมาะสม
(4) สินเชื่อวงเงินอเนกประสงค์
เดือนที่ 1-3 เริ่มต้นที่ 0.75% ถึง 2.00%, เดือนที่ 4-24 เริ่มต้นที่ SPRR + 6.25%, ปีที่ 3 เป็นต้นไป SPRR + 7.25%
5. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ธสน. จะดำเนินการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าที่ประสบความเสียหายจากภัยน้ำท่วม โดย ธสน.จะพิจารณาเป็นรายกรณี อาทิ การปรับโครงสร้างหนี้ หรือพิจารณาให้สินเชื่อหมุนเวียนเพิ่มเติม
6. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มีมาตรการช่วยเหลือ ดังนี้
6.1 มาตรการพักการชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกันเป็นระยะเวลา 6 เดือน สำหรับลูกค้า บสย. ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย และถึงกำหนดชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุการค้ำประกันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ถึง 30 กันยายน 2554
6.2 มาตรการให้ความร่วมมือกับสถาบันการเงินที่ลูกค้าได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ในการผ่อนปรนเรื่องการพักชำระหนี้ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย รวมทั้งการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินต่อไปตามปกติ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยที่เป็นลูกหนี้ NPL หรือเป็นลูกหนี้ปกติที่ไม่มีหลักประกัน และขอสินเชื่อเพิ่มผ่านสถาบันการเงิน ยังสามารถขอรับการค้ำประกันสินเชื่อจาก บสย. ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อในลักษณะ Portfolio Guarantee Scheme ระยะที่ 2 ได้ โดย บสย. คิดค่าธรรมเนียมในปีแรกเพียงร้อยละ 0.75 ต่อปี และปีต่อไปคิดค่าธรรมเนียมในอัตราปกติร้อยละ 1.75 ต่อปี ทั้งนี้ ต้องยื่นคำขอภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553
7. บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) จะพิจารณาพักชำระหนี้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับลดเงินงวด หรือขยายระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้ออกไปรวมไม่เกิน 30 ปี และในกรณีที่ลูกค้ามีความประสงค์จะขอกู้เพิ่มเพื่อนำไปซ่อมแซมบ้านที่ได้รับความเสียหาย บตท. จะเป็นผู้ประสานงานกับสถาบันการเงินเพื่อให้กู้เพิ่มต่อไป
8. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) มีมาตรการให้ความช่วยเหลือ 7 มาตรการเพิ่มเติม ดังนี้
8.1 เงินกู้กรุงไทยสู้อุทกภัย ให้วงเงินกู้ประจำ (T/L) วงเงินสูงสุด คิดตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ส่วนอัตราดอกเบี้ยนั้น ปีที่ 1 ร้อยละ MLR-1 ปีที่ 2 เป็นต้นไป ร้อยละ MLR ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 5 ปี และให้ใช้หลักประกันเดิม
8.2 เงินทุนหมุนเวียนกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับเสริมสภาพคล่องให้ลูกค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม
8.3 โครงการกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับลูกค้าที่ต้องการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ โดยมีทางเลือก ดังนี้ 1.ผ่อนชำระเงินต้นน้อย และชำระดอกเบี้ยตามเงื่อนไข 2.พักชำระเงินต้น (Grace Period) นาน 6 เดือน และชำระดอกเบี้ยตามเงื่อนไข 3.พักชำระเงินต้น (Grace Period) นาน 6 ดือน และชำระดอกเบี้ยบางส่วน
8.4 สินเชื่อที่อยู่อาศัยกรุงไทยสู้อุทกภัย สำหรับลูกค้าที่ผ่อนชำระสินเชื่อกับธนาคารอยู่แล้ว และได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ธนาคารจะมอบวงเงินสินเชื่อเพิ่มเติมตามจำนวนเงินที่ได้ผ่อนชำระ การคิดอัตราดอกเบี้ยนั้น ปีที่ 1 ร้อยละ MRR-1.75 ปีที่ 2 เป็นต้นไป ร้อยละ MRR-0.5 ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 60 งวด
8.5 ธนาคารยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย ให้แก่บัญชีที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรับบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกบัญชี และบัญชีที่ประสงค์จะโอนเงินเพื่อช่วยเหลือญาติพี่น้องที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย
8.6 กรุงไทยจับคู่ธุรกิจสู้อุทกภัย โดยจัด Business Matching ระหว่างผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหาย กับผู้ประกอบการที่จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรอุปกรณ์ และผู้รับเหมาเพื่อได้วัสดุที่ใช้เพื่อซ่อมแซมกิจการในราคาพิเศษ
8.7 สินเชื่อเพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เพื่อฟื้นฟูหลังอุทกภัย) ให้สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการคิดอัตราดอกเบี้ยนั้น ?โอนสิทธิเงินฝาก ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ใช้เป็นหลักประกัน + ร้อยละ 1 ต่อปี กรณีหลักประกันอื่น/ไม่มีหลักประกัน : อัตราดอกเบี้ยเงินฝากบุคคลธรรมดาประเภท 6 เดือน + ร้อยละ 1.75 ต่อปี ระยะเวลาสูงสุด 20 ปี และตามความสามารถในการชำระหนี้แต่ละราย โดยผู้ประกอบการต้องแสดงความประสงค์ขอรับความช่วยเหลือ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2553
ทั้งนี้ สมาคมธนาคารไทยได้แจ้งว่าสมาคมธนาคารไทยจะยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขตไปยังพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วม โดยดำเนินการตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2553 จนกว่าสถานการณ์จะกลับสู่ภาวะปกติ
ส่วนมาตรการด้านภาษีนั้น แบ่งเป็น 1.กรณีการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย (สำหรับการบริจาคให้ผู้ประสบอุทกภัยระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนธ.ค.53)
1.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะสามารถหักลดหย่อนเงินที่ได้บริจาคให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (เป็นตัวแทนรับบริจาคให้กับผู้ประสบภัย) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอ นแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินหรือทรัพย์สินไปบริจาคผ่านบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (เป็นตัวแทนรับบริจาคให้กับผู้ประสบภัย) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย หักเป็นรายจ่ายได้ ตามที่ได้จ่ายจริง โดยไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิในปีที่มีการบริจาคนั้น
1.3 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่นำทรัพย์สินหรือสินค้าไปบริจาคผ่านบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (เป็นตัวแทนรับบริจาคให้กั ผู้ประสบภัย) เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ให้ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยไม่ให้ถือเป็นการขาย
2.กรณีการช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยตรง (สำหรับผู้ประสบอุทกภัยระหว่างเดือนก.ย.-ธ.ค.53
2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
(1) ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) (6) (7) และ (8) สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่ได้ลงทะเบียนไว้กับศูนย์หรือหน่วยงานให้ความช่วยเหลือของทางราชการ เท่าจำนวนความเสียหายโดยไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษี
(2) ให้บุคคลธรรมดาผู้ประสบอุทกภัยซึ่งเป็นผู้รับบริจาค ช่วยเหลือหรือชดเชยที่มีมูลค่าไม่เกินความเสียหาย ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับการบริจาค ช่วยเหลือหรือชดเชยนั้น
(3) ให้บุคคลธรรมดาที่ได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
2.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ประสบอุทกภัยซึ่งเป็นผู้รับบริจาคให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับการบริจาคนั้น
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งได้รับเงินชดเชยจากภาครัฐให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้
(3) ยกเว้นภาษีให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้ที่เป็นค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากการประกันภัยเพื่อชดเชยความเสียหาย เฉพาะส่วนที่เกินมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่เหลือจากการหักค่าสึกหรือและค่าเสื่อมราคาแล้ว
2.3 การขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ อากรแสตมป์ ที่จะต้องยื่นแบบในเดือนกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม โดยให้นำไปยื่นภายใน 30 ธันวาคม 2553 ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที ประสบอุทกภัยในพื้นที่ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
3. ความช่วยเหลือของกรมบัญชีกลาง
โดยที่สถานการณ์อุทกภัยครั้งนี้ ยังมีความต่อเนื่องและอาจต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบภัยโดยใช้จ่ายจากเงินทดรองราชการ ดังนั้น เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้จังหวัดที่เกิดอุทกภัยในครั้งนี้ ทุกจังหวัดและส่วนราชการที่มีวงเงินทดรองราชการปฏิบัตินอกเหนือระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 ได้ ทั้งนี้นับแต่วันที่ได้มีการประกาศภัยพิบัติ
เนื่องจากจังหวัดและส่วนราชการที่ใช้จ่ายเงินทดรองราชการต้องรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อขอรับจัดสรรเงินงบประมาณจากสำนักงบประมาน เพื่อชดใช้คืนเงินทดรองราชการในภายหลัง ดังนั้นจึงขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการกำกับดูแลการใช้จ่ายเงินทดรองราชการดังกล่าวห้เป็นไปโดยเรียบร้อยด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 1377/2553 ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2553 แต่งตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของกระทรวงการคลังขึ้น โดยมีอธิบดีกรมบัญชีกลาง เป็นประธานผู้แทนหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการคลัง และสถาบันการเงินของรัฐ เป็นกรรมการ มีอำนาจหน้าที่จัดตั้งศูนย์บริการประชาชนในจังหวัดที่เกิดอุทกภัยขึ้น ณ สำนักงานคลังจังหวั เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง
ทั้งนี้ ในการดำเนินมาตรการด้านการเงินของสถาบันการเงินเของรัฐตามที่กล่าวข้างต้น กระทรวงมหาดไทยมีการให้เงินช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัยครอบครัวละ 5,000 บาท โดยจะให้ดำเนินการผ่านธนาคารออมสิน