ธปท.เผยระบบธนาคารพาณิชย์ใน Q3/53 ยังมีเสถียรภาพ สินเชื่อโต, NPL ลด

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 4, 2010 16:05 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายกลยุทธ์สถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมในไตรมาส 3/53 มีเสถียรภาพ โดยสินเชื่อโต 7.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการขยายตัวเร่งขึ้นทั้งสินเชื่อภาคธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค

ในไตรมาส 3/53 ธนาคารพาณิชย์ยังมีความสามารถในการปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจได้ เพราะมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูง โดยล่าสุดอยู่ที่ 16.9% และเงินกองทุนขั้นที่ 1 อยู่ที่ 13.0% ขณะเดียวกันมีความต้องการสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง เครื่องชี้ที่ดีมากคือคำขอสินเชื่อที่สูง

ประกอบกับ ธนาคารมีสภาพคล่องการเงินเพียงพอ เนื่องจากมีการระดมเงินฝากและออกตั๋วแลกเงินระยะสั้น(บีอี)ก่อนหน้านี้ ประกอบกับภาพรวมเศรษฐกิจยังดีอยู่ ดัยนั้นสินเชื่อธนาคารยังเอื้ออำนวยต่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

"ไตรมาส 3 บทบาทของธนาคารพาณิช์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้นเทียบกับตลาดทุนแลบะสถาบันกาเรงินเฉพาะกิจ"นาวสาวนวพร กล่าว

ขณะที่สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ผ่อนคลายขึ้นจากเงินฝากรวมตั๋วแลกเงินที่เร่งขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนที่ 6.2% โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝาก และ B/E หรือ L/ (D+B/E) ratio ลดลงจาก 88.2% เหลือ 86.7%

สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) มียอดคงค้าง 3.47 แสนล้านบาท ลดลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน 9.4 พันล้านบาทจากการชำระคืนหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และการขายหนี้ สัดส่วนต่อสินเชื่อรวมลดลงทั้ง gross NPL และ net NPL เหลือ 4.2% และ 2.3% ตามลำดับ

สินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ (Delinquent loan) มียอดคงค้างลดลงเช่นกัน สัดส่วนต่อสินเชื่อรวมลดลงเหลือ 2.9% ในองค์ประกอบนั้น สัดส่วน NPL ของสินเชื่อภาคธุรกิจลดลงจาก 4.9% เหลือ 4.7% สินเชื่ออุปโภคบริโภคลดลงจาก 2.9% เหลือ 2.7% ขณะที่สัดส่วน NPL ของสินเชื่อ SME ของธนาคารพาณิชย์ไทยลดลงเหลือ 6.5% โดยลดลงเกือบทุกภาคธุรกิจ

นางนวพร กล่าวว่า ตัวเลข NPL ลดลงอย่างต่อเนื่องจาก 7.4% ในไตรมาส 1/53 ลดเหลือ 6.8% ในไตรมาส 2 และ 6.5% ในไตรมาส 3/53 เนื่องจากธุรกิจเอสเอ็มอีมีการปรับตัวต่อปัญหาได้ดีมากขึ้น แต่ในช่วงไตรมาส 4/53 อาจมีผลกระทบจากเงินบาทแข็งค่าและปัญหาน้ำท่วม แต่ที่สุดแล้ว NPL จะเร่งตัวขึ้นหรือไม่ขึ้นกับการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

ในไตรมาส 3/53 ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานทรงตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยตามปริมาณสินเชื่อที่ขยายตัว อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยและเงินปันผลสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin : NIM) ทรงตัวที่ 2.9% อย่างไรก็ตาม ภาระภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้กาไรสุทธิลดลงเล็กน้อยเหลือ 3.3 หมื่นล้านบาท อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Asset : ROA) ลดลงเหลือ 1.2% กำไรดังกล่าวเสริมให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีฐานะเงินกองทุนมั่นคง โดยอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) และอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Tier-1 ratio) ทรงตัวที่ 16.9% และ 13.0% ตามลาดับ

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยท้าทายที่ต้องติดตามทั้งภายในและภายนอกประเทศที่สำคัญ คือ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของประเทศคู่ค้า ความผันผวนของตลาดการเงินโลกและเงินทุนเคลื่อนย้าย ส่งผลให้ทั้งธนาคารพาณิชย์และภาคธุรกิจที่เป็นฐานลูกค้าของธนาคารเองต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงต้องติดตามผลกระทบที่อาจเกิดจากปัญหาอุทกภัยหากไม่คลี่คลายโดยเร็ว

อย่างไรก็มมองว่าเศรษฐกิจโลบกที่ยังมีความผันผวนมาก ทำให้แบงก์และธุรกิจที่เป็นลูกค้าแบงก์ต้องมการบริหารความเสี่ยงมากชขึ้น แต่ที่ได้เข้าไปคุยกับผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง สิ่วที่อยกาเห็นคือ ธุรหกิจมีความเข้าใจและเข้าถึงการบริหารความเสี่ยง

นางสาวนวพร กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งต้องปิดทำการชั่วคราวสาขาที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 137 สาขา แต่ขณะนี้สถานการณ์ดีขึ้นแล้ว แต่ต้องมีการติดตามผลวงกว้างและความยืดเยื้อของปัญหาว่าจะกระทบเศรษฐกิจมากน้อยแค่ไหน และมีผลกระทบต่อการทำธุรกิจมากแค่ไหน แต่หากน้ำลดเร็วก็คงไม่มีความเสี่ยง และพื้นฐานเศรษฐกิจไทนยังดีอยู่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ