นายกฯ ชี้ศก.เชิงสร้างสรรค์ไม่ใช่แนวคิดใหม่ ยกตัวอย่างญี่ปุ่น-เกาหลี

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 29, 2010 15:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ในงานสัมมนา Thailand International Creative Economy Forum (TICEF) ว่า เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ไม่ใช่แนวคิดใหม่โดยสิ้นเชิง แต่ลักษณะสลับซับซ้อนและความพยายามที่จะให้บบรลุผลจากการดำเนินการนั้น เป็นสิ่งท้าทาย ความท้าทายที่ว่ารัฐบาลไทยพยายามวางนโยบายที่เปิดทางให้การดำเนินงานและการประสานงานของแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นเหตุเป็นผลและครอบคลุมยิ่งขึ้น

ในโลกโลกาภิวัตน์ที่กำหนดโดยการคุกคามจากทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลง และการแข่งขันที่สูงขึ้น จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องค้นหาแนวทางใหม่ๆให้ครบสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติและแรงงานราคาถูกของตนได้อีกต่อไป เศรษฐกิจจะต้องทั้งเน้นทักษะและมีนวัตกรรมมากขึ้น เพื่อเติบโตไปกับบริบทโลกใหม่นี้ โดยโยงกับความพยายามเร่งการเติบโต ด้วยการสร้างสรรค์และแตกต่าง การดูแลแรงงานทักษะและสร้างสรรค์ การสร้างภาคการบริการที่เข้มแข็ง การสร้างความเข้มแข็งทางสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้ประโยชน์จากมรดกของชาติและวัฒนธรรม

จากการได้หารือกับหลายประเทศที่ได้พัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ประเทศไทยต้องคิดถึงวิธีการใหม่ๆในการพัฒนาตัวเอง เพื่อปฏิรูปไปสู่เศรษฐกิจที่มีความสร้างสรรค์และมีนวัตกรรมมากขึ้น เห็นได้ว่า ในระดับภูมิภาคทั้งประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีต่างประสบความสำเร็จจากเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

"ไม่ได้หมายความว่า เราจะลอกเลียนรูปแบบของคนอื่น แต่ต้องพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นเอกลักษณ์ของเราขึ้นมาเอง ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้ดำเนินการอย่างดีที่สุดเพื่อนำไปสู่เป้าหมายเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ ผ่านการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักแก่สาธารณชนทุกภาคส่วน รวมทั้งสร้างพันธมิตรกับภาคเอกชนในหลายสาขา อาทิ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ การท่องเที่ยว การออกแบบและงานฝืมือ โดยตั้งงบประมาณ 1 พันล้านบาท สำหรับ 16 โครงการภายใต้แผนการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 หรือ แผนการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2553 — 2555 ซึ่งพร้อมใช้ได้ทันทีในปีงบประมาณ ประจำปี 2554 นี้"

พร้อมกันนี้ นายกฯ ยืนยันที่จะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศและโทรคมนาคม เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ อาทิ ระบบ 3 จี 4 จี ใยแก้วนำแสง fiber Optics เทคโนโลยีบรอดแบนด์ Broadband และ WireMax. และเมื่อเร็วๆ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการบรอดแบนด์แห่งชาติ the National Broadband เพื่อกำกับดูแลเครือข่ายเทคโนโลยีบรอดแบนด์ ให้ครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 80 ของประชากร ภายในปี 2015 โดยคาดว่าจะมีค่าธรรมเนียมการให้บริการรายเดือน เฉลี่ยต่อบุคคลจะน้อยกว่าร้อยละ 2 ของรายได้ต่อหัว จากเดิมที่อยู่ในระดับร้อยละ 6 ในปี 2008


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ