นายปราโมทย์ วานิชานนท์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน อนุมัติหลักการให้ตั้งโต๊ะเปิดรับซื้อข้าวในกรณีที่ข้าวเปลือกในท้อง ตลาดมีราคาต่ำกว่าราคาอ้างอิง ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นเฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น ซึ่งจะเป็นแนวทางช่วยรักษา เสถียรภาพเรื่องราคาข้าว โดยกำหนดเป้าหมายรับซื้อข้าวไว้ที่ 2 ล้านตัน
นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ รับทราบสถานการณ์ข้าวไทย ปี 2553/2554 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ผล ผลิตปี 53/54 ประมาณ 22.177 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปีก่อน 1.076 ล้านตันข้าวเปลือก ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร 389 กก./ ไร่ ลดลงจากปีก่อนที่มี 404 กก./ไร่ เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอต้นฤดูการเพาะปลูก และประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงก่อนการ เก็บเกี่ยว ทั้งนี้ผลผลิตส่วนใหญ่หรือ 92% ออกสู่ตลาดแล้ว
สำหรับการพยากรณ์ผลผลิตข้าวนาปรังปี 54 จะมี 9.516 ล้านตัน ข้าวเปลือกเพิ่มขึ้น 0.653 ล้านตันข้าวเปลือก ผล ผลิตเฉลี่ย 611 กก./ไร่ สูงขึ้นจากปีก่อนที่มี 582 กก./ไร่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงการเพาะปลูก โดยผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วง เดือน เม.ย.-พ.ค.54 ประมาณ 4.669 ล้านตันข้าวเปลือก
ส่วนตลาดส่งออกข้าวไทย ข้าวคุณภาพดี หอมมะลิ ประเทศผู้นำเข้าสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 3.59 แสนตัน ฮ่องกง 1.69 แสนตัน จีน 1.33 แสนตัน สิงคโปร์ 1.01 แสนตัน กานา 0.98 แสนตัน แคนาดา 0.81 แสนตัน และมาเลเซีย 0.65 แสนตัน
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบหลักเกณฑ์การดำเนินงานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2553/54 รอบที่ 2 ดังนี้
1.กรอบระยะเวลาการดำเนินการ
กิจกรรม ภาคกลาง ภาคตะวันออกภาคตะวันตก ภาคใต้
ภาคตะวันออก-เฉียงเหนือ ภาคเหนือ
1. การปลูก 1 พ.ย.53 - 30 เม.ย.54 1 มี.ค. - 15 มิ.ย. 54 2. การเก็บเกี่ยว 1 ก.พ. — 31 ส.ค.54 1 มิ.ย. — 15 ต.ค.54 3. การขึ้นทะเบียน 4 ม.ค.- 31 พ.ค.54 1 เม.ย. - 15 ก.ค.54 4. การประชาคม 20 ม.ค. — 15 มิ.ย.54 2 พ.ค. — 31 ก.ค. 54 5. การออกใบรับรอง 20 ม.ค. — 30 มิ.ย. 54 2 พ.ค. — 15 ส.ค. 54 6. การทำสัญญา 20 ม.ค. — 31 ก.ค. 54 2 พ.ค. — 15 ก.ย. 54 7. การใช้สิทธิของเกษตรกร 1 ก.พ. — 15 ก.ย. 54 1 มิ.ย. — 31 ต.ค. 54 8. การประกาศเกณฑ์กลาง 1 ก.พ. — 15 ก.ย. 54 1 มิ.ย. — 31 ต.ค. 54
ทั้งนี้ มีข้อกำหนดเพิ่มเติมดังนี้
- เกษตรกรในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ที่มีความจำเป็นต้องปลูกข้าวรอบที่ 1 เร็วขึ้น โดยปลูกในช่วง มี.ค.- เม.ย. ซึ่ง
- เกษตรกรที่ปลูกข้าวในสภาพดินแห้งเพื่อรอฝน โดยวิธีการหว่านข้าวแห้ง(หว่านสำรวย) หรือหยอดข้าวแห้ง ถึงแม้
- หากพื้นที่ใดในจังหวัดภาคใต้ มีวันปลูกข้าวตรงกับช่วงเวลาปลูกข้าวรอบที่ 2 ตามที่กำหนดของภาคกลาง, ภาคตะวัน
2.ชนิดข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ ประกันรายได้ปี 53/54 รอบที่ 2 จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวเปลือกพันธุ์ ปทุมธานี 1 ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว โดยยกเว้นข้าวเปลือกเจ้าที่มีอายุสั้นต่ำกว่า 100 วัน ซึ่งเมื่อสีแปรสภาพได้ข้าว สารคุณภาพต่ำ จำนวน 18 พันธุ์เช่นเดียวกับโครงการประกัน ปี 53/54 รอบที่ 1 และข้าวเปลือกหอมมะลิ ได้แก่ 1.พันธุ์ขาวดอก มะลิ 105 และ 2.พันธุ์ กข 15
3.ราคาประกันรายได้เกษตรกร กำหนดราคาประกันรายได้เกษตรกรของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 53/54 รอบที่ 2 ดังนี้ ข้าวเปลือกพันธุ์ปทุมธานี 1 ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 10,000 บาท และข้าว เปลือกเหนียว ตันละ 9,500 บาท
4.ปริมาณรับประกัน ต่อครัวเรือนของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 53/54 รอบที่ 2 ข้าวเปลือกพันธุ์ ปทุมธานี 1 จำนวน 25 ตัน ข้าวเปลือกเจ้า จำนวน 25 ตัน และข้าวเปลือกเหนียว จำนวน 25 ตัน
นอกจากนี้ ที่ประชุม กขช.ยังเห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2547/48 — 2550/51 และนาปรังปี 2548-2552 รวม 9 โครงการ จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน ก.ย.51 ถึงเดือน มิ.ย.53 เป็นสิ้นสุดเดือน มี.ค.55 เนื่อง จากโครงการรับจำนำข้าวทั้ง 9 โครงการ ทาง ธ.ก.ส.ยังมีภาระหนี้ที่ยังคงเหลือ ณ วันที่ 30 พ.ย.53 รวม 112,360.84 ล้าน บาท และเพื่อให้คณะกรรมการเพื่อดำเนินการปิดบัญชีโครงการรับจำนำผลผลผลิตการเกษตรตามนโยบายรัฐบาลที่ ครม.มีมติให้แต่ง ตั้งเมื่อวันที่ 10 พ.ย.52 และคณะกรรมการผิดบัญชีโครงการรับจำนำฯ ทำหน้าที่สรุปภาระหนี้โครงการรับจำนำดังกล่าวและกำหนด แนวทางการจัดหาเงินทุนเพื่อชำระหนี้คืนให้แก่ ธ.ก.ส.ต่อไป
ที่ประชุม กขช.ยังเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2551/52 จากเดิมสิ้นสุด เดือน ต.ค.52 เป็นสิ้นสุดเดือนก.ย.54 และอนุมัติการหักลดน้ำหนักข้าวสารที่สูญเสียจากระยะเวลาการเก็บรักษาโครงการรับจำนำ ข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2551/52 ให้เป็นไปตามข้อเท็จจริง แต่ไม่เกิน 0.5% เมื่อจัดเก็บข้าวสารไม่เกิน 6 เดือน และไม่เกิน 1% เมื่อจัดเก็บข้าวสารเกิน 6 เดือน
อย่างไรก็ดี ที่ประชุม กขช.ไม่อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์นำเงิน 3 หมื่นล้านบาท ไปใช้ในการซื้อข้าวสารจำนวน 2 ล้านตัน เนื่องจากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องซื้อข้าวสารจำนวนดังกล่าวมาเก็บไว้ในสต๊อก ขณะที่กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กระทรวงพาณิชย์อ้างว่าข้อเสนอดังกล่าวเพื่อเป็นการสร้างราคานำตลาด