นายกฯ ชี้เศรษฐกิจไทยจะเดินหน้าต้องอาศัยการขับเคลื่อนจากภาครัฐและเอกชน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 28, 2011 12:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวบรรยายพิเศษในงาน"ไทยแลนด์โฟกัส 2011"ในหัวข้อ "Enhancing Thailand's Competitiveness Over the Next Decade"ว่า การเลือกตั้งทั่วไปจะมีขึ้นในเร็ววันนี้จะนำอำนาจคืนให้แก่ประชาชน และจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางการเมืองและอยู่ภายใต้กฎของกฎหมาย

ทั้งนี้ พื้นฐานการเมืองของประเทศไทยอยู่บนรากฐานที่ดีแล้ว ถึงแม้เราจะมีความแตกต่างทางการเมืองอยู่ การปฎิรูประบบประชาธิปไตยที่เราได้นำมาใช้ได้แก้ปัญหาที่สำคัญ รัฐบาลที่ถูกเลือกตั้งมาอย่างประชาธิปไตย ควรจะไม่พบปัญหาใดๆทางด้านการเมือง และการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้พรรคร่วมก็คงไม่มีปัญหาภายใต้ระบบการเมืองที่ผ่านการเลือกตั้ง

"เมื่อคนไทยได้ใช้สิทธิเลือกตั้งอย่างประชาธิปไตยในการเลือกรัฐบาลชุดต่อไป ความมั่นคงทางการเมืองจะเข้มแข็งมากขึ้น เมื่อความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลกเพิ่มพูนมากขึ้น ก็เป็นสิ่งที่น่าจะเชื่อได้ว่า ชาวไทยส่วนใหญ่คงเลือกให้มีการสานต่อทางนโยบายเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต ความมั่นคง และความปรองดองของประเทศ ซึ่งรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีได้เริ่มต้นในสิ่งนี้ไว้แล้ว"

อย่างไรก็ตาม ความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือได้ก่อให้เกิดทิศทางของเศรษฐกิจไทยที่สำคัญ การเติบโตของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมของไทยทำให้เราต้องพึ่งการส่งออกน้ำมันและถูกบีบโดยภาวะที่ขาดแคลนแรงงานมีทักษะ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงขึ้นได้ก่อประโยชน์ต่อชาวนาและเกษตรกรแต่ขณะเดียวกันก็สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ นี่คือความท้าทายใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นของเศรษฐกิจไทยในปี 2011 รัฐบาลได้มีมาตรการในระยะสั้นเพื่อจำกัดราคาน้ำมัน เพื่อให้แน่ใจว่าภาวะเงินเฟ้อจะได้รับการควบคุม

ดังนั้น เราจึงได้มีนโยบายค่าไฟฟ้าฟรี 10 ล้านครั้งเรือน ที่ใช้จ่ายไฟฟ้าอย่างเหมาะสม เรายังได้มีการอุดหนุนก๊าซแอลพีจีสำหรับการใช้ในครัวเรือน ในระยะสั้น บุคคลที่มีรายรับต่ำอาจจะได้รับผลกระทบต่อราคาสินค้าที่สูงขึ้นและเขาเหล่านั้นต้องได้รับการเยียวยา

นายกรัฐมนตรี ยังได้แสดงความเข้าใจต่อมาตรการอุดหนุนว่าอาจมีผลกระทบในการบิดเบือนโครงสร้างราคาตลาด การกระจายทรัพยากรอย่างไม่สม่ำเสมอและภาระทางการเงินของรัฐบาล ดังนั้น รัฐบาลจึงตั้งเป้าหมายเพียงเพื่อที่จะรับมือต่อความผันผวนของราคาในระดับเศรษฐกิจโลกโดยมีแผนชัดเจนและพร้อมที่จะยกเลิกเมื่อเศรษฐกิจได้ปรับตัวดึขึ้น รัฐบาลยังเชื่อว่าหากราคาค่อยๆ ปรับตัวขึ้น จะช่วยให้สามารถควบคุมภาวะเงินเฟ้อได้ และสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงของการปล่อยสินเชื่อที่มากเกินไป

"ความวุ่นวายทางการเมืองในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือได้สอนเราว่าความเติบโตของ GDP ไม่ใช่ตัวชี้วัดที่สำคัญทั้งหมด ความเติบโตที่ได้ทิ้งคนกลุ่มใหญ่ไว้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถรับได้ หากจำเป็น นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันการสนับสนุนข้อเสนอที่จะให้ขึ้นค่าแรงในการทำงาน" นายกรัฐมนตรี กล่าว

แต่ข้อเสนอดังกล่าวก็ต้องทำโดยมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ รัฐบาลได้ปฏิรูปการศึกษามากว่า 2 ทศวรรษ โดยได้มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพของครู การเพิ่มศักยภาพของเทคโนโลยีการเรียนการสอน พัฒนาหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และสนับสนุนการอาชีวะศึกษา เพื่อที่จะให้ผู้เรียนจบมีงานทำตามที่ตลาดแรงงานต้องการ

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลได้มีการขยายการฝึกอบรมทักษะแรงงาน เพื่อเป็นเพิ่มผลผลิต และมั่นใจว่าต้นทุนแรงงานที่ต่ำและความสามารถในการผลิตของไทย จะช่วยให้ไทยยังคงมีความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ การที่ไทยมีโรงงานการผลิตที่หลากหลาย ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิต และผู้นำด้านการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่และรถยนต์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในด้านการแข่งขันและคุณภาพของแรงงานในอุตสาหกรรมของไทย

ความจริงที่ว่า เป้าหมายในความพยายามที่จะผลักดันให้ภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย ถูกท้าทายที่ว่าการขาดแคลนแรงงานซึ่งผลกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะกลาง อย่างไรก็ตามรัฐบาลได้ทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด เพื่อออกแบบและดำเนินโครงการฝึกอบรมเพื่อให้แน่ใจว่าเรามีนักเทคนิค แรงงานที่มีความสามารถเพียงพอและเพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

ภาวะเงินเฟ้อยังคงเป็นความท้าทายสำหรับไทยและโลกโดยรวม รัฐบาลได้มีการทำงานร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ความแน่ใจว่าความสามารถทางการแข่งขันของไทยจะไม่สูญเสีย เนื่องจากราคาสินค้าของไทยพุ่งสูงขึ้นกว่าประเทศคู่แข่งอื่นๆ หากพิจารณาจากโครงสร้าง เราสามารถคาดการณ์ได้ว่าราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาขึ้น มีความจำเป็นที่จะต้องลดการพึ่งกาการนำเข้าน้ำมันและลดสัดส่วนต้นทุนการขนส่งที่พึ่งพาการขนส่งทางรถยนต์

นายกฯ ระบุว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตและความหลากหลาย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่าน มูลค่าการลงทุน 6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ฯ ต่อปี ยังสามารถยืนอยู่ได้แม้ว่าไทยจะประสบปัญหาความวุ่นวายทางการเมือง อุตสาหกรรมยานยนต์และอิเลคทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยอยู่ในช่วงขาขึ้นของวงจรการลงทุนของภาคเอกชนไทย โดยเฉพาะการเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรม พลังงานและปิโตรเคมี รถยนต์และอะไหล่ อิเล็คทรอนิกส์ และเกษตรกรรม ความสามารถในการรักษาการเติบโต ถึงสองตัวเลขของการลงทุนภาคเอกชนตลอกช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ช่วยยืนยันว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปีของไทยจะไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ในทศวรรษปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม นายกฯ เชื่อว่า การดำเนินงานของรัฐเอง ดำเนินการได้เพียงในระดับหนึ่ง เราต้องอาศัยการลงทุนจากภาคเอกชนด้วย โดยเฉพาะตลาดตราสารทุน ตลาดหลักทรัพย์จะมีบทบาทสำคัญในการกระจายทุนอย่างมีประสิทธิภาพ การหมุนเวียนทุนของเอกชนจะเป็นตัวกำหนดอัตราการเติบโตในระยะยาว เชื่อว่าการประชุมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ