(เพิ่มเติม) พาณิชย์ เผย CPI เม.ย.54 เพิ่มขึ้น 4.04% Core CPI เพิ่มขึ้น 2.07%

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 2, 2011 14:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ(CPI) เดือน เม.ย. 54 อยู่ที่ 112.01 เพิ่มขึ้น 4.04% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1.38% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.54 ส่งผลให้ CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-เม.ย.54) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.27%

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ(Core CPI) เดือน เม.ย.54 อยู่ที่ 105.59 เพิ่มขึ้น 2.07% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.73% เมื่อเทียบกับเดือน มี.ค.54 ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.62%

ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือน เม.ย.54 อยู่ที่ 121.12 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 8.59% และเพิ่มขึ้น 3.12% จากเดือน มี.ค.54 ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 99.15 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.35% และเพิ่มขึ้น 0.30% จากเดือน มี.ค.54

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า เปิดเผยถึงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทยประจำเดือนเม.ย.54 ดัชนีอยู่ที่ 112.01 ถือว่าสูงสุดในรอบ 15 เดือนนับจากเดือน ม.ค.43 แต่ยังเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจไทย

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ดัชนีเดือนเม.ย.54 สูงขึ้นถึง 4.04% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพราะการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 8.59% จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์ 4.26% เนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ และสัตว์น้ำ 8.86% ไข่และผลิตภัณฑ์นม 6.76% ผักและผลไม้ 20.61% เครื่องประกอบอาหาร 13.03% อาหารสำเร็จรูป 6.14% ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 1.35% จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร 2.45% หมวดเ คหสถาน 0.62% เป็นต้น โดยในเดือนเม.ย.54 มีสินค้าที่ขึ้นราคาไปแล้ว 198 รายการ ลดราคา 64 รายการ และราคาไม่เปลี่ยนแปลง 155 รายการ

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ดัชนีเดือนเม.ย.54 สูงขึ้น 1.38% เทียบกับเดือนมี.ค.54 เพราะการสูงขึ้นของดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่ม 3.12% จากการสูงขึ้นของผักและผลไม้ 6.49% เพราะเข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย หลังจากเสียหายจากอากาศร้อน และน้ำท่วมในหลายพื้นที่, เนื้อสุกร 8.90% เพราะเกินโรคระบาด ทำให้ปริมาณสุกรลดลง, ไข่ 10.93% ไก่สด 6.22% เพราะอากาศแปรปรวน แม่ไก่เติบโตช้า และให้ไข่ลดลง, เครื่องประกอบอาหาร 3.44% (น้ำตาลทราย ขนมหวาน น้ำมันพืช กะทิ มะขามเปียก มะพร้าวขูด), อาหารสำเร็จรูป 2.58% ขณะที่หมวดไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.30% จากราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น 1.96% ของใช้ส่วนบุคคล 0.12% (สบู่ถูตัว ยาสีมฟัน แชมพู ผลิตภัณฑ์ป้องและบำรุงผิว)

ดัชนีเดือนนี้สูงขึ้น 4.04% มาจากการสูงขึ้นของราคาผักสด และผลไม้เป็นสำคัญ ซึ่งโดยปกติ ดัชนีเดือนเม.ย.จะสูงขึ้นอยู่แล้ว เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล เข้าสู่หน้าร้อน ผลผลิตสินค้าเกษตรมักจะเสียหาย และออกสู่ตลาดน้อย ไม่ใช่เรื่องน่าวิตกอะไร ซึ่งจากเหตุผลดังกล่าว น่าจะทำให้ดัชนีไตรมาส 2 สูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.45% แต่เมื่อพ้นหน้าร้อน ดัชนีก็มีแนวโน้มลดลง และทั้งปีจะอยู่ตามกรอบเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ที่ 3.2-3.7%" นายยรรยงกล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ