นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในปีบัญชี 2554 (1 เมษายน 2554 — 31 มีนาคม 255) ธ.ก.ส.กำหนดนโยบายสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินงานในภาพรวม ประกอบด้วย นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเติมเต็มเศรษฐกิจฐานราก เช่น สินเชื่อเพื่อการลงทุนทางการเกษตร สินเชื่อนอกภาคการเกษตร เป็นต้น จำนวน 35,000 ล้านบาท
นโยบายสนับสนุนสินเชื่อเชิงรุก ได้แก่ การให้สินเชื่อเพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มในธุรกิจของลูกค้า (Value Chain Financing) เช่น สินเชื่อเพื่อรวบรวมผลผลิต แปรรูปผลผลิต วิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ เป็นต้น โดยมุ่งเน้นสินค้าเกษตรที่สำคัญ เช่น ข้าว โคเนื้อ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา และปาล์มน้ำมัน โดยมีเป้าหมายสินเชื่อรวมจำนวน 15,000 ล้านบาท นโยบายสนับสนุนสินเชื่อด้านสถาบันเกษตรกร เช่น สหกรณ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นิติบุคคล กองทุนหมู่บ้าน จำนวน 10,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีนโยบายพัฒนาระบบกลุ่มลูกค้าและเครือข่าย โดยมีชุมชนเป็นศูนย์กลาง ด้วยการสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. การสนับสนุนสินเชื อผ่านสถาบันการเงินชุมชน โครงการอาสาสมัครที่ปรึกษาการเงินภาคครัวเรือน (หมอหนี้) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรรายย่อยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. และนโยบายเร่งพัฒนาขีดความสามารถองค์กร โดยการเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น โครง การ CBS โครงการ FMIS รวมถึงการขยายการติดตั้ง ATM ณ จุดบริการ ส่วนด้านเงินฝากตั้งเป้าหมายรับเงินฝากเพิ่มอีก 40,000 ล้านบาท พร้อมหารายได้เพิ่มจากค่าธรรมเนียมอีก 1,400 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส. ณ สิ้นปีบัญชี 2553 (1 เมษายน 2553 — 31 มีนาคม 2554) ได้สนับสนุนสินเชื่อในระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยมียอดจ่ายสินเชื่อรวมทั้งสิน 577,591 ล้านบาท เพิ่มขึ้นระหว่างปี จำนวน 72,707 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40
โดยมีเกษตรกรที่ได้รับบริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวนทั้งสิ้น 6.10 ล้านครัวเรือน จำแนกเป็นเกษตรกรลูกค้ารายคน 4.5 ล้านครัว เรือน สมาชิกสหกรณ์การเกษตรและสมาชิกกลุ่มเกษตรกรอีก 1.6 ล้านครัวเรือน ผ่านเครือข่ายสาขาที่ให้บริการ จำนวน 1,026 สาขาและหน่วยอำเภออีก 967 หน่วย
ด้านเงินฝากมียอดรวมทั้งสิ้น 726,573 ล้านบาท เพิ่มขึ้นระหว่างปี จำนวน 84,074 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 13.09 โดยเป็นเงินฝากจากประชาชนทั่วไปเพิ่มขึ้นถึง 60,099 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากโครงการออมทรัพย์ทวีโชค สลากออมทรัพย์ วีสิน และเงินฝากเกษียณมั่งคั่ง ส่งผลให้อัตราเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝากคิดเป็นร้อยละ 79.50 สูงกว่าปีบัญชี 2552 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 78.58 โดยมีหนี้ค้างชำระ (NPLs) จำนวน 37,649 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6.6 ต่ำกว่าสิ้นปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.66
จากผลการดำเนินงานทำให้ฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส. ณ 31 มีนาคม 2554 มีสินทรัพย์รวมจำนวน 899,213 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 134,268 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.55 จากสิ้นปีบัญชี 2552 โดยมีหนี้สินรวมจำนวน 817,475 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 126,087 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวมจำนวน 81,738 ล้านบาท ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,181 ล้านบาท รายได้รวม 50,062 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 42,040 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 8,022 ล้านบาท
สำหรับผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ธ.ก.ส.ได้ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ได้แก่ โครงการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดยสามารถอนุมัติเงินกู้ เพื่อปลดเปลื้องภาระหนี้สินนอกระบบให้ประชาชนทั่วไปแล้วกว่า 302,294 ราย มูลหนี้จำนวน 30,507 ล้านบาท ควบคู่การจัดฝึกอบรมเพื่อฟูอาชีพและรายได้ให้กับเกษตรกรในโครงการ ในหลักสูตรวิถีชีวิต 126,425 ราย หลักสูตรวิถีทำกิน 35,543 ราย พร้อมจัดทำประกันชีวิตให้ลูกค้าหนี้นอกระบบจำนวน 258,656 ราย ทุนประกัน 26,342 ล้านบาท เบี้ยประกันจำนวน 68.19 ล้านบาท เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2553 — 30 กันยายน 2554 ซึ่ง ณ 31 มีนาคม 2554 มีลูกค้าที่ทำประกันชีวิตตามโครงการดังกล่าว เสียชีวิต 121 ราย ได้รับเบี้ยประกันเพื่อชำระหนี้ 14.15 ล้าน
โครงการประกันรายได้เกษตรกร มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 4,780,715 ราย พื้นที่ 86.8 ล้านไร่ โดย ธ.ก.ส. ได้จัดทำสัญญาประกันรายได้ไปแล้วจำนวน 4,652,253 ราย นวนผลผลิต 57.3 ล้านตัน และจ่ายชดเชยรายได้ไปแล้ว จำนวน 3,083,502 ราย จำนวนเงิน 35,463 ล้านบาท
โครงการประกันภัยพืชผล — ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 2553 ซึ่งดำเนินการในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ น่าน ษณุโลก เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี และนครราชสีมา มีเกษตรกรการเข้าร่วมโครงการ 3,194 ราย พื้นที่เพาะปลูก 60,688 ไร่ ทุนประกัน 72.1 ล้านบาท เบี้ยประกัน 6.06 ล้านบาท โดยมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับเกษตรก เนื่องจากประสบภัยแล้งไปจำนวน 4.32 ล้านบาท
โครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ดินถล่มและภัยแล้ง โดยมีเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน 1,028,410 ราย วงเงินความเสียหาย 19,902 ล้านบาท ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้ขออนุมัติเบิกเงินงบประมาณ และโอนเงินช่วยเหลือดังกล่าวให้เกษตรกรแล้ว 915,510 ราย จำนวนเงิน 18,348 ล้านบาท นอกจากนี้ได้มีการเบิกเงินงบประมาณพร้อมโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อนำไปช่วยเหลือสมาชิกกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางอีกจำนวน 9,429 ราย เป็นเงิน 173 ล้านบาท