นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาตินัดแรก ได้ พิจารณาประเด็นการสรรหาเลขาธิการคณะกรรมการกองทุนการออมแห่งชาติ โดยมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาเลขาธิการ กอช. เพื่อให้ได้เลขาธิการภายใน 90 วันตามที่กฎหมายกำหนด
นอกจากนี้ ได้มีการพิจารณาโครงสร้างและอัตรากำลังของกองทุน และร่างระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและจำ เป็นที่จะต้องใช้ในช่วงที่กองทุนเริ่มดำเนินการด้วย
นายอารีพงศ์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีแรงงานที่มีอายุ 15 — 60 ปีประมาณ 38.7 ล้านคน เป็นแรงงานที่อยู่ใน ระบบ 14.6 ล้านคน และอยู่นอกระบบ 24.1 ล้านคน นอกจากนี้ยังมีผู้ที่อายุ 15 ปีขึ้นไปแต่ไม่ได้ทำงานอีก 11.4 ล้านคน สำหรับ การเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.)นั้น พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ ได้กำหนดให้กองทุนเปิดรับสมาชิกเมื่อพ้น 360 วันนับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งจะเปิดรับสมาชิกได้ในวันที่ 8 พ.ค.55 เป็นต้นไป
สำหรับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครเป็นสมาชิกจะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยที่มีอายุ 15 — 60 ปีบริบูรณ์ และไม่อยู่ในระบบ บำเหน็จบำนาญเพื่อการชราภาพที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้างหรืออยู่ในระบบบำนาญใดๆ ซึ่งจากข้อมูลแรงงานดังกล่าวจะมีผู้มี สิทธิสมัครเข้าเป็นสมาชิก กอช.ประมาณ 35.5 ล้านคน
ทั้งนี้ สมาชิกมีสิทธิออมเงินขั้นต่ำครั้งละ 50 บาท แต่ไม่เกินปีละ 13,200 บาท และจะได้รับเงินสมทบจากรัฐบาลตาม จำนวนเงินที่สะสมเข้ากองทุนและอายุของสมาชิก โดยมีอัตราเงินสมทบดังนี้
อายุสมาชิก อัตราเงินสมทบต่อเงินสะสม เงินสมทบสูงสุด
ที่จะกำหนดโดยกฎกระทรวง
ไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปี ร้อยละ 50 600 บาท/ปี มากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี ร้อยละ 80 960 บาท/ปี มากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี ร้อยละ 100 1,200 บาท/ปี
นายอารีพงศ์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาช่องทางการรับสมัครสมาชิก โดยในเบื้องต้นนี้ ได้พิจารณาให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 2 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) เป็นช่องทางหลักในการรับสมัคร รวมถึงรับเงินสะสมจากสมาชิก
นอกจากนี้ เพื่อเป็นการจูงใจและเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุสามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกใน กอช.ในช่วงปีแรก พ.ร.บ.นี้ ได้กำหนดให้ผู้สมัครที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปที่มาสมัครภายใน 1 ปีนับแต่กองทุนเปิดรับสมาชิกมีสิทธิเป็นสมาชิกของกองทุนต่อไปได้อีก 10 ปีนับแต่วันที่เป็นสมาชิก
"กระทรวงการคลังเชื่อมั่นว่า กอช.จะเป็นเครื่องมือของรัฐที่ช่วยสร้างความเท่าเทียมและความเป็นธรรมแก่แรงงาน นอกระบบที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองทางสังคมเพื่อการชราภาพ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศให้มีช่องทางการออมในช่วงชีวิตวัยทำ งาน เพื่อให้มีรายได้ในรูปบำนาญสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตยามชรา" ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าว