โดยราคาอาหาร ซึ่งมีสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของราคาที่ใช้ในการคำนวณดัชนีซีพีไอของประเทศ พุ่งขึ้น 14.4% ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ผลจากราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อในปีก่อนมีสัดส่วน 3.7% ของอัตราการเพิ่มขึ้นของดัชนีซีพีไอในเดือนมิถุนายน
นักวิเคระห์กล่าวว่า หากไม่นับรวมเนื้อสุกร อุปทานอาหารชนิดอื่นๆ ต่างก็มีปริมาณที่เพิ่มขึ้นและอาจจะช่วยผ่อนคลายความกดดันจากเงินเฟ้อลงได้
-- หวัง จีไค ผู้อำนวยการฝ่ายปศุสัตว์ในสังกัดกระทรวงเกษตรของจีน คาดว่า ราคาเนื้อสุกรจะค่อยๆ มีเสถียรภาพในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม เนื่องจากเกษตรกรได้เพิ่มจำนวนสุกรในฟาร์ม
ข้อมูลสถิติจากสำนักงานสถิติแห่งชาติบ่งชี้ว่า ราคาเนื้อสุกรพุ่งขึ้น 57.1% ในเดือนมิถุนายน เมื่อเทียบเป็นรายปี คิดเป็นสัดส่วน 21% ของดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) ของเดือน ซึ่งเพิ่มขึ้น 6.4% และเป็นระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
นายหวังกล่าวว่า ราคาเนื้อสุกรที่อยู่ในระดับสูงมีสาเหตุพื้นฐานมาจากต้นทุนการเลี้ยงสุกรที่สูงขึ้น "อาหารสัตว์และราคาข้าวโพดอยู่ที่เฉลี่ย 2.18 หยวนต่อกิโลกรัม ในช่วงครึ่งแรกของปี และปรับตัวเพิ่มขึ้น 10.7% จากปีก่อน" เขากล่าว
-- ข้อมูลสถิติจากกรมศุลกากรจีนระบุว่า ยอดนำเข้าถั่วเหลืองของจีนแตะที่ 4.3 ล้านตันในเดือนมิถุนายน ลดลง 5.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ และลดลง 30.65% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน
ในช่วงครึ่งปีแรก จีนนำเข้าถั่วเหลืองทั้งสิ้น 23.71 ล้านตัน ลดลง 8.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี
-- คณะกรรมการวางแผนเศรษฐกิจของจีนกล่าวว่า คณะกรรมการได้กำหนดราคารับซื้อขั้นต่ำของข้าวเมล็ดยาวชนิดเบา (early rice) เอาไว้ที่ 102 หยวน (15.8 ดอลลาร์) ต่อ 50 กิโลกรัม เพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของเกษตรกร
แผนของคณะกรรมการระบุว่า รัฐบาลจีนจะรับซื้อข้าวตามราคาขั้นต่ำตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม - 30 กันยายนนี้ หากราคาในตลาดลดลงต่ำกว่าราคาขั้นต่ำเป็นเวลานานกว่า 3 วัน สำนักข่าวซินหัวรายงาน