นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาในงานสัมมนาเรื่อง "Thailand's Investment Environment:Looking Forward-Challenges for New Goverment"ว่า รัฐบาลใหม่มีงานที่ท้าทายใน 3 เรื่อง คือ 1. การสร้างความสมดุลระหว่างการลงทุนและการบริโภค โดยที่การลงทุนของภาครัฐบาลในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ในหลายสาขา ทั้งระบบลอจิสติกส์ ชลประทาน ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวตาม โดยที่รัฐบาลต้องมีการจัดลำดับความสำคัญในการลงทุนเพื่อเพิ่มผลิตภาพของประเทศ และเพื่อให้การใช้เงินงบประมาณเกิดประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันจะสร้างแรงกดดันต่อการเร่งตัวของเงินเฟ้อน้อยที่สุด เพื่อให้ภาคเอกชนได้มีเวลาปรับตัว
2. ต้องยึดวินัยการเงินการคลัง ลดมาตรการสร้างแรงจูงใจทางการคลัง เพื่อไม่ให้ก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น และกระทบเสถียภาพการคลัง ในระยะยาว และ ปรับโครงสร้างภาษีจะต้องไม่บิดเบือนและนำไปสู่การจัดทำงบประมาณแบบสมดุล 3.นโยบายการคลังต้องสนับสนุนและสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุน
ทั้งนี้ เงินเฟ้อที่สูงขึ้นสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่เข้าสู่ระดับปกติ ดังนั้น นโยบายของรัฐบาลไม่จำเป็นต้องกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ต้องดูแลให้เศรษฐกิจมีเสถียรภาพ มีการเพิ่มประสิทธิภาพผลิตผลของประเทศ ขณะที่ความมีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ แม้การเลือกตั้งจะผ่านพ้นไปด้วยดี แต่ปัญหาความขัดแย้งยังคงมีอยู่ และจำเป็นต้องมีการแก้ไขเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคเอกชนและนักลงทุนต่างประเทศ
"ในส่วนแบงก์ชาติยังวิตกปัญหาเงินเฟ้อที่เป็นเรื่องปกติ เพราะการลงทุนที่เพิ่มขึ้น และมีแรงกดดันจากโลกาภิวัตต์ ขณะเดียวกันแบงก์ชาติยังดำเนินการเพื่อให้ดอกเบี้ยเข้าสู่ภาวะปกติ โดยที่กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อยังอยู่ที่ 0.5-3%" นายประสาร กล่าว
นายประสาร มองว่า ภาคเอกชนมีงานท้าทาย 2 เรื่อง คือ 1. ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ที่ไม่ควรพึ่งพาแรงงานต่างด้าว แต่จะต้องมีการปรับปรุงเครื่องจักร โดยใช้โอกาสที่เงินบาทแข็งค่าในการนำเข้าเข้าเครื่องกจัรก และมีการพัฒนาการศึกษาทรัพยากรมนุษญ์มากขึ้น เพื่อสร้างงานงานทักษะ ทำให้การลงทุนมีประสิทธิภาพ เพราะการพึ่งแรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ทางเลือกที่ต้องใช้ในระยะยาว
และ 2. การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งปัจจุบันภาคเอกชนมีการลงทุนด้านนี้เพียง 0.2% ของจีดีพี ดังนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนต้องส่งเสริมด้านนี้ให้มากขึ้น
นายประสาร กล่าวว่า การปรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ที่ต้องอาศัยความร่วมมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนยังไม่เพียงพอ แต่ไทยต้องก้าวสู่ตลาดโลกในระยะข้างหน้าที่เป็นเรื่องท้าทาย ดังนั้น ความร่วมมือจากภาคีต่างๆ แล้ว จะต้องมีการร่วมมือกันในระดับภูมิภาคด้วย
อย่างไรก็ตาม ในปี 54 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ในระดับปกติ โดยในช่วงครึ่งปีแรกมีการเติบโตได้พอสมควร และช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกและภายใน ที่การส่งออกยังขยายตัวได้มาก ปัญหา supply chain ในอุตสาหกรรมรถยนต์น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้หลังญี่ปุ่นได้ฟื้นฟูประเทศตั้งแต่ พ.ค.54 ที่ผ่านมา ขณะที่การบริโภคและการลงทุนในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง รายได้ภาคเกษตรยังเพิ่มสูงขึ้น