“ไม่ได้ห่วงว่างบประมาณจะขาดดุลเพิ่มเติมจากเดิมที่รัฐบาลก่อนหน้านี้ตั้งขาดดุลไว้ 3.5 แสนล้านบาทหรือไม่ แต่เป็นห่วงและไม่อยากเห็นรัฐบาลนี้ตั้งงบผูกพันงบประมาณเพื่อดำเนินการมาก จนไม่มีช่องให้จัดทำงบลงทุน เพราะเศรษฐกิจจะโตอย่างยั่งยืนได้ในระยะยาว รัฐบาลต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการศึกษา สาธารณะสุข และผลิตภาพของคน ไม่ใช่เอาเงินมาใส่กระเป๋าประชาชน หรือกดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน เป็นเพียงการกระตุ้นชั่วคราวเท่านั้น"นางอัจนา กล่าว
ทั้งนี้ นโยบายการคลังก็ยังมีช่องให้รัฐบาลใช้มาตรการต่างๆ เช่น เพิ่มรายได้ประชาชน มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจขยายตัว หรือลดความเสี่ยงด้านการขยายตัวลงได้ ดังนั้นนโยบายการเงินที่ดอกเบี้ยนโยบายไม่ถึง 0% ก็ควรดูแลเงินเฟ้อให้เหมาะสม ไม่เช่นนั้นต่อให้เพิ่มรายได้ประชาชนเท่าไหร่ เงินเฟ้อก็จะกินหมด นโยบายการเงินต้องคอยระวังหลัง ไม่ให้เงินเฟ้อสร้างแรงกดดันจนส่งผลกระทบต่อประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลหายไปหมด
อย่างไรก็ตาม การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็น 3.5% ได้พิจารณาปัจจัยภาวะเศรษฐกิจโลกแล้ว แม้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะชะลอลงจาก 2.6% เป็น 1.8% แต่เศรษฐกิจของประเทศไทยภูมิภาคเอเชียยังมีความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง ประกอบกับการส่งออกของไทยได้ปรับตัวกระจายความเสี่ยง โดยลดสัดส่วนการค้ากับสหรัฐและยุโรปลงแล้วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จึงมองว่าเศรษฐกิจไทยยังมีศักยภาพขยาตัวได้ต่อเนื่อง